การสำรวจทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจ และวิธีการปฏิบัติของวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ในการประเมินระดับความปวด และให้การระงับปวดแก่ผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น

Main Article Content

ธิดารัตน์ อริยานุชิตกุล
นวลหงษ์ เพ็ชรดี
นวลหงษ์ เพ็ชรดี

บทคัดย่อ

          ภูมิหลัง: อาการปวดหลังผ่าตัดเป็นปัญหาสำคัญที่พบในห้องพักฟื้น แต่การประเมินและการรักษาอาการปวดยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน การศึกษานี้เป็นการศึกษาทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจ รวมถึงวิธีการปฏิบัติในการดูแลเรื่องความปวดของวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนางานระงับปวดหลังผ่าตัดของโรงพยาบาลต่อไป วัสดุและวิธีการ: ทำการสำรวจข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับวิสัญญีพยาบาลในข้อมูลพื้นฐานของตนเอง ทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจ และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการระงับปวดโดยแสดงผลในรูปร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา: วิสัญญีพยาบาลทั้งหมด 34 คน ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิสัญญีวิทยามานานกว่า 15 ปี (ร้อยละ 52.9) ส่วนใหญ่มีระยะเวลาปฏิบัติงานในห้องพักฟื้นเฉลี่ย 1 วันต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 64.7) วิสัญญีพยาบาลส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อการระงับปวด (ร้อยละ 88.2-97.1) มีความรู้และเข้าใจหลักการเกี่ยวกับการระงับปวดเป็นอย่างดีเกินกว่าร้อยละ 60.0 ขณะที่เชื่อว่าสามารถดูแลเรื่องความปวดได้เพียงพอเพียงร้อยละ 32.4 วิสัญญีพยาบาลทุกคนเชื่อว่าการมีแนวทางการประเมินความปวด และการระงับปวดที่ชัดเจนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระงับปวดได้  มีการประเมินระดับความปวดในห้องพักฟื้นด้วย verbal rating scale (VRS) และ numeric rating scale (NRS) เป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.2  และบันทึกระดับความปวดร้อยละ 44.1-50.0  ปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการประเมินระดับความปวดและการให้การระงับปวดได้แก่ ผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัวเต็มที่ (ร้อยละ 91.2)  ปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอ (ร้อยละ67.6)  วิสัญญีพยาบาลทุกคนคิดว่าควรมีแนวทางในการประเมินระดับความปวด และแนวทางในการให้การระงับปวดที่ชัดเจน และควรมีการประสานงานกับหอผู้ป่วยในการประเมิน และให้การระงับปวดที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง สรุป: วิสัญญีพยาบาลมีทัศนคติที่ดีต่องานระงับปวด แม้ว่าขณะนี้งานระงับปวดในห้องพักฟื้นจะยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนแต่บุคลากรทุกคนก็พร้อมที่จะมีการพัฒนางานด้านนี้ และเชื่อว่าการกำหนดแนวทางในการประเมินระดับความปวด และการให้การระงับปวดที่ชัดเจนจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการระงับปวดที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
อริยานุชิตกุล ธ., เพ็ชรดี น., & เพ็ชรดี น. (2024). การสำรวจทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจ และวิธีการปฏิบัติของวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ในการประเมินระดับความปวด และให้การระงับปวดแก่ผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 32(2), S54-S61. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1917
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Ballantyne JC, Carr DB, deFerranti S, Suarez T, Lau J, Chalmers TC, et al. The comperative effects of postoperative analgesic therapies on pulmonary outcome: cumulative meta-analyses of randomized, controlled trials. Anesth Analg 1998; 86: 598-612.

American Society of Anesthesiologists. Practice guidelines for acute pain management in the perioperative setting. A report by the American Society of Anesthesiologists Task Force on Pain Management, Acute Pain Section. Anesthesiology 1995; 82:1071-81.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. มาตรฐานโรงพยาบาล: แนวทางพัฒนาคุณภาพโดยมุ่งหวังผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร: ดีไซร์, 2541. ANE-3.

พิกุล มะลาไสย์, รัดดา กำหอม, กชกร พลาชีวะ, วิมลรัตน์ กฤษณะประกรกิจ, สมบูรณ์ เทียนทอง. ปัจจัยที เกี่ยวข้อง กับการที่ผู้ป่วยในห้องพักฟื้นไม่ได้รับการดูแลเรื่องความปวดตามแนวทางที่กำหนดขึ้น มุมมองจากผู้ให้บริการ. วิสัญญีสาร 2549; 32: 82-6.

Webb MR, Kennedy MG, Behavioral responses and selfreported pain in postoperative patients. J Post Anesth Nurs 1994; 9: 91-5.

Schug SA. The acute pain services at Auckland Hospital: Guidelines for pain management modalities. Auckland: Auckland Hospital; 1999. p. 57.

White P. Pain measurement. In: Warfield CA, editor. Principles and practice of pain management. New York: McGraw-Hill; 1993. p. 27-41.

Puntillo KA, Wilkie DJ. Assessment of pain in the critically ill. Maryland: Aspen Publishers; 1991. p. 45-64.

Chapman CR, Syrjala KL. Measurement of pain. In: Loeser JD, editor. Bonica’s management of pain. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2001. p. 310-28.

ยุวดี หันตุลา, พนารัตน์ รัตนสุวรรณ ยิ้มแย้ม, สมบูรณ์ เทียนทอง, เดือนเพ็ญ ห่อรัตนาเรือง, รัดดา กำหอม. การตรวจสอบคุณภาพการบริการระงับปวดในห้องพักฟื้นตามแนวทางการระงับปวดที่ปรับปรุงใหม่ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. วิสัญญีสาร 2548; 31: 144-52.

ศศิวิมล พงศ์จรรยากุล, อักษร สาธิตการมณี, พัชรา รักพงษ์, ไกรวาส แจ้งเสม, วิมลรัตน์ กฤษณประกรกิจ, สมบูรณ์ เทียนทอง. การสอนอย่างมีแบบแผนสามารถเพิ่มอัตราความสำเร็จของการประเมินความปวดในห้องพักฟื้นได้หรือไม่. วิสัญญีสาร 2547; 30: 106-12

Melzack R, Katz J. Pain measurement in person in pain. In: Wall DP, Melzack R, editors. Textbook of pain, 4th ed. London: Harcourt; 1999. p. 409-26.

วิมลลักษณ์ สนั่นศิลป์, วิภาวี มหรรทัศนพงศ์, พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์. การใช้มอร์ฟีนในห้องพักฟื้นเพื่อระงับความปวดหลังการผ่าตัด. วิสัญญีสาร 2540; 23: 82-6.

อุมาภรณ์ พงษ์พันธ์ุ. การศึกษาการได้ยาระงับปวดตามแนวทางการระงับปวดในห้องพักฟื้นโรงพยาบาลลำปาง. วิสัญญีสาร 2550; 33: 176-82.

Aubrun F, Monsel S, Langeron O, Coriat P, Riou B. Postoperative titration of intravenous morphine. Eur J Anaesthesiol 2001; 18: 159-65.