ลักษณะทางคลินิกของสตรีที่ผล Pap Smear เป็น Atypical Squamous Cell of Undetermined Significance (ASCUS) และ Low Grade Squamous Cell Intraepithelial Lesion (LSIL) ที่เสี่ยงต่อการเกิดรอยโรคเท่ากับหรือรุนแรงกว่า High Grade Squamous Cell Intraepithelial Lesion

Main Article Content

ศรีวรรณ เสมาชัย

บทคัดย่อ

          ภูมิหลัง: มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีไทย การตรวจ Pap smear เป็นการคัดกรองที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่การดูแลสตรีในกลุ่ม atypical squamous cell of undetermined significance (ASCUS) และ low grade squamous cell intraepithelial lesion (LSIL) ยังมีหลากหลายและไม่ชัดเจน บางรายได้รับการดูแลมากไปในขณะที่บางรายน้อยไป การตรวจหาการติดเชื้อ human papillomavirus (HPV) มีบทบาทมากในต่างประเทศ แต่ค่าใช้จ่ายยังเป็นปัญหาสำหรับประเทศไทย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาลักษณะทางคลินิกของสตรีที่เสี่ยงต่อการเกิดรอยโรค high grade squamous cell intraepithelial lesion (HSIL) ในกลุ่ม  Pap smear  ที่เป็น  ASCUS  และ  LSIL   ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบ historical cohort study สตรีกลุ่ม ASCUS และ LSIL 298 คน ที่มารับการตัดชิ้นเนื้อภายใต้กล้อง colposcope จะได้รับการซักประวัติบันทึกไว้ ผลทางพยาธิวิทยาจะได้รับการบันทึกไว้ สตรีแต่ละรายจะได้รับการรักษาตามความรุนแรงของพยาธิสภาพ และติดตามการรักษาเป็นเวลา 2 ปี ข้อมูลที่ได้จะนำมาคำนวณทางสถิติ ผลการศึกษา: กลุ่ม Pap smear เป็น ASCUS 120 ราย พบมีผลทางพยาธิวิทยาเท่ากับหรือมากกว่า HSIL16 คน (ร้อยละ 13.3) พิสัยของอายุเท่ากับ 29-66 ปี ในกลุ่มนี้ทุกตัวแปรที่ศึกษาคือ อายุ จำนวนครั้งการคลอด อายุที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ระยะเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ ไม่มีความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่ม Pap smear เป็น LSIL178 ราย มีผลทางพยาธิวิทยาเป็น HSIL 22 ราย (ร้อยละ 12.4) อายุน้อยที่สุดในกลุ่มนี้คือ 22 ปี ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือจำนวนคู่นอนที่มากกว่า 1 คน  (OR= 4.30, 95% CI 1.54-12.1, P < 0.001) เมื่อนำปัจจัยเสี่ยงคู่นอนมาจับคู่กับปัจจัยเสี่ยง HISL อื่นด้วยวิธี  logistic regression พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ พบสตรีที่คู่นอน 1 คน และมีบุตรน้อยกว่า 3 คน ไม่มีรายใดเป็น HSIL เลย  สรุป: กลุ่ม ASCUS และ LSIL มีผลทางพยาธิวิทยาเป็น HSIL ร้อยละ 13.3 และ 12.4 ตามลำดับ อายุน้อยที่สุดของทั้งสองกลุ่มคือ 29 และ 22 ปี กลุ่ม ASCUS ไม่มีลักษณะทางคลินิกที่ช่วยพยากรณ์ความเสี่ยงที่จะเป็น HSIL แต่กลุ่ม LSIL จำนวนคู่นอนที่มากกว่า 1 คน เพิ่มความเสี่ยงที่จะพบ HSIL อย่างมีนัยสำคัญ (OR= 4.30, 95% CI 1.54-12.1, P < 0.001)

Article Details

How to Cite
เสมาชัย ศ. . (2024). ลักษณะทางคลินิกของสตรีที่ผล Pap Smear เป็น Atypical Squamous Cell of Undetermined Significance (ASCUS) และ Low Grade Squamous Cell Intraepithelial Lesion (LSIL) ที่เสี่ยงต่อการเกิดรอยโรคเท่ากับหรือรุนแรงกว่า High Grade Squamous Cell Intraepithelial Lesion. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 32(2), S13-S20. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1912
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Parkin DM. Global cancer statistics in the year 2000. Lancet Oncol 2001; 2: 533-43.

จตุพล ศรีสมบูรณ์. An update on HPV epidemiology, testing+vaccine. ใน: จตุพล ศรีสมบูรณ์, ประภาพร สู่ประเสริฐ, บรรณาธิการ. Cervical cancer prevention and treatment. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: จรัสธุรกิจ; 2551. หน้า 1-28.

Smith JS, Lindsay L, Hoots B, Keys J, Franceschi S, Winer R, et al. Human papilloma virus type distribution in invasive cervical cancer and high-grade cervical lesions: a meta-analysis update. Int J Cancer 2007; 121: 621-32.

Mitchell MF, Tortolero-Luna G, Wright T, Sarkar A, Richards-Kortum R, Hong WK, et al. Cervical human papillomavirus infection and intraepithelial neoplasia: a review. J Natl Cancer Inst Monogr 1996; (21): 17-25.

Insinga RP, Glass AG, Rush BB. Diagnoses and outcomes in cervical cancer screening: a population-based study. Am J Obstet Gynecol 2004; 191: 105-13.

Wright TC Jr, Cox JT, Massad LS, Twiggs LB, Wilkinson EJ; 2001 ASCCP-sponsored Consensus Conference. 2001 Consensus Guidelines for the management of women with

cervical cytological abnormalities. JAMA 2002; 287: 2120-9.

ASCUS-LSIL Traige Study (ALTS) Group. Results of a randomized trial on the management of cytology interpretations of atypical squamous cells of undetermined significance. Am J Obstet Gynecol 2003; 188: 1383-92.

ศรีวรรณ เสมาชัย. การเปรียบเทียบผลการตัดชิ้นเนื้อจาก ปากมดลูกภายใต้กล้อง colposcope กับผลชิ้นเนื้อจากการตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยในการวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2543; 24: 13-20.

Bairati I, Morin C, Bouchard C, Fortier M, Roy M, Moore L, et al. Predictors of concomitant cervical intraepithelial neoplasia in women with newly diagnosed atypical squamous cells of undetermined significance. J Lower Genital Tract Dis 1999; 3: 239-44.

Boardman LA, Adams AE, Peipert JF. Clinical predictors of cervical intraepithelial neoplasia 2 or greater in women with mildly abnormal Pap smears. J Reprod Med 2002;

: 891-6.

Massad LS, Markwell S. Using patient history to predict high-grade cervical dysplasia and cancer in women with borderline cervical cytologic results. J Low Genit Tract Dis 2004; 8: 207-11.

Sideri M, Spinaci L, Schettino F, Mezzetti M, Robertson C, Spolti N, et al. Risk factors for high-grade cervical intraepithelial neoplasia in patients with mild cytological dyskaryosis: human papillomavirus testing versus multivariate tree analysis of demographic data. Cancer Epidemiol Biomarkers Prev 1998; 7: 237-41.

Luesley D, Blomfield P, Dunn J, Shafi M, Chenoy R, Buxton J. Cigarette smoking and histological outcome in women with mildly dyskaryotic cervical smears. Br J Obstet Gynaecol 1994; 101: 49-52.

Thomas DB, Ray RM, Kuypers J, Kiviat N, Koetsawang A, Ashley RL, et al. Human papillomaviruses and cervical cancer in Bangkok. III. The role of husbands and commercial sex workers. Am J Epidemiol 2001; 153: 740-8.

Confortini M, Carozzi F, Dalla Palma P, Ghiringhello B, Parisio F, Prandi S, et al. Interlaboratory reproducibility of atypical squamous cells of undetermined significance report: a national survey. Cytopathology 2003; 14: 263-8.

Selvaggi SM. Implications of low diagnostic reproducibility of cervical cytologic and histologic diagnoses. JAMA 2001; 285: 1506-8.

O’Sullivan JP, Ismail SM, Barnes WS, Deery AR, Gradwell E, Harvey JA, et al. Inter- and intra-observer variation in the reporting of cervical smears: specialist cytopathologists versus histopathologists. Cytopathology 1996; 7: 78-89.