การให้เลือดในการผ่าตัดคลอดบุตร ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: การผ่าตัดคลอดบุตรเป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงต่อการตกเลือดทางสูติกรรม จึงต้องมีการเตรียมเลือดสำรองไว้ การทราบถึงอุบัติการณ์ และสัดส่วนของการขอเลือดต่อการให้เลือด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการให้เลือดในสตรีที่ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตร จะเป็นแนวทางในการเฝ้าระวังและลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และสัดส่วนการขอเลือดต่อการให้เลือด และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการให้เลือดในสตรีที่ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตร ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง ในสตรีที่ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2550 ถึง 31 ธันวาคม 2550 จำนวน 1,162 ราย ผลการศึกษา: พบสตรีได้รับเลือดในการผ่าตัดคลอดบุตร 50 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.3 โดยได้รับเลือดทั้งหมด 110 ยูนิต มีสัดส่วนของการขอเลือดต่อการให้เลือด 21.2: 1 เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบโดยใช้ univariate analysis พบว่า อายุครรภ์ที่น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ความเข้มข้นของเลือดก่อนการผ่าตัดคลอดน้อยกว่าร้อยละ 30 แพทย์ประจำบ้านเป็นผู้ผ่าตัดคลอด ระยะเวลาผ่าตัดคลอดนานกว่า 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากที่อื่น และข้อบ่งชี้ภาวะรกเกาะต่ำ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการให้เลือดในการผ่าตัดคลอดบุตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: อุบัติการณ์การให้เลือดในการผ่าตัดคลอดบุตรในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เท่ากับร้อยละ 4.3 สัดส่วนการขอเลือดต่อการให้เลือดเท่ากับ 21.2 : 1 อายุครรภ์ที่น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ความเข้มข้นของเลือดก่อนการผ่าตัดคลอดน้อยกว่าร้อยละ 30 แพทย์ประจำบ้านเป็นผู้ผ่าตัดคลอด ระยะเวลาผ่าตัดคลอดนานกว่า 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากที่อื่น และข้อบ่งชี้ภาวะรกเกาะต่ำ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการให้เลือดในการผ่าตัดคลอดบุตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ยศ ตีระวัฒนานนท์, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, สัญญา ศรีรัตนะ, ปรัศนี ทิพยโสถติ. แบบแผนการคลอดบุตรของหญิงไทยในรอบ 12 ปี (พ.ศ. 2533-2544). วารสารวิชาการสาธารณสุข 2546; 12: 1-18.
Rouse DJ, MacPherson C, Landon M, Varner MW, Leveno KJ, Moawad AH, et al. Blood transfusion and cesarean delivery. Obstet Gynecol 2006; 108: 891-7.
Imarengiaye CO, Ande AB. Risk factors for blood transfusion during c-section in a tertiary hospital in Nigeria. Med Sci Monit 2006;12: CR269-72.
Ozumba BC, Ezegwui HU. Blood transfusion and cesarean section in a developing country. Obstet Gynecol 2006; 26: 746-8.
Suchartwatnachai C, O-prasertsawut P, Chaturachinda K. Factor in intraoperative blood transfusion in cesarean section in Ramathibodi Hospital. J Med Assoc Thai 1990; 73 (Suppl 1): 61-4.
สุพัตรา ศิริโชติยะกุล. การตกเลือดก่อนคลอด. ใน: ธีระ ทองสง, ชเนนทร์ วนาภิรักษ์, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: พี บี ฟอเรน บุ๊คส เซ็นเตอร์; 2545. หน้า 215-32.
Rouault C, Gruenhagen J. Reorganization of blood ordering practices. Transfusion 1978; 18: 448-53.
Horowitz E, Yogev Y, Ben-Haroush A, Rabinerson D, Feldberg D, Kaplan B. Routine hemoglobin testing following an elective cesarean section: is it necessary? J Matern Fetal Neonatal Med 2003; 14: 223-5.
O-prasertsawat P, Phuapradit W, Chiewsilp P, Ratanasirivanich P, Phiromsawat S, Chaturachinda K. The effect of type and screen for preoperative blood requesting program in obstetrics and gynecology. J Med Assoc Thai 1998; 71 (Suppl 2): 74-7.