ระบาดวิทยาของผู้ป่วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น ที่ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: ภาวะเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนต้น เป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคระบบทางเดินอาหารโดยอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระบาดวิทยา ของผู้ป่วยเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้นโดยรายงานลักษณะผู้ป่วย และผลการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาย้อนหลังข้อมูลผู้ป่วยในของภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ที่ได้รับการส่องกล้องตรวจ ด้วยข้อบ่งชี้เลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้น ตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2550 ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 942 คน ที่รับไว้ในโรงพยาบาลด้วยเรื่องเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้น และได้รับการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุมากกว่า 50 ปี โดยอายุเฉลี่ย 57.4+15 ปี (mean+SD) เพศชายมากกว่าหญิงในอัตราส่วน 2:1 ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาด้วยอาการอาเจียนเป็นเลือดและถ่ายดำ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่สำคัญคือการดื่มสุรา การใช้ยาต้านการอักเสบ หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน ร้อยละ 44.6, 12.2 และ 10.8 ตามลำดับ แรกรับผู้ป่วยส่วนใหญ่มีปัญหาโลหิตจางโดยระดับความเข้มข้นของเลือดช่วงแรกรับเท่ากับ 23.5+ 8.1 % โดยสาเหตุที่พบบ่อย 3 อันดับแรกจากการส่องกล้องตรวจ คือ แผลในกระเพาะอาหาร เส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร และแผลในลำไส้เล็ก ร้อยละ 35.4, 19.7 และ 13.5 ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นมีการติดเชื้อ Helicobacter pylori ร้อยละ 40.0 ในขณะที่แผลในกระเพาะอาหารตรวจพบการติดเชื้อเพียงร้อยละ 28.6 สรุป: การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นเป็นการตรวจที่สำคัญในการหาสาเหตุของผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Laine L. Acute and chronic gastrointestinal bleeding. In: Feldman M, Scharschmidt BF, Sleisenger MH, editors. Sleisenger & Fordtran’s gastrointestinal and liver disease, pathophysiology/diagnosis/management. 6th ed. Philadelphia: WB Saunders; 1998. p. 198-219.
Laine L. Gastrointestinal bleeding. In: Braunwald E, Hauser SL, Fauci AS, Longo DL, Kasper DL, Jameson JL, editors. Harrison’s principle of internal medicine. 15th ed. New York: McGraw-Hill; 2001. p. 252-4.
Elta GH. Approach to the patient with gross gastrointestinal bleeding. In: Yamada T, Alpers DH, Laine L, Owyang C, Powell DW, editors. Textbook of gastroenterology. 3rd ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 1999. p. 714-43.
Jiranek GC, Kozarek RA. A cost-effective approach to the patient with peptic ulcer bleeding. Surg Clin North Am 1996; 76: 83-103.
Lee JG, Turnipseed S, Romano PS, Vigil H, Azari R, Melnikoff N, et al. Endoscopybased triage significantly reduces hospitalization rates and costs of treating upper GI bleeding: a randomized controlled trial. Gastrointest Endosc 1999; 50: 755-61.
Zuccaro G Jr. Bleeding peptic ulcer: pathogenesis and endoscopic therapy. Gastroenterol Clin North Am 1993; 22: 737-50.
พิศาล ไม้เรียง. Upper GI bleeding; guildeline for management. วารสารอายุรศาสตร์อีสาน 2547; 3: 2-21.
ชวนพิศ ธรรมาณิชานนท์, สุนทร ไทยสมัคร. การตกเลือด ในระบบทางเดินอาหารส่วนบนในรพ.มหารา ชนครราชสีมา. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2527; 8: 109-20.
สมชาย เหลืองจารุ, ชวนพิศ สุทธินนท์, สุนทร ชินประสาทศักดิ์, สุนทร ไทยสมัคร. ภาวะเลือดออกในทาง
เดินอาหารส่วนบนจากการส่องตรวจด้วยกล้อง 972 ราย ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ปี พ.ศ. 2540-2541. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2545; 26: 91-7.
Chinprasatsak S, Wilairatana P, Visalwadi P, Sanguansri P, Batara L, Ketyaporn D, et al. Helicobacter pylori prevalence in northeastern Thailand. Southeast Asain J Trop Med Public Health 1993; 24: 734-41.