ลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังชนิดมีแผลในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

ชวนพิศ สุทธินนท์
สมชาย เหลืองจารุ

บทคัดย่อ

          ในประเทศไทยพบโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังชนิดมีแผลได้ไม่บ่อยและเป็นรายงานการศึกษาของโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์: เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังชนิดมีแผลในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังชนิดมีแผลในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่ สิงหาคม พ.ศ.2543-มีนาคม 2551 โดยผู้ป่วยทุกรายต้องมีอาการและอาการแสดงทางคลินิกที่เข้าได้และได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังชนิดมีแผล 13 ราย เพศหญิง ร้อยละ 61.5 อายุเฉลี่ยขณะวินิจฉัยโรค 48.2±0.4 ปี (พิสัย 35-61 ปี) ระยะเวลาเฉลี่ยติดตามผู้ป่วย 42.2±26.7 เดือน (มัธยฐาน 53 เดือน) ภูมิลำเนาผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา มีอาชีพเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.5 ระยะเวลาเฉลี่ยที่มีอาการก่อนการวินิจฉัยโรค 18.5±16.8 เดือน (มัธยฐาน 13 เดือน) ไม่มีประวัติการสูบบุหรี่เลย อาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ทุกรายมาด้วยถ่ายเป็นมูกปนเลือด และมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ โลหิตจาง ร้อยละ 23.1 น้ำหนักลดลงร้อยละ 15.4 ผลการส่องตรวจลำไส้ใหญ่พบว่าตำแหน่งที่พบการอักเสบส่วนใหญ่เป็น ลำไส้ใหญ่ซีกซ้าย ร้อยละ 84.6 โดยไม่พบการลุกลามสู่ terminal ileum เลย ระดับความรุนแรงของพยาธิสภาพส่วนใหญ่เป็นแบบปานกลาง ร้อยละ 84.6 การรักษาเพื่อควบคุมโรคส่วนใหญ่ได้ sulfazalazine อย่างเดียว ร้อยละ 53.8 รองลงมาได้ sulfazalazine ร่วมกับ azathiopine ร้อยละ 23.1 และได้ azathiopine อย่างเดียว ร้อยละ 15.4 มีผู้ป่วย 1 ราย สามารถหยุดยาที่ใช้ในการรักษาได้ สรุป: ในระยะเวลา 7 ปีครึ่งพบผู้ป่วยลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังชนิดมีแผลในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา   13 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ยขณะวินิจฉัยโรค 48.2 ปี ระยะเวลาที่มีอาการก่อนการวินิจฉัยโรค 13 เดือน ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรและไม่มีประวัติการสูบบุหรี่เลย อาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ทุกรายมาด้วยถ่ายเป็นมูกปนเลือด ตำแหน่งที่พบการอักเสบจากการส่องกล้องส่วนใหญ่เป็นลำไส้ใหญ่ซีกซ้าย โดยไม่พบการลุกลามสู่ terminal ileum เลย และความรุนแรงของพยาธิสภาพส่วนใหญ่เป็นแบบปานกลาง

Article Details

How to Cite
สุทธินนท์ ช., & เหลืองจารุ ส. (2024). ลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังชนิดมีแผลในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 32(2), 87–94. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1885
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Available from http:// www.library.md.chula.ac.th/

Sthitnimankarn T. Pancreatic lesions in association with chronic ulcerative colitis. Siriraj Hosp Gaz 1952; 4: 541-5.

Klunklin K. Chronic ulcerative colitis: a case report. J Med Assoc Thai 1971; 54: 947-52.

Hitanant S, Vaeusorn N, Asavanich C. Fulminant ulcerative colitis: a case report angiographic findings. J Med Assoc Thai 1974; 57: 475-9.

Viranuvatti V. Ulcerative colitis in Thailand. J Med Assoc Thai 1975; 58: 312-6.

Pongprasobchai S, Manatsathit S, Leelakusonwon S, Sattawatthamrong Y, Boonyapisit S. Ulcerative colitis in Thailand: a clinical study and long term follow-up. J Med Assoc Thai 2001; 84: 1281-8.

Taweevisit M, Wisadopas N. Retrospective study of pathologically proven colitis in King Chulalongkorn Memorial hospital. J Med Assoc Thai 2004; 87: 1355-60.

Rerknimitr R, Chalapipat O, Kongkam P, Kullavanijaya P. Clinical characteristics of inflammatory bowel disease in Thailand: a 16 years review. J Med Assoc Thai 2005: 88: S129-S133.

Setrachandra S. Idiopathic ulcerative colitis. J Med Assoc Thai1963; 46: 297-310.

Luangjaru S, Suttinont C, Chinprasatsak S, Thaisamak S. Sigmoidoscopy/Colonoscopy in Department of Medicine, Maharat Nakhon Ratchasima Hospital: One year experience. Nakhon Ratch Med Bull 2001; 25: 133-9.

Geboes K. Crohn’s disease, ulcerative colitis or indeterminate colitis-how important is it to differentiate? Acta Gastroenterol Belg. 2001; 64: 197-200. [Review]

Geboes K. Pathology of inflammatory bowel diseases (IBD): variability with time and treatment. Colorectal Dis 2001; 3: 2-12.

Kornbluth A, Sachar DB. Ulcerative colitis practice guidelines in adults (update): American College of Gastroenterology, Practice Parameters Committee. Am J Gastroenterol 2004; 99: 1371–85.

Sood A, Midha V, Sood N. Incidence and prevalence of ulcerative colitis in Punjab, North India. Gut 2003; 52: 1587-90.

Peppercorn MA. Clinical manifestations, diagnosis and prognosis of ulcerative colitis in adults. Up-To-Date version 15.1; 2007.