การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของผู้รับบริการที่คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อลูกกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน โดยปฏิบัติตามบันได 10 ขั้น และเปิดบริการคลินิกนมแม่ วัตถุประสงค์: เพื่อให้ทราบอัตราและปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และประเมินผลการดำเนินงานของคลินิกนมแม่ โรง--พยาบาลมหาราชนครราชสีมา วิธีการศึกษา: เป็นแบบพรรณนาไปข้างหน้าในมารดาหลังคลอดที่เข้ารับบริการที่คลินิกนมแม่ ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549 ถึง 31 กรกฎาคม 2550 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษา: พบว่ามารดา 2,882 คน ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 17-35 ปี อาชีพแม่บ้านและรับจ้างร้อยละ 52.1 และ 25.3 ตามลำดับ มีการศึกษาระดับมัธยมต้นร้อยละ 37.8 การติดตามในระยะ 6 เดือน พบว่า ขาดการติดตามร้อยละ 92.9 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน เท่ากับร้อยละ 5.0 แต่พบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน ในมารดาหลังคลอดที่มาติดตามต่อเนื่องจนครบ 6 เดือน จำนวน 206 คน สูงถึงร้อยละ 69.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบว่า อาชีพ และปัญหาเต้านมและหัวนมเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัญหาของเต้านมและหัวนมพบร้อยละ 32.0 ส่วนมากเป็นปัญหาหัวนมแตกและหัวนมสั้น สรุป: อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างเดียวนาน 6 เดือน ของผู้มารับบริการที่คลินิกนมแม่ เท่ากับร้อยละ 5.0 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อาชีพ และปัญหาเต้านมและหัวนม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
นิพรรณพร วรมงคล. การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย. ใน: วิบูลพรรณ ฐิตะดิลก, มานี ปิยะอนันต์, ยุพยง แห่งเชาวนิช, บรรณาธิการ. คู่มือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับแพทย์ประจำบ้าน สาขาสูตินรีเวชวิทยา. พิมพค์ รั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. 2548. หน้า 141-5.
โยธี ทองเป็นใหญ่. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในจังหวัดนครราชสีมา. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
; 3: 223-34.
กองโภชนาการ. การศึกษาสถานการณ์การให้อาหารเด็กอายุ 0-24 เดือน. นนทบุรี; กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2539.
Durongdej S. Evaluation of the sustainability of the babyfriendly hospital initiatives and its impact upon breast feeding practice in urban communities. 1997.
กาญจนา เอกปัชฌาย์, ศรินยา พงศ์พันธ์ุ. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวครบ 4 เดือน ในจังหวัดแพร่. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมกระทรวงสาธารณสุข 2540; 20: 96-104.
จินตนา พัฒนพงศ์ธร, ศันสนีย์ เจตน์ประยุกต์. อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 4 เดือน. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2547.
ไสววรรณ ไผ่ประเสริฐ. การศึกษาประสิทธิผลของการบูรณาการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข 2548; 28: 68-82.
ศิราภรณ์ สวัสดิวร, กุสุมา ชูศิลป์, กรรณิการ์ บางสายน้อย. คุณค่าของน้ำนมแม่ต่อลูก. ใน: วิบูลพรรณ ฐิตะดิลก, มานี ปิยะอนันต์, ยุพยง แห่งเชาวนิช, บรรณาธิการ. คู่มือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับแพทย์ประจำบ้าน สาขาสูตินรีเวชวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2548. หน้า 15-34.
ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา. โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมกระทรวงสาธารณสุข 2550; 30: 12-30.
สุนทรี รัตนชูเอก. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่โรงพยาบาล เบตง. วารสารกรมการแพทย์ 2538; 20: 196-204.
Hall RT, Mercer AM, Teasley SL, McPherson DM, Simon SD, Santos SR, et al. A breast-feeding assessment score to evaluate the risk for cessation of breast feeding by 7 to 10 days of age. J Pediatr 2002; 141: 659-64.