ลักษณะเอกชเรย์คอมพิวเตอร์ของเนื้องอกทางเดินอาหารชนิดจีส์ตในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาระยะเวลา 3 ปี

Main Article Content

อรุณี ภักดีบุตร

บทคัดย่อ

          เนื้องอกทางเดินอาหารชนิดจีส์ตเป็นเนื้องอกที่พบได้น้อยมาก หากพบส่วนใหญ่มักเป็นเนื้องอกชนิด mesenchymal ของทางเดินอาหาร เอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับวินิจฉัยเนื้องอกทางเดินอาหารชนิดจีส์ต วัตถุประสงค์: เป็นการศึกษาทบทวนย้อนหลังของลักษณะเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในผู้ป่วยเนื้องอกชนิดนี้จำนวน 15 ราย ผู้ป่วยและวิธีการ: พบผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกทางเดินอาหารชนิดจีส์ต ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างปี พ.ศ.2549-2551 จำนวน 21 ราย ผู้ป่วยที่ได้ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก่อนผ่าตัด 15 ราย ได้มีการรวบรวมและจำแนกลักษณะทางเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ขนาดของเนื้องอก จำนวนเนื้องอก ตำแหน่งของเนื้องอก ขอบเขตของเนื้องอก การแพร่กระจายของเนื้องอก Hounsfield units ของเนื้องอกและผลของสารทึบแสง ทั้งยังได้รวบรวมผลการผ่าตัด ผลแทรกซ้อน เพื่อเปรียบเทียบการแปลผลทางเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกทางเดินอาหารชนิดจีส์ต ในกระเพาะอาหารจำนวน 6 ราย (ร้อยละ 40.0) ในลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม จำนวน 8 ราย (ร้อยละ 53.3) และพบที่ลำไส้ใหญ่จำนวน 1 ราย สามารถพบเนื้องอกทางเดินอาหารชนิดจีส์ตอยู่ภายนอกท่อของลำไส้ 12 ราย (ร้อยละ 80.0) พบเนื้องอกชนิดขอบเรียบ 11 ราย (ร้อยละ 73.3) ขณะที่ 4 ราย (ร้อยละ 26.6) พบขอบไม่เรียบ ผลของสารทึบแสงที่มีต่อเนื้องอก พบมีการเข้าของสารทึบแสงแบบไม่สม่ำเสมอ 12 ราย (ร้อยละ 80.0) และ มีการเข้าอย่างสม่ำเสมอของสารทึบแสง 3 ราย (ร้อยละ 20.0) พบ Hounsfield units 31.47+6.53 ในเนื้องอกก่อนการฉีดสารทึบแสงและ Hounsfield units 58.67+10.43 ในเนื้องอกหลังการฉีดสารทึบแสง สรุป: ตำแหน่งที่พบบ่อยของเนื้องอกทางเดินอาหารชนิดจีส์ต คือ ลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม และลักษณะเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของก้อนเนื้องอกเป็นแบบขอบเรียบและการเข้าของสารทึบแสงในก้อนเนื้องอกแบบไม่สม่ำเสมอ

Article Details

How to Cite
ภักดีบุตร อ. (2024). ลักษณะเอกชเรย์คอมพิวเตอร์ของเนื้องอกทางเดินอาหารชนิดจีส์ตในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาระยะเวลา 3 ปี. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 33(1), 19–26. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1824
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Levy AD, Remotti HE, Thompson WM , Sobin LH, Miettinen M. Gastrointestinal stromal tumors: radiologic features with pathologic correlation. Radio Graphics 2003; 23: 283-304.

Miettien M, Monihan JM, Sarlomo-Rikala M. Gastrointestinal stromal tumor/smooth muscle tumors (GISTs) primary in the omentum and mesentery: clinicopathologic and immunohistochemical study of 26 cases. Am J Surg Pathol 1999; 23: 1109-18.

Pidhorecky I, Cheney RT, Kraybill WG, Gibbs JF. Gastrointestinal stromal tumors: current diagnosis, biologic picture and management. Ann Surg Oncol 2000; 7: 705-12.

Lehnert T. Gastrointestinal sarcoma (GIST) a review of surgical management. Ann Chir Gynaecol 1998; 87: 297-305.

Miettinen M, Lasota J. Gastrointestinal stromal tumorsdefinition, clinical, histological, immunohistochemical, and molecular genetic features and differential diagnosis, Virchows Arach 2001; 438: 1-12.

Miettinen M, Sariomo-Rikala M, Sobin LH, Lasota J. Esophageal stromal tumors: a clinicopathologic, immunohistochemical and molecular genenic study of 17 cases and comparison with esophageal leiomyomas and leiomyosarcomas. Am J Surg Pathol 2000; 24: 211-22.

Lasora J, Jasinski M, Sariomo-Rikala M. Mutations in exon 11 of c-Kit occur preferentially in malignant versus benign gastrointestinal stromal tumors and do not occur in leiomyoma or leiomyosarcoma. Am J Pathol 1999; 154: 53-60.

Tazawa K, Tsukada K, Makuuchi H, Tsutsumi Y. An immunohistochemical and cliniaopathological study of gastrointestinal stromal tumors. Pathol Int 1999; 49: 578-82.

Akwari OE, Dozois RR, Weiland LH, Beahrs OH. Leiomyosarcroma of the small bowel and large bowel. Cancer 1978; 42: 1375-84.

Suster S. Gastrointestinal stromal tumors. Semin Diag Pathol 1996; 13: 297-313.

Conlon KC, Casper ES, Brennan MF. Primary Gastrointestinal sarcomas: analysis of prognostic variables. Ann Surg Oncol 1995; 2; 26-31.

Lee YT. Leiomyosarcoma of the gastrointestinal tract: general pattern of metastasis and recurrence. Cancer Treat Rev 1983; 10: 91-101.

Lindsay PC, Ordonez N, Raaf JH. Gastric leiomyosarcoma: clinical and pathological review of fifty patients. J Surg Oncol 1981; 18: 399-421.

Fong Y, Coit DG, Woodruff JM, Brennan MF. Lymph node metastasis from soft tissue sarcoma in adults. Analysis of data from a prospective database of 1,772 sarcoma patients. Ann Surg 1993; 217: 72-7.

Kim HC, Lee JM, Choi SH, Kim KW, Kim SH, Lee JY, et al. Imaging of gastrointestinal stromal tumors. J Comput Assist Tomogr 2004: 28: 596-604.