การประเมินพังผืดในตับด้วยการตรวจความยืดหยุ่นในอาสาสมัครคนไทย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

สมชาย เหลืองจารุ
ชวนพิศ สุทธินนท์
สุนทร ชินประสาทศักดิ์
นพวรรณ วิภาตกุล

บทคัดย่อ

การตรวจความยืดหยุ่นของตับด้วยการใช้ Fibroscan สามารถทำได้ง่าย ไม่เจ็บในปัจจุบันยังไมมีข้อมูลเกี่ยวกับความยืดหยุ่นของตับในอาสาสมัครคนไทย วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินพังผืดในอาสาสมัครคนไทยด้วย Fibroscan ผู้ป่วยและวิธีการ: ทำการตรวจความยืดหยุ่นของตับด้วยเครื่อง Fibroscan รุ่น 502 ของประเทศฝรั่งเศส ขนาดเอ็ม 3.5 เฮริ์ท ด้วยแพทย์ที่ผ่านการฝึกฝนมาแล้วในอาสาสมัครคนไทยระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2551 ในกลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาที่ยินยอมเข้าร่วมการศึกษา การตรวจทำ 10 ครั้งแสดงผลในรูปของค่าคะแนนมัธยฐาน หน่วยเป็น kilopascal (kPa) และ interquartile ratio (IQR) การแปลผล หากค่าเท่ากับ 5.5±1.6 kPa ถือว่าปกติและการทดสอบจะถือว่ามีความสมบูรณ์เมื่อค่า IQR ต้องไม่มากกว่าร้อยละ 30 และอัตราสำเร็จในการตรวจอย่างน้อย ร้อยละ 60 ผลการศึกษา: อาสาสมัครสุขภาพดีทั้งหมดที่เข้าร่วมการศึกษา 192 ราย ส่วนใหญ่ร้อยละ 60 เป็นเพศหญิงอายุเฉลี่ย 44.1±10.9 ปี (พิสัย 21-71 ปี) ค่าดัชนีมวลกาย 23.2±3.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร การตรวจการทำงานของตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจความยืดหยุ่นทำสำเร็จร้อยละ 67-100, ค่าIQR เท่ากับ 1.11±0.07 และค่าคะแนนของพังผืดในตับเท่ากับ 5.5±3.4 kPa สรุป: การตรวจความยืดหยุ่นของตับด้วยเครื่อง Fibroscan ในอาสาสมัครสุขภาพดีที่มีผลการทำงานของตับปกติในจังหวัดนครราชสีมาจำนวน1 92 ราย มีค่าเท่ากับ 5.5±3.4 kPa

Article Details

How to Cite
เหลืองจารุ ส., สุทธินนท์ ช., ชินประสาทศักดิ์ ส., & วิภาตกุล น. (2024). การประเมินพังผืดในตับด้วยการตรวจความยืดหยุ่นในอาสาสมัครคนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 33(3), 159–162. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1853
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Sandrin L, Fourquet B, Hasquenoph JM, Yon S, Fournier C, Mal F, et al. Transient elastography: a new noninvasive method for assessment of hepatic fibrosis. Ultrasound Med

ฺBiol 2003; 29: 1705-13.

Foucher J, Chanteloup E, Vergniol J, Castera L, Le Bail B, Adhoute X, et al. Diagnosis of cirrhosis by transient elastography (FibroScan): a prospective study. Gut 2006; 55: 403-8.

Stebbing J, Farouk L, Panos G, Anderson M, Jiao LR, Mandalia S, et al. Meta-analysis of Transient Elastography for the Detection of Hepatic Fibrosis. J Clin Gastroenterol 2009; 9.

Curry MP, Afdhal NH. Noninvasive assessment of hepatic fibrosis. UpTodate 17.2; 2009.

Available from http://161.200.96.199/thaiim.html

Available from http://www.mat.or.th/journal/index.php

Available from http://www.ncbi.nlm.nih.gov

Castera L, Forns X, Alberti A. Non-invasive evaluation of liver fibrosis using transient elastography. J Hepatol 2008; 48: 835-47.