อุปกรณ์ยึดศีรษะผู้ป่วยในท่านอนคว่ำจากโฟมสำหรับการฉายรังสีรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

เกื้อกูล ซื่อสกุล

บทคัดย่อ

อุปกรณ์ยึดศีรษะผู้ป่วยในท่านอนคว่ำมีความสำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยนอนได้นิ่งขณะรับการฉายรังสีและได้รับรังสีตรงตามตำแหน่งที่ต้องการ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนของขอบเขตการฉายรังสีรักษาศีรษะและคอในท่านอนคว่ำระหว่างการใช้อุปกรณ์ยึดศีรษะผู้ป่วยที่ประดิษฐ์ขึ้นกับวิธีการเดิม ผู้ป่วยและวิธีการ: ขั้นตอนที่ 1 ประดิษฐ์อุปกรณ์ยึดศีรษะผู้ป่วยในท่านอนคว่ำ ขั้นตอนที่ 2 นำอุปกรณ์ยึดศีรษะผู้ป่วยในท่านอนคว่ำที่ประดิษฐ์ขึ้นไปทดสอบกับผู้ป่วยที่มารับการฉายรังสี 20 ราย เปรียบเทียบกับวิธีการแบบเดิมในผู้ป่วยอีก 20 ราย ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาระหว่าง 1 กุมภาพันธ์ 2550 ถึง 31 กรกฎาคม 2550 ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้ทั้ง 2 วิธีมาเปรียบเทียบกันด้วยวิธีทางสถิติ ผลการศึกษา: ความคลาดเคลื่อนของขอบเขตการฉายรังสีที่เกินและไม่ครอบคลุมขอบเขตกำหนด กรณีใช้อุปกรณ์ยึดศีรษะที่ประดิษฐ์ขึ้นมีค่ามัธยฐาน เท่ากับ 0.42±0.45 และ 0.40±0.39 เซนติเมตรตามลำดับ ส่วนวิธีการเดิมมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 1.54±0.52 และ 1.64+0.48 เซนติเมตรตามลำดับ โดยเมื่อเปรียบเทียบกันพบมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.012 และ P<0.001 ตามลำดับ) สรุป: อุปกรณ์ยึดศีรษะผู้ป่วยในท่านอนคว่ำสำหรับการฉายรังสีรักษาที่ประดิษฐ์ขึ้นเองในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา สามารถทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของขอบเขตการฉายรังสีน้อยกว่าวิธีการเดิม

Article Details

How to Cite
ซื่อสกุล เ. (2024). อุปกรณ์ยึดศีรษะผู้ป่วยในท่านอนคว่ำจากโฟมสำหรับการฉายรังสีรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 32(1), 37–42. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1871
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

พวงทอง ไกรพิบูลย์, วิภา บุญกิติเจริญ, จีระภา ตันนานนท์, บรรณาธิการ. ตำรารังสีรักษา ฟิสิกส์ชีวรังสี การรักษาพยาบาลผู้ป่วย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช; 2534.

Anderton JM. The prone position for the surgical patient: a historical review of the principles and hazards. Br J Anaesth 1991; 67: 452-63.

Wollman SB, Neuman GG. Retinal surgery in the prone position: an inexpensive simple headrest. Anesthesiology 1984; 61: 109.

Schwartz PL, Fastenberg DW, Wollman SB. The use of the Mayfield headrest to perform Retinal surgery in the prone position. Ophthalmic Surg 1984; 15: 746-8.

Mayles WPM, Lake R, McKenzie A. Radiotherapy imaging devices. In: Powley SK, editor. Physics aspects of quality control in radiotherapy. New York: WB Sauder; 1992. p.36-9.

อรุณ จิรวัฒนกุล ,บรรณาธิการ. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2547.