การประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในเครื่องดื่มสมุนไพรและไวน์ไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
อนุมูลอิสระเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เซลล์ร่างกายเสื่อมรวมทั้งเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เพื่อไม่ให้เซลล์ร่างกายเสียหายในร่างกายจึงมีระบบต้านอนุมูลอิสระเพื่อทำลายอนุมูลอิสระโดยการจับหรือให้อิเลคตรอนจึงเป็นการลดหรือชะลอการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ สารต้านอนุมูลอิสระมีหลายชนิด ได้แก่ วิตามินเอ ซี และอี ซีลีเนียม แคโรทีนอยด์ เฟลโวนอยด์ เป็นต้น สารเหล่านี้พบในพืชพื้นบ้านไทยหลายชนิด จากนโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดการแปรรูปสมุนไพรเป็นเครื่องดื่มหลากหลายชนิดและรูปแบบ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์นครราชสีมาได้ศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในเครื่องดื่มสมุนไพรและไวน์ไทยที่เป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และผลิตโดยผู้ผลิตท้องถิ่นของจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ด้วยวิธี 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) assay จำนวน 45 ตัวอย่าง พบว่า เครื่องดื่มสมุนไพรชนิดน้ำและเครื่องดื่มผงสำเร็จรูปมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในช่วงร้อยละ -0.7 ถึง 94.8 ชาสมุนไพรร้อยละ 11.2 ถึง 89.9 และไวน์องุ่นร้อยละ 82.7 ถึง 83.7 เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์ ฯ สูง (มากกว่าร้อยละ 80) 5 อันดับ ได้แก่ น้ำสมุนไพรว่านชักมดลูก น้ำมะยม น้ำสมุนไพรสกัดจากกระชายดำ น้ำสมุนไพรสกัดจากลูกยอ และน้ำเก๊กฮวย (ร้อยละ 94.1±0.1, 93.4 ±0.2, 92.7±0.1, 94.8±0.2, 91.6±0.8 และ 90.2±0.2 ตามลำดับ) ผลของการศึกษาทำให้ผู้บริโภคทราบข้อมูลสำหรับเลือกผลิตภัณฑ์ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์อีกทางหนึ่งด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Diplock AT. Antioxidant nutrients and disease prevention: an overview. Am J Clin Nutr 1991; 53: S189-S193.
กรกนก อิงคนินันท์. เอกสารประกอบการจัดอบรมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรและไวน์ไทยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. วันที่ 23 พฤษภาคม 2549 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์พิษณุโลก.
Prakash A. Antioxidant Activity. Medallion Laboratories. 2001; 19: 1-5. [online] [cited 2006 Nov 30]. Available from: http://www.terranostrachocolate.com/filer/Comparative_and_General_Antioxidant_Information.pdf.
Schlesier K, Harwat M, B๖hm V, Bitsch R. Assessment of Antioxidant Activity by Using Different In Vitro Methods [abstract]. Free Radical Research [online] 2002 [cited 2006 Jun 4];36(2):77-87. Available from: http://cat.inist.fr/?aModele=afficheN&cpsidt=13971172
วาริน แสงกิติโกมล. ปริมาณรวมของสารต้านอนุมูลอิสระในผัก ผลไม้ และสมุนไพร. วารสารสหเวชศาสตร์ 2543; 1: 11-8.
นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, ทรงศรี แก้วสุวรรณ. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสมุนไพรไทยและไวน์ไทย. วารสารสมุนไพร 2544; 8: 8-13.
ไมตรี สุทธจิตต์, กรรณิการ์ แซ่เตียว, จันทร์จิรา มีคำ. ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นในผักและเมล็ดพืชที่ใช้เป็นอาหาร. จากการประชุมวิชาการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 9 เรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อชีวิตและเศรษฐกิจไทย วันที่ 4-5 มิถุนายน 2541 ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร.
เกศศินี ตระกูลทิวากร, จันทร์เพ็ญ ศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์. ศักยภาพในการต้านสารอนุมูลอิสระของสารสกัดจากผักพื้นบ้านไทย. อาหาร 2543; 30: 164-76.
Molyneux P. The use of the stable free radical diphenylpicrylhydrazyl (DPPH) for estimating antioxidant activity. Songklanakarin J Sci Technol 2004; 26: 211-9.
Blois MS. Antioxidant determinations by the use of a stable free radical. Nature 1958; 181: 1199-200.
Brand-Williams W, Cuvelier ME, Berset C. Use of a free radical method to evaluate antioxidant activity. Lebens-mittel-Wissenchaft and Technologie/Food Science and Technology 1995; 28: 25-30.
นิทรา เนื่องจำนงค์, กรกนก อิงคนินันท์. การประเมินฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระในเครื่องดื่มสมุนไพรและไวน์ไทย.วารสารอาหารและยา. 2005; 12: 65-70.
Rerk-am U, Chitphet T, Nakakaew S, Limsiriwong P, Thubthimthed S, Potduang B, et al. Antioxidant and antityrosinase activity evaluation of the ethanolic extracts, obtained from five Curcuma spp [poster]. [ออนไลน์] [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549]. Available from: http:www.econbot.org/_organization_/07_annual_meetings/meeting_abstracts/84.pdf Antioxidant 2005. December [cited 2006 June 4]. Available from: http://en.wikipedia.org/wiki/Antioxidant.
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สมุนไพรไทยก้าวไกลสู่สากล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.); 2548.
รัตติยา สำราญสกุล. ปริมาณสารโพลีฟีนอลและฤทธิ์การ ต้านออกซิเดชันโดยรวม ของใบหม่อนและชาใบหม่อน
จากบางแห่งในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิตเภสัชศาสตร์ (อาหารเคมีและโภชนศาสตร์ทางการแพทย์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 115 หน้า.
ปัญจขันธ์ หรือ เจียวกู่หลาน หรือ เจียวกู้หลาน [ออนไลน์] [เข้าถึงเมื่อวันที่12 ธันวาคม 2549]. Available from: http://www.thai4-uthailand.com/chiangmai_herb_ref1.html
ศิริบุญ พูลสวัสดิ์. มะตูม: พืชสารพัดประโยชน์ [บทความวิทยุกระจายเสียง]. รายการสาระยามบา่ ย ครั้งที่ 43 กระจาย เสียงจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ประจำเดือน พฤษภาคม 2547 เวลา 16.30-17.00 น. [ออนไลน์] [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2550]. Available from: http://www.gpo.or.th/herbal/group4/group041.htm