ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับเบาหวานในจอประสาทตา ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

ฤทธิ์ทา เลิศคุณลักษณ์
ธัญญา เชฏฐากุล
พรรณทิพย์ ตันติวงษ์
ลินจง ขันติโสภณ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับเบาหวานในจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการ: ทำการศึกษาแบบภาพตัดขวางแบบ hospital-based ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่เมษายน พ.ศ. 2546 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2546 ในผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาที่ลงทะเบียน โดยมีจักษุแพทย์เป็นผู้ตรวจจอประสาทตาของผู้ป่วยเบาหวาน ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 633 คน จากผู้ป่วยทั้งหมด 1,066 คน ที่ลงทะเบียน (ร้อยละ 59.4) ได้รับการตรวจโดยจักษุแพทย์ พบความชุกของเบาหวานในจอประสาทตาของเบาหวานชนิดที่ 2 ร้อยละ 17 (108 คน) ประกอบด้วย NPDR ร้อยละ 7.6 (48 คน) และ PDR ร้อยละ 9.5 (60 คน) พบว่าผู้ป่วยที่มีรอยโรคของเบาหวานในจอประสามตามีระยะเวลาเป็นโรคเบาหวานนานกว่าและความดันโลหิตค่าบนสูงกว่าและสถานะเบาหวานลงไตมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีเบาหวานในจอประสาทตาโดยแสดงค่าความเสี่ยงเป็น adjusted odds ratio (95% confidential interval) ดังนี้ ระยะเวลาเป็นเบาหวาน 5-9.9 ปี, 10-14.9 ปี, 15-19.9 ปีและ > 20 ปี เมื่อเทียบกับระยะเวลาเป็นเบาหวานน้อยกว่า 5 ปีเท่ากับ 1.2 (0.6-2.28), 2.1 (1.13-4.04), 1.9 (0.81-4.27), 4.6 (2.09-10.18) ตามลำดับ, ระดับน้ำตาลสะสมมากกว่าร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับระดับน้ำตาลสะสมน้อยกว่า 7 เท่ากับ 2 (1.13-3.59), ระดับความดันโลหิตค่าบนมากกว่าหรือเท่ากับ 130 มิลลิเมตรปรอทเมื่อเทียบกับระดับความดันโลหิตค่าบนน้อยกว่านี้ เท่ากับ 1.8 (1.14-2.92) สถานะของเบาหวานลงไตเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีเบาหวานลงไต ได้แก่ positive proteinuria 1.8 (1.05-2.96) และไตเสื่อม 2.4 (1.23-4.87) สรุป: ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานในจอประสาทตาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา พบได้ร้อยละ 17 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานในจอประสาทตาได้แก่ ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน, ระดับน้ำตาลสะสม, ระดับความดันโลหิตค่าบนและภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานลงไต

Article Details

How to Cite
เลิศคุณลักษณ์ ฤ., เชฏฐากุล ธ., ตันติวงษ์ พ., & ขันติโสภณ ล. (2024). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับเบาหวานในจอประสาทตา ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 32(3), 177–186. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1899
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Klein R, Klein BE, Moss SE, David MD, DeMets DL. The W isconsin epidemiologic study of diabetic retinopathy. III. Prevalence and risk of diabetic retinopathy when age at diagnosis is 30 or more years. Arch Opthalmol 1984; 102: 527-32.

Yoshida Y, Hagura R, Hara Y, Sugasawa G, Akanuma Y. Risk factors for the development of diabetic retinopathy in Japanese type 2 diabetic patients. Diabetes Res Clin Pract 2001; 51: 195-203.

Klein BE, Klein R, Moss SE, Palta M. A cohort study of the relationship of diabetic retinopathy to blood pressure. Arch Ophthalmol 1995; 113: 601-6.

Report of the expert committee on the diagnosis and classification of diabetes mellitus. Diabetes Care. 2003; 26: S5-20.

Wilkinson CP, Ferris FL 3rd, Klein RE, Lee PP, Agardh CD, Davis M, et al. Proposed international clinical diabetic retinopathy and diabetic macular edema disease severity scales. Ophthalmology. 2003; 110: 1675-6.

American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes. Diabetes Care. 2005; 28(Supp 1): S4-S36.

Rawdaree P,Ngarmukos C, Deerochanawong C, Suwanwalaikorn S, Chetthakul T, Krittiyawong S, et al. Thailand diabetes registry (TDR) project:clinical status and long Term vascular complications in diabetic patients. J Med Assoc Thai 2006; 89 (Suppl 1): S1-9.

UK Prospective Diabetes Study (UKPDS) Group. Tight blood pressure control and risk of macro- vascular and microvascular complication in type 2 diabetes (UKPDS 38). BMJ 1998; 317: 703-13.

UK Prospective Diabetes Study (UKPDS) Group. Intensive blood-glucose control with sulphonylureas or insulin compared with conventional treatment and risk of complications in patients with type 2 diabetes (UKPDS 33). Lancet 1998; 352: 837-53.

Thai Multicenter Research Group on Diabetes Mellitus. Vascular complications in non-insulin dependent diabetics in Thailand. Diabetes Res Clin Pract 1994; 25: 61-9.

Parving HH, Gall MA, Skott P Prevalence and causes of albuminuria in non-insulin dependent diabetic patients. Kidney Int 1992;41:758-762.