ความพึงพอใจของผู้ปกครองผู้ป่วยเด็กที่มารับบริการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

รพีพรรณ สังสุวรรณ

บทคัดย่อ

          รูปแบบการให้บริการผู้ป่วยเด็กที่มารับบริการผ่าตัดศัลยกรรมd ay case anesthesia เป็นการพัฒนาการบริการเพื่อลดอัตราการครองเตียง ลดค่าใช้จ่าย และผู้ปกครองไม่ต้องแยกจากเด็ก โดยการให้บริการในปัจจุบันเน้นผู้รับบริการเป็นสำคัญ ฉะนั้นการประเมินความพึงพอใจจึงมีความสำคัญ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการบริการ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็กที่มารับการผ่าตัดศัลยกรรมเล็กต่อการได้รับบริการ day case anesthesia ด้านข้อมูลที่ได้รับจากผู้ให้บริการ ด้านอัธยาศัย ความสนใจของผู้รับบริการและคุณภาพบริการโดยภาพรวม ผู้ป่วยและวิธีการ: การศึกษาเชิงพรรณนาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่าง 1 เมษายน 2551-31 พฤษภาคม 2551 โดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ระดับความพึงพอใจ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ กับผู้ปกครองของผู้ป่วยนอกเด็ก อายุ 1-12 ปี ที่เด็กมี ASA I-II และมาใช้บริการผ่าตัดเล็ก โดยได้ยาระงับความรู้สึกวิธี general anesthesia ผลการศึกษา: ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการแสดงออกของผู้ให้บริการ การดูแลเอาใจใส่ต่อผู้ป่วยเด็กความชำนาญของผู้ให้บริการ การแก้ปัญหาเมื่อเกิดปัญหาและการให้คำแนะนำภายหลังการระงับความรู้สึกอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อบริการส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดร้อยละ 62.5 และร้อยละ 28.9 ตามลำดับ สรุป: การให้บริการ day case anesthesia ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ถือเป็นรูปแบบบริการที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมาก

Article Details

How to Cite
สังสุวรรณ ร. (2024). ความพึงพอใจของผู้ปกครองผู้ป่วยเด็กที่มารับบริการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 33(1), 33–40. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1826
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สุวรรณี สุรเศรณีวงศ์. การให้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยนอก. ใน: สุณีรัตน์ คงเสรีพงศ์, สุวรรณี สุรเศรณีวงศ์, บรรณาธิการ. ตำราวิสัญญีวิทยาในเด็กและทารก. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์ 2545. หน้า 471-5.

แสงโสม ปิยะวราภรณ์. การให้ยาระงับความรู้สึกสำหรับผู้ป่วยนอก. ใน: ฐิติมา ชินะโชติ, แสงโสม ปิยะวราภรณ์, บรรณาธิการ. ตำราวิสัญญีวิทยา ระดับพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พี เอ ลิฟวิ่งจำกัด 2541. หน้า 417-20.

สุณีรัตน์ คงเสรีพงศ์, สุวรรณี สุรเศรณีวงศ์, ปณิดาภรณ์ กรรณเลขา, ธัญยนิตย์ มันตภาณีวัฒน์, จิตประภา มานนท์. Factors affecting distress at induction of anesthesia in children. วิสัญญีสาร 2542; 25: 1-9.

อารุณี นาคขุนทด. The effect of sedative premedication for reduction of distress at induction of anesthesia in children in Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. วารสารศัลยศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2547; 9: 10-8.

รวิวาร วิศิษฐป์ รีชาวุฒิ. Compairison of Reaction of Pediatric Patients at Induction of Anesthesia between Using Chloral hydrate and Control Group in Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. วารสารศัลยศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2550; 11: 11-4.

Nair KG. Customer satisfaction in hospitals. Express Healthcare Management 2004.

Aday LA, Anderson RM. Equity to medical care: a concentrational and empeirical Overview. Medical Care 1981; 19: 4-6.

วินิตา จีราระรื่นศักด,ิ์ วราภรณ์ เชื้ออินทร์, สุทธินี จริยะวิสุทธิ์, ทิพยวรรณ มุกนำพร, ไกรวาส แจ้งสม, ประภาพรรณ ลิมป์กุลวัฒนพรและคณะ. ความพึงพอใจของผู้รับ บริการวิสัญญีในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. วิสัญญีสาร 2545; 28: 215-25.

Aldrete JA, Kronlink D. A postoperative recovery score. Anesth Analg 1970; 49: 924-34.

Brandi W. Measuring Patient Satisfaction: How to Do It and Why to Bother. American Academy of Family Physicians 1999.

มะลิ รุ่งเรืองวานิช, โฉมชบา สิรินันท์, อุไร เบญจพงศาพันธ์, เพ็ญนภา อริยะพณิช, อารีรัตน์ ทรงเกียรติกวิน. ความรู้เจตคติ และความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการเตรียมความพร้อมก่อนได้รับยาระงับความรู้สึก. วิสัญญีสาร2 544; 27: 139-49.

พีระศักดิ์ เลิศตระการตานนท์, สุรศักดิ์ บุณยฤทธิชัยกิจ, พัฒนวดี อุตวิชัย. ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการบริการศูนย์สุขภาพการเรียนเวชศาสตร์ครอบครัวภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.เชียงใหม่เวชสาร 2547; 43: 67-76.