อิทธิพลของมุมเครื่องมือสอดใส่แร่สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูก ต่อการวัดปริมาณรังสี และตำแหน่งของจุดอ้างอิงและอวัยวะวิกฤติ

Main Article Content

อัจฉรี ศรีนุเคราะห์

บทคัดย่อ

การใช้ clamp เพื่อยึดเครื่องมือสอดใส่แร่สำหรับการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยการสอดใส่แร่แบบอัตราปริมาณรังสีสูง ให้อยู่นิ่งตลอดการรักษา สามารถช่วยปรับมุมของเครื่องมือสอดใส่แร่ให้ห่างจากอวัยวะวิกฤติ นั่นคือกระเพาะปัสสาวะและไส้ตรงเพื่อลดปริมาณรังสีที่ได้รับเพิ่มเติมจากการใส่ผ้าก๊อสได้ แต่การปรับมุมเครื่องมือดังกล่าวสามารถเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของจุดอ้างอิงต่าง ๆ รวมทั้งของอวัยวะวิกฤติได้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลจากการปรับมุมเครื่องมือสอดใส่แร่ต่อปริมาณรังสีที่กระเพาะปัสสาวะและไส้ตรงได้รับ และการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งจุดอ้างอิงต่าง ๆ และอวัยวะวิกฤติ วัสดุและวิธีการ: ทบทวนภาพรังสีแบบ orthogonal ที่ใช้ reconstruction jig ก่อนและหลังปรับมุมเครื่องมือสอดใส่แร่ จำนวน 50 ครั้งของการใส่แร่จากผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก 29 ราย ที่ใส่ทั้ง tandem และ ovoids ทำการวางแผนการรักษาด้วยโปรแกรม BrachyVision version 7.3.10 กำหนดปริมาณรังสีที่จุดอ้างอิง A เท่ากับ 6 Gray (Gy) โดยยังไม่ปรับเวลาการฉายรังสี เปรียบเทียบปริมาณรังสีสูงสุดที่กระเพาะปัสสาวะและไส้ตรงได้รับก่อนและหลังการปรับเครื่องมือสอดใส่แร่ด้วย Wilcoxon matched pair test หาการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของจุดอ้างอิง A, B และ cervix และระยะห่างระหว่างอวัยวะวิกฤติ ด้วยวิธี vector analysis และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของมุมเครื่องมือสอดใส่แร่กับการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งจุดอ้างอิงและระยะห่างระหว่างอวัยวะวิกฤติ ด้วยวิธี Spearman’s rho test ผลการศึกษา: มุมของ applicators เปลี่ยนแปลงโดยเฉลี่ย 7.81± 4.08 องศา ทำให้ปริมาณรังสีสูงสุดที่กระเพาะปัสสาวะและไส้ตรงได้รับเลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ( p<0.001 ทั้งกระเพาะปัสสาวะและไส้ตรง) ด้วยค่าเฉลี่ย 39.78±36.20 cGy สำหรับกระเพาะปัสสาวะ และ 38.00±31.28 cGy สำหรับไส้ตรงโดยที่การเปลี่ยนแปลงปริมาณรังสีสูงสุดของกระเพาะปัสสาวะสัมพันธ์กับการปรับมุมเครื่องมือสอดใส่แร่มากกว่าของไส้ตรงด้วยสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์เท่ากับ 0.751 สำหรับกระเพาะปัสสาวะ และ 0.575 สำหรับไส้ตรงตำแหน่งของ cervical os, จุด A, B และ cervix เปลี่ยนแปลงโดยเฉลี่ย 0.62±0.31, 0.89±0.44, 0.88± 0.45 และ 0.76±0.38 เซนติเมตรตามลำดับและทำให้ระยะห่างจาก กระเพาะปัสสาวะถึงไส้ตรง, cervical os ถึงกระเพาะปัสสาวะและ cervical os ถึงไส้ตรงเปลี่ยนแปลงโดยเฉลี่ย 0.11±0.09, 0.13±0.11 และ 0.17±0.10 เซนติเมตรตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงของจุดอ้างอิงสัมพันธ์ กับการปรับมุมเครื่องมือสอดใส่แร่มากกว่า ของระยะห่างระหว่างอวัยวะ (สัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์เท่า กับ 0.867, 0.941, 0.926 และ 0.918 สำหรับ cervical os, จุด A, Bและ cervix ตามลำดับ และเท่ากับ 0.561, 0.600 และ 0.631 สำหรับกระเพาะปัสสาวะถึงไส้ตรง, cervical os ถึง กระเพาะปัสสาวะ และ cervical os ถึงไส้ตรงตามลำดับ) สรุป: การปรับมุมของเครื่องมือสอดใส่แร่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อปริมาณรังสีสูงสุดที่ กระเพาะปัสสาวะและไส้ตรงได้รับ เนื่องจากตำแหน่งจุดอ้างอิงที่ใช้กำหนดปริมาณรังสีมีการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งจุดอ้างอิงโดยรวมเพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของมุม อวัยวะวิกฤติถูกทำให้เคลื่อนที่ไปพร้อมกับตำแหน่งของปากมดลูก ตามทิศทางการปรับเครื่องมือ สอดใส่แร่แต่ได้รับผลน้อยกว่าตำแหน่งของจุดอ้างอิง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของจุดอ้างอิงโดยเฉลี่ย ไม่มากกว่าในผลการศึกษาอื่น ที่ได้จากการใส่แร่หลายครั้งในผู้ป่วยรายเดียวกัน

Article Details

How to Cite
ศรีนุเคราะห์ อ. (2024). อิทธิพลของมุมเครื่องมือสอดใส่แร่สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูก ต่อการวัดปริมาณรังสี และตำแหน่งของจุดอ้างอิงและอวัยวะวิกฤติ. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 32(3), 187–194. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1900
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Hoskin PJ, Cook M, Bouscale D, Cansdale J. Changes in applicator position with fractionated high dose rate gynecology brachytherapy. Radiother Oncol 1996; 40: 59-62.

Datta NR, Kumar S, Das KJ, Pandy CM, Halder S, Ayyagari S. Variations of intracavitary applicator geometry during multiple HDR brachytherapy insertions in carcinoma cervix and its influence on reporting as per ICRU report 38. Radiother Oncol 2001; 60: 15-24.

Wulf J, Popp K, Oppitz U, Baier K, Flentje M. Positional variability of a tandem applicator system in HDR brachytherapy for primary treatment of cervix cancer: analysis of the anatomic pelvic position and comparison of the applicator positions during five insertions. Strahlenther Onkol 2004; 180: 216-24.

Datta NR, Basu R, Das KJ, Rajasekar D, Pandy CM, Singh U, et al. Problems and uncertainties with multiple point A’s during multiple high-dose-rate intracavitary brachytherapy in carcinoma of the cervix. Clin Oncol 2004; 16: 129-37.

Garipagaoglu M, Tuncel N, Dalmaz MG, Gulkesen H, Toy A, Kizilda AU, et al. Changes in applicator positions and dose distribution between high dose rate brachytherapy fractions in cervix carcinoma patients receiving definitive radiotherapy. Br J Radiol 2006; 79: 504-9.

Elhanafy OA, Das RK, Paliwal BR, Migahed MD, Sakr HA, Elleithy M. Anatomic variation of prescription points and treatment volume with fractionated high-dose-rate gynecological brachytherapy. J Appl Clin Med Phys 2002; 3: 1-5.

Grigsby PW, Georgiou A, Williamson JF, Perez CA. Anatomic variation of gynecologic brachytherapy prescription points. Int J Radiat Oncol Biol Phys 1993; 27: 725-9.

Kim RY, Meyer JT, Plott WE, Spencer SA, Meredith RF, Jennelle RLS, et al. Major geometric variations between multiple high-dose rate applications of brachytherapy in cancer of the cervix: frequency and types of variation. Ther Radiol 1995; 195: 419-22.

Hoskin PJ, Bownes P, Summers A. The influence of applicator angle on dosimetry in vaginal vault brachytherapy. Br J Radiol 2002; 75: 234-7.

Yun HG, Shin KC. Study of patient’s position to reduce late complications in high dose rate intracavitary radiation of the uterine cervix cancer. J Korean Soc Ther Radiol Oncol 1998; 16: 477-84.

Senkus-Konefka E, Kobierska A, Jassem J, Serkies K, Badzio A. Influence of brachytherapy applicators geometry on dose distribution in cervical cancer. Strahlenther Onkol 1997; 173: 323-9.

Eng TY, Fuller CD, Cavanaugh SX, Blough MM, Sadeghi A, Herman T. Significant rectal and bladder dose reduction via utilization of Foley balloon catheters in high-dose-rate tandem and ovoid intracavitary brachytherapy of the uterine cervix. Int J Radiat Oncol Biol Phys 2004; 59: 174-8.

Thomadsen BR, Shahabi S, Stitt JA, Buchler DA, Fowler JF, Paliwal BR, et al. High dose rate intracavitary brachytherapy for carcinoma of the cervix: the Madison system: II, procedural and physical considerations. Int J Radiat Oncol Bio Phys 1992; 24: 349-57.

Rutten RR, Lawyer AA, Berner P. Dose variation due to differences in applicator placement used for intracavitary brachytherapy of cervical cancer. Med Dosim 1998; 23: 57-63.

Pham HT, Chen Y, Rouby E, Lustig RA, Wallner PE. Changes in high-dose-rate tandem and ovoid applicator positions during treatment in an unfixed brachytherapy system. Radiology 1998; 206: 525-31.