การล่วงละเมิดทางเพศในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

สุวิทย์ จิตภักดีบดินทร์

บทคัดย่อ

          ภูมิหลัง: อาชญากรรมทางเพศโดยเฉพาะการข่มขืนกระทำชำเรานับวันจะมีแนวโน้มสูงขึ้น และที่สำคัญมักเกิดกับสตรีที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรืออยู่ในวัยเรียน การทราบถึงลักษณะปัจจัยที่เสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดทางเพศ จะมีประโยชน์ในการวางแนวทางการป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศให้กับสตรีเหล่านั้น วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาถึงลักษณะปัจจัยเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียน ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ที่มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548 ถึง 30 กันยายน 2550 จำนวน 407 ราย และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา: มีผู้เสียหายที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 407 ราย มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา  373 ราย (ร้อยละ 91.7) ถูกข่มขืนกระทำชำเรา  324 ราย (ร้อยละ 79.6) อายุน้อยกว่า 18 ปี  โดย 179 ราย (ร้อยละ 44.0) อายุน้อยกว่า 15 ปี   296 ราย (ร้อยละ 72.7) กำลังศึกษาอยู่ 326 ราย (ร้อยละ 80.1) เกิดเหตุช่วงเวลากลางคืน 348 คดี (ร้อยละ 85.5) มีผู้ก่อเหตุเพียงคนเดียว  ผู้ก่อเหตุ 62 ราย (ร้อยละ 15.2) ที่ผู้เสียหายไม่รู้จัก 143 ราย (ร้อยละ 35.1) มีการดื่มสุราก่อนก่อเหตุ และ 184 คดี (ร้อยละ 45.2) เกิดเหตุในบ้านผู้ก่อเหตุ สรุป: คดีอาชญากรรมทางเพศในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นคดีข่มขืนกระทำชำเรา ผู้เสียหายส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 18 ปี และกำลังศึกษาอยู่ เหตุการณ์มักเกิดช่วงเวลากลางคืน ผู้ก่อเหตุมักก่อเหตุคนเดียว และเป็นคนที่ผู้เสียหายรู้จัก สถานที่เกิดเหตุมักเกิดที่บ้านของผู้ก่อเหตุ ประมาณหนึ่งในสามของผู้ก่อเหตุมักมีการดื่มสุราก่อนก่อเหตุ

Article Details

How to Cite
จิตภักดีบดินทร์ ส. (2024). การล่วงละเมิดทางเพศในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 32(2), S7-S12. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1907
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Baram DA. Sexuality and sexual function. In: Berek JS, Adashi EY, Hillard PA, editors. Novak’s Gynecology. 12th ed. Baltimore: Williams & Wilkins; 1996. p. 279-98.

Dunn SF, Gilchrist VJ. Sexual assault. Prim Care 1993; 20: 359-73.

Sorenson SB, Stein JA, Siegel JM, Golding JM, Burnam MA. The prevalence of adult sexual assault. The Los Angeles Epidemiologic Catchment Area Project. Am J Epidemiol 1987; 126: 1154-64.

ชัยวัฒน์ วงศ์อาษา. Rape. วารสารสุขศึกษา 2530; 10: 50-60.

Walch AG, Broadhead WE. Prevalence of lifetime sexual victimization among female patients. J Fam Pract 1992; 35: 511-6.

Burgess AW, Holmstrom LL. Rape trauma syndrome. Am J Psychiatry 1974; 131: 981-6.

Ononge S, Wandabwa J, Kiondo P, Busingye R. Clinical presentation and management of alleged sexually assaulted females at Mulago hospital, Kampala, Uganda. Afr Health Sci 2005; 5: 50-4.

Mejlvang P, Boujida V. Sexual assaults in Greenland: characteristics of police reported rapes and attempted rapes. Int J Circumpolar Health 2007; 66: 257-63.