อุบัติเหตุทางตาในห้องตรวจจักษุผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

นิฤนันท์ บุญนิธิ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อมูลทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยอุบัติเหตุทางตาที่มารับการรักษาในห้องตรวจผู้ป่วยนอกจักษุวิทยา โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2549 ถึง 30 กันยายน 2551 ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาถึงเพศ อายุ อาชีพ สาเหตุของอุบัติเหตุทางตา สถานที่เกิดเหตุ การบาดเจ็บทางตา ระยะเวลาที่เกิดอุบัติเหตุมาพบจักษุแพทย์ ระดับสายตาก่อนรักษาและการวินิจฉัย ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยทั้งหมด 405 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย 305 ราย (ร้อยละ 75.31) การบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดขึ้นขณะทำงาน 176 ราย (ร้อยละ 43.46) กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ3 1-40 ปี 77 ราย (ร้อยละ 19.01) อาชีพส่วนใหญ่รับจ้าง 228 ราย (ร้อยละ 56.30) การบาดเจ็บส่วนใหญ่พบมากที่ส่วนหน้าของลูกตา 349 ครั้ง (ร้อยละ 84.30) ผลการบาดเจ็บพบมีผู้ป่วยตาบอด 67 ราย (ร้อยละ 16.54) สรุป: ข้อมูลทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยอุบัติเหตุทางตาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาส่วนใหญ่ไม่แตกต่างจากรายงานระบาดวิทยาของผู้ป่วยอุบัติเหตุทางตาที่เคยรายงานมาแล้ว ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหารายละเอียดของกลไกการบาดเจ็บปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันที่เหมาะสมต่อไป

Article Details

How to Cite
บุญนิธิ น. (2024). อุบัติเหตุทางตาในห้องตรวจจักษุผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 33(1), 27–32. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1825
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ศาณี เจียมไชยศรี. อุบัติเหตุต่อตาป้องกันได้หรือไม่. จักษุเวชสาร 1990; 4: 13-5.

สุจริต งามวงศ์ไพบูลย์, อรวรรณ ค่าสุนทร. อุบัติเหตุต่อตาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ศึกษาย้อนหลัง 3 ปี. จักษุเวชสาร 1991; 5: 145-52.

Kuhn F, Mester V, Berta A, Morris R. Epidemiology of severe eye injuries. United States Eye Injury Registry (USEIR) and Hungarian Eye Injury Registry. Ophthalmology 1998; 95: 332-43.

Negrel AD, Thylefors B. The global impact of eye injuries. Ophthalmic Epidemiol 1998; 5: 143-69.

Thylefors B. Epidemiologic patterns of ocular trauma 1992. Aust NZ J Ophthalmol 1992; 20: 95-8.

Abraham DI, Vitale SI, West SI, Isseme 1. Epidemiology of eye injuries in rural Tanzania. Ophthalmic Epidemiol 1999; 6: 85-94.

ขวัญตา เกิดชูชื่น, สุจินดา ริมศรีทอง, ภัทระจิต บวรสมบัติ, นิลวรรณ ริคูณ, วรรณา สุขสบาย. การศึกษาสำรวจการเกิดอุบัติเหตุของดวงตาผู้ป่วยที่มารับการรักษาในคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารจักษุสาธารณสุข 2535; 6: 157-66.

สมศักดิ์ รัศมิทัต. อุบัติเหตุที่ตาในโรงพยาบชาลบุรี. วารสารจักษุสาธารณสุข 2536; 7: 23-8.

โกศล คำพิทักษ์. อุบัติเหตุทางตา. วารสารจักษุสาธารณสุข 2534; 14:19-22.

สมศักดิ์ รัศมิทัต. จักษุสาธารณสุข. วารสารจักษุสาธารณสุข 1998; 12: 101-11.

Macewen JC. Eye Injuries: a prospective survey of 5671 cases. Br J Ophthalmol 1989; 11: 888-90.

Gilbert MC, Soong KH, Hirst WL. A Two-Year Prospective Study of Penetrating Ocular Trauma at the Wilmer Ophthalmology Institute. Ann Ophthalmol 1987; 3: 104.

Nash EA, Margo CE. Patterns of emergency department visits for disorders of the eye and ocular adnexa. Arch Ophthalmol 1998; 116: 1222-6.

Glynn RJ, Seddon JM, Berlin BM. The incidence of eye injuries in New England adults. Arch Ophthalmol 1988; 106: 785-9.

Monestam E, Bjornstig JD. Eye injuries in Northern Sweden. Acta-Ophthalmol (COPENH) 1991; 69: 1-5.

Wilson MR, Wooten F, Williams J. Frequency and characteristics of ocular trauma in an urban population. J Natl Med Assoc 1991; 83: 697-702.

Liggett PE, Pince KJ, Barlow W, Ragen M, Ryan SJ. Ocular trauma in an urban population. Review of 1132 cases. Ophthalmology 1990; 97: 581-4.

Zagelbaum BM, Tostanoski JR, Kerner DJ, Hersh PS. Urban Eye Trauma. A one-year prospective study. Ophthalmology 1993; 100: 851-6.

Klopfer J, Tielsch JM, Vitale S, See LC, Canner JK. Ocular Trauma in the United States. Eye injuries resulting in hospitalization, 1984-7. Arch Ophthalmol 1992; 110: 838-42.

Kruger RA, Higgins J, Reshford S, Fitzgerald B, Land R. Emergency eye injuries. Aust Fam Physician 1990; 19: 934-8.

Macewen CJ. Eye injuries:a prospective survey of 5671 cases. Br J Ophthalmology 1989; 73: 888-94.

Henderson D. Ocular Eye Trauma: one in the eye for safety glasses. Arch Emerg Med 1991; 8: 201-4.

Nirmalan P, Katz J, Tielsch J, Robin A, Thulasiraj R, Krishnadas R, et al. Ocular trauma in a rural south Indian population. The Aravind Comprehensive Eye Survey. Ophthalmology 2003; 111: 1778-81.

Wong TY, Lincoln A, Tielsch JM, Baker SP. The epidemiology of ocular injury in a major US automobile corporation eye 1998; 12: 870-4.

Soylu M, Demircan N, Yalaz M, Isiquzel I. Etiology of pediatric perforating eye injuries in southern Turkey. Ophthalmic epidemiol 1998; 5: 7-12.

Eagling ME. Perforating injuries o f the eye. British Journal of Ophthalmology 1976; 11: 732-3.