การศึกษาเปรียบเทียบการผ่าตัดนิ้วล็อคแบบเจาะผ่านผิวหนังโดยใช้วิธี ‘Feel and Pull’ กับวิธีผ่าตัดแบบเปิด: รายงานเบื้องต้น

Main Article Content

สัจจา เทอดไพรสันต์
อุรวิศ ปิยะพรมดี

บทคัดย่อ

ปัจจุบันมีวิธีการรักษานิ้วล็อคอยู่หลายวิธีในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาได้มีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดนิ้วล็อคแบบ เจาะผ่านผิวหนังโดยใช้วิธี ‘Feel and Pull’ ซึ่งมีความปลอดภัยสูง ลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็ดต่อเส้นเอ็นและเส้นประสาทลง วัตถุประสงค์: เพื่อรายงานผลการศึกษาเบื้องต้นเปรียบเทียบการผ่าตัดด้วยวิธีใหม่นี้กับการผ่าตัดด้วยวิธีมาตรฐานเดิม ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาเปรียบเทียบแบบสุ่มไปข้างหน้าระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2552 ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผู้ป่วยโรคนิ้วล็อค 20 รายจะถูกสุ่มแบ่งกลุ่มการรักษา เปรียบเทียบผลการรักษา ระดับความเจ็บปวดหลังผ่าตัด ผลข้างเคียง การกลับเป็นซ้ำ และระดับความพึงพอใจระหว่างการผ่าตัดแบบใหม่และการผ่าตัดแบบเปิด ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยมีการกลับเป็น ซ้ำ 1 รายจากการผ่าตัดเจาะผ่านผิวหนังโดยใช้วิธี ‘Feel and Pull’ ในผู้ป่วยนิ้วล็อค 9 ราย (ร้อยละ 11) ซึ่งสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิด แต่เมื่อเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดหลังผ่าตัด และ ระดับความพึงพอใจหลังผ่าตัดแล้ว การผ่าตัดด้วยวิธีใหม่ดีกว่า แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และไม่พบผลข้างเคียงอื่น สรุป: การผ่าตัดโรคนิ้วล็อคด้วยวิธีเจาะผ่านผิวหนัง ‘Feel and Pull’ เป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัย ซึ่งอาจพบการกลับเป็นซ้ำได้สูงกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีมาตรฐานเดิม แต่ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้เร็วขึ้นและมีแผลผ่าตัดขนาดที่เล็กลง

Article Details

How to Cite
เทอดไพรสันต์ ส., & ปิยะพรมดี อ. (2024). การศึกษาเปรียบเทียบการผ่าตัดนิ้วล็อคแบบเจาะผ่านผิวหนังโดยใช้วิธี ‘Feel and Pull’ กับวิธีผ่าตัดแบบเปิด: รายงานเบื้องต้น. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 33(3), 169–176. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1856
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Sampson SP, Badalamente MA, Hurst LC, Seidman J. Pathobiology of the human A1 pulley in trigger finger. J Hand Surg [Am] 1991; 16: 714-21.

Bonnici AV, Spencer JD. A survey of ‘trigger finger’ in adults. J Hand Surg [Br] 1988; 13: 202-3.

Rodgers JA, McCarthy JA, Tiedeman JJ. Functional distal interphalangeal joint splinting for trigger finger in laborers: a review and cadaver investigation. Orthopedics 1998; 21: 305-9.

Lapidus PW, Guidotti FP. Stenosing tenovaginitis of the wrist and fingers. Clin Orthop Relat Res 1972; 83: 87-90.

Thorpe AP. Results of surgery for trigger finger. J Hand Surg [Br] 1988; 13: 199-201.

Lorthioir J, Jr. Surgical treatment of trigger-finger by a subcutaneous method. J Bone Joint Surg Am 1958; 40: 793-5.

Eastwood DM, Gupta KJ, Johnson DP. Percutaneous release of the trigger finger: an office procedure. J Hand Surg [Am] 1992; 17: 114-7.

Bain GI, Turnbull J, Charles MN, Roth JH, Richardset RS. Percutaneous A1 pulley release: a cadaveric study. J Hand Surg [Am] 1995; 20: 781-4.

Bain GI, Wallwork NA. Percutaneous A1 Pulley Release a Clinical Study. J Hand Surg 1999; 4: 45-50.

Dunn MJ, Pess GM. Percutaneous trigger finger release: a comparison of a new push knife and a 19-gauge needle in a cadaveric model. J Hand Surg [Am] 1999; 24: 860-5.

Blumberg N, Arbel R, Dekel S. Percutaneous release of trigger digits. J Hand Surg [Br] 2001; 26: 256-7.

Gilberts E, Beekman W, Stevens H, Wereldsmaet J. Prospective randomized trial of open versus percutaneous surgery for trigger digits. J Hand Surg [Am] 2001; 26: 497-500.

Gilberts EC, Wereldsma JC. Long-term results of percutaneous and open surgery for trigger fingers and thumbs. Int Surg 2002; 87: 48-52.

Kilic BA, Kiter EA, Selcuk Y. The effect of percutaneous trigger finger release on normal anatomic structures and long-term results of the procedure. Acta Orthop Traumatol Turc 2002; 36: 256-8.

Ragoowansi R, Acornley A, Khoo CT. Percutaneous trigger finger release: the ‘lift-cut’ technique. Br J Plast Surg 2005; 58: 817-21.

Dahabra IA, Sawaqed IS. Percutaneous trigger finger release with 18-gauge needle. Saudi Med J 2007; 28: 1065-7.

Slesarenko YA, Mallo G, Hurst LC, Sampson SP, SerraHsu F. Percutaneous release of A 1 pulley. Tech Hand Up Extrem Surg 2006; 10: 54-6.

Thoedprison S. Preliminary Report of Percutaneous Trigger Finger Release by Korat-Satja I (KS I) Instrument. Bulletin of Society of Surgeon of NorthEast Thai 2005; 10; 3-5.

Akhtar S, Quinton DN, Burke FD. Management and referral for trigger finger/thumb. BMJ 2005; 331: 30-3.

Strom L. Trigger finger in diabetes. J Med Soc NJ 1977; 74: 951-4.

Patel MR. Percutaneous release of trigger digit with and without cortisone injection. J Hand Surg [Am] 1997; 22: 150-5.

Lairungruang W. The efficacy of percutaneous A pulley release for trigger finger treatment. Chula Med J 2008; 52: 177-92.