การพัฒนาการเบิกจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

ประภาพิม เอี่ยมบำรุง

บทคัดย่อ

          เนื่องด้วยในแต่ละปีงบประมาณมีการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์และการดำเนินการจัดจ้าง บริษัทห้างร้านที่เป็นคู่ค้ากับโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาเป็นจำนวนมาก โรงพยาบาลฯ ไม่สามารถชำระหนี้ได้ทันกำหนด มีเช็คค้างจ่ายเป็นจำนวนมากและเช็คมีโอกาสที่จะหมดอายุลงไม่สามารถจะนำไปแลกเป็นเงินสดได้ เสียเวลาในการดำเนินการสั่งจ่ายเช็คใหม่และอาจจะส่งผลให้บริษัทคู่ค้าของโรงพยาบาลฯ ไม่มีความพึงพอใจในระบบบริการชำระหนี้ ฝ่ายการเงินจึงได้ริเริ่มการพัฒนาการเบิกจ่ายเงินเพื่อการชำระหนี้ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เพื่อลดปัญหาดังกล่าวและสร้างความพึงพอใจให้กับเจ้าหนี้การค้า โดยนำเอาระบบสารบรรณอิเลคทรอนิกส์มาใช้แทน วัสดุและวิธีการ: ทำการประเมินด้วยแบบสอบถามกับตัวแทนของบริษัทคู่ค้ากับโรงพยาบาลฯ ที่อยู่ในสถานะเจ้าหนี้การค้าที่มีการตกลงทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างที่มากกว่า 1 ครั้งในปีงบประมาณ 2553 จำนวน 100 ราย จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผล ผลการศึกษา: สามารถเก็บข้อมูลจากเจ้าหนี้การค้าได้จำนวน 77 ราย (ร้อยละ 77.0 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด) ขั้นตอนการใช้บริการเดิมต้องใช้เวลาทั้งสิ้น 48 วัน หลังปรับปรุงใช้เวลาเพียง 10 วัน สามารถลดระยะเวลาได้ 38 วัน ข้อมูลพื้นฐานพบว่าเจ้าหนี้การค้าส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.9 มีความถี่ของการติดต่อประสานงานเดือนละ 1 ครั้ง เจ้าหนี้การค้าส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.9 มีการเบิกจ่ายเงินโดยการขอรับเช็ค ส่วนความคิดเห็นต่อการปรับเปลี่ยนการเบิกจ่ายเงินแบบใหม่ พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 79.2 ของเจ้าหนี้การค้าเห็นด้วยกับการพัฒนาแนวทางการเบิกจ่ายเงินเพื่อการชำระหนี้ และมีความพึงพอใจในการพัฒนาแนวทางการจ่ายเงินอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 4.01±0.85) สรุป: การพัฒนาแนวทางการเบิกจ่ายเงินเพื่อชำระหนี้ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เป็นการพัฒนางานที่มีทั้งคุณภาพและประสิทธิภาพ ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่ และสามารถตอบสนองต่อความต้องการผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
เอี่ยมบำรุง ป. (2024). การพัฒนาการเบิกจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 34(3), 185–192. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1817
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี, สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาระบบ. แนวทางการดำเนินการเรื่องการลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ เพื่อประชาชน ปี 2547-2550.กรุงเทพมหานคร: สุขุมวิทมีเดีย มาร์เก็ตติ้ง; 2547.

Available from http://www.dusit.ac.th/department/about/mngood.html

รัฐธนา เนาวบุตร. การศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย; 2544.

วีระยุทธ วณิชปัญจพล. การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการถอนเงินจากบัญชีเงินโอนต่างประเทศธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาอุดรธานี. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ,บัณฑิตวิทยาลัย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2544.

Available from http://www.smj.ejnal.com/ejournal/showdetail/?show_detail=T&art_id=1382

Available from http://gotoknow.org/blog/leanha/270081

Available from http://www.nkpt-sum.ago.go.th

Baroudi, JJ, NH Olson, B Ives. An empirical study of the impact of user involvement on system usage and information satisfaction. Communication of the ACM 1988; 29: 232-8.

Igbaria M, Nachman SA. Correlation of user satisfaction with end user computing. Information and Management 1990; 19: 73-82.

ศรัทธา วุฒิพงศ์. ความพึงพอใจของลูกค้าต่อการให้บริการของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. (ภาคนิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต). คณะพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2542.