การประเมินพังผืดในตับด้วยการตรวจความยืดหยุ่นในผู้ป่วยที่ได้รับยาเมโธเทร็กเซท
Main Article Content
บทคัดย่อ
ยาเมโธเทร็กเซท เป็นยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยโรคข้อและโรคผิวหนัง หากได้รับเป็นเวลานานอาจมีผลข้างเคียงต่อตับ เช่น พังผืดในตับ การตรวจความยืดหยุ่นของตับด้วยการใช้ Fibroscan สามารถทำได้ง่าย ไม่เจ็บ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินพังผืดในตับในผู้ป่วยที่ได้รับยาเมโธเทร็กเซทด้วย Fibroscan ผู้ป่วยและวิธีการ: ทำการตรวจความยืดหยุ่นของตับด้วยเครื่อง Fibroscan รุ่น 502 ของประเทศฝรั่งเศส ขนาดเอ็ม 3.5 เฮริ์ท ด้วยแพทย์ที่ผ่านการฝึกฝนมาแล้วในผู้ป่วยที่ได้รับยาเมโธเทร็กเซท ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2551 ในกลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาที่ยินยอมเข้าร่วมการศึกษา การตรวจทำ 10 ครั้งแสดงผลในรูปของค่าคะแนนมัธยฐาน หน่วยเป็น kilopascal (kPa) และinterquartile ratio (IQR) การแปลผล หากค่าเท่ากับ 5.5+1.6 kPa ถือว่าปกติ และการทดสอบมีความสมบูรณ์เมื่อค่า IQR ต้องไม่มากกว่าร้อยละ 30 และอัตราสำเร็จในการตรวจอย่างน้อยร้อยละ 60 ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับยาเมโธเทร็กเซท15 ราย ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย5 5+14 ปี (พิสัย 28-71 ปี) ร้อยละ 80 เป็น ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ ขนาดยาเมโธเทร็กเซทที่ได้รับเฉลี่ย 10.0+1.6 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ (พิสัย 7.5-12.5 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์) ระยะเวลาการได้รับยา 51.3+27.6 เดือน (พิสัย 15-96 เดือน) และปริมาณยาสะสมที่ได้รับทั้งหมด 2.0+1.0 กรัม (พิสัย 0.64-3.44 กรัม) การตรวจความยืดหยุ่นทำสำเร็จร้อยละ 83-100, ค่า IQR เท่ากับ 1.63+0.07 และค่าคะแนนของพังผืดในตับเท่ากับ 5.15+1.0 kPa สรุป: ผู้ป่วยที่ได้รับยาเมโธเทร็กเซทในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมามีค่าความยืดหยุ่นของตับเป็นปกติเมื่อตรวจด้วยเครื่อง Fibroscan
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Sandrin L, Fourquet B, Hasquenoph JM, Yon S, Fournier C, Mal F, et al. Transient elastography: a new noninvasive method for assessment of hepatic fibrosis. Ultrasound Med
Biol 2003; 29: 1705-13.
Foucher J, Chanteloup E, Vergniol J, Castra L, Le Bail B, Adhoute X, et al. Diagnosis of cirrhosis by transient elastography (FibroScan): a prospective study. Gut 2006; 55: 403-8.
Stebbing J, Farouk L, Panos G, Anderson M, Jiao LR, Mandalia S, et al. Meta-analysis of Transient Elastography for the Detection of Hepatic Fibrosis. J Clin Gastroenterol 2009; 9.
Curry MP, Afdhal NH. Noninvasive assessment of hepatic fibrosis. UpTodate 17.2; 2009.
Cannella AC, O’Dell JR. Methotrexate, Leflunomide, Sulfas alazine, Hydroxychloroquine, and combination therapies. In: Firestein GS, Budd RC, Harris ED Jr, McInnes IB, Ruddy S, Sergent JS, editors. Kelley’s Textbook of Rheumatology. 8th ed. Philadelphia: Saunders; 2009. p.88-907.
Castera L, Forns X, Alberti A. Non-invasive evaluation of liver fibrosis using transient elasto graphy. J Hepatol 2008; 48: 835-47.
Erickson AR, Reddy V, Vogelgesang SA, West SG. Usefulness of the American College of Rheumatology recommendations for liver biopsy in methotrexate-treated rheumatoid arthritis patients. Arthritis Rheum 1995; 38: 1115-9.
Yazici Y, Erkan D, Tai K, Paget SA. Monitoring for methotrexate hepatic toxicity in RA patients: Is it time to update the guidelines? [abstract]. Ann Rheum Dis 2000; 7: 154.
Kremer JM, Alarcon GS, Lightfoot RW Jr, et al. Methotrexate for rheumatoid arthritis: Suggested guidelines for monitoring liver toxicity. Arthritis Rheum 1994; 37: 316-28.
อัจฉรา กุลวิสุทธ.ิ์ Disease modifying antirheumatic drugs for rheumatoid arthritis. ใน: สุรศักดิ์ นิลกานุวงศ์, สุรวุฒิ ปรีชานนท์, บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เอส พี เอ็น การพิมพ์; 2548. p.1194-234.