ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการนอนหลับในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

พาวุฒิ เมฆวิชัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการนอนหลับในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการศึกษาภาคตัดขวางในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ณ คลินิกโรคระบบประสาท โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 โดยใช้แบบสอบถามความผิดปกติของการนอนหลับฉบับปรับปรุง แล้วนำข้อมูลพื้นฐานและปัจจัยต่าง ๆ มาวิเคราะห์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องกับปัญหาการนอนหลับในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยพาร์กินสันจำนวน 85 ราย พบปัญหาการนอนหลับในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ร้อยละ 54.1 โดยปัญหาการตื่นมาปัสสาวะกลางดึกพบได้บ่อยที่สุด และอาการนอนหลับไม่สนิทต้องตื่นมากลางดึกพบรองลงมา ปัญหาการนอนหลับที่พบจากแบบสอบถามมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยที่ได้รับยา levodopa ขนาดสูงต่อวัน (ความเสี่ยง 3.2 เท่า, ช่วงความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซนต์ 1.23-8.29) สรุป: ความชุกของปัญหาการนอนหลับในผู้ป่วยพาร์กินสันของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาเท่ากับ ร้อยละ 54.1 ปัญหาพบได้บ่อยที่สุดคือการตื่นมาปัสสาวะกลางดึก โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือการได้รับยา levodopa ขนาดสูงต่อวัน

Article Details

How to Cite
เมฆวิชัย พ. (2024). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการนอนหลับในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 34(3), 169–176. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1815
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

De Rijk MC, Tzourio C, Breteler MM, Dartigues JF, Amaducci L, Lopez-Pousa S, et al. Prevalence of Parkinson disease in the elderly: The Rotterdam study. Neurology 1995; 45: 2143-6.

Hughes AJ, Daniel SE, Kilford L, Lee AJ. Accuracy of clinical diagnosis of idiopathic Parkinson’s disease: A clinic-pathological study of 100 cases. JNNP 1992; 55: 181-4.

Miyoshi K, Ueki A, Nagano O: Management of psychiatric symptoms of parkinson’s disease. Eur Neurol 1996; 36: S43-S48.

Sukying C, Bhokakul V, Udomsubpayakul U. An epidermiological study on insomnia in an elderly Thai population. J Med Assoc Thai 2003; 86: 316-24.

Tanasanvimon S, Ayuthaya NI, Phanthumchinda K. Modified Parkinson’s disease Scale (MPDSS) in Thai Parkinson’s disease patient. J Med Assoc Thai 2007; 90: 2277-83.

Praween L, Kongkiat K. Quality of life and sleep-related problems in patients with Parkinson’s disease at Thammasat University Hospital. Thammasat Med J 2010; 10: 165-74.

Kumar S, Bhatia M, Behari M. Sleep disorders in Parkinson’s disease. Mov Disord 2002; 17: 775-81.

Tandberg E, Larsen JP, Karlsen K. A community-based study of sleep disorders in patients with Parkinson’s disease. Mov Disord 1998; 13: 895-9.

Chaudhuri KR, Martinez-Martin P. Clinical assessment of nocturnal disability in Parkinson disease’s Sleep Scale. Neurology 2004; 63: S17-S20.

Thai geriatric depression scale-TGDS: Train the brain forum committee. Siriraj Hosp Gaz 1994; 46: 1-9.

Thai Mini-Mental State Examination (TMSE). Train the brain forum committee. Siriraj Hosp Gaz 1993; 45: 359-74.

Sid EO, Joy DH, Glen ES, Robert JI, Neill RG, Ronald CP, et al. Detecting dementia with the Mini-mental state examination (MMSE) in highly educated individual. Arch Neurol 2008; 65: 963-7.

Simuni T. Somnolence and other sleep disorders in Parkinson’s disease: The challenge for the practicing neurologist. Neurol Clin 2004; 22: S107-S126.

OSuilleabhain PE, Dewey RD Jr. Contributions of dopaminergic drugs and disease severity to daytime sleepiness in Parkinson’s disease. Arch Neurol 2002; 59: 986-9.

Thorpy MJ, Adler CH. Parkinson’s disease and sleep. Neurol Clin 2005; 23: 1187-208.

Singer C, Weiner WJ, Sanchez-Ramos JR. Autonomic dysfunction in men with Parkinson’s disease. Eur Neurol 1992; 32:134-40.