โรคชักในหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษ ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา: รายงานผู้ป่วย 6 ปี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: โรคชักในหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิต 3 อันดับแรกของหญิงตั้งครรภ์ในประเทศไทย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์โรคชักในหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นแบบพรรณนาศึกษาข้อมูลย้อนหลังในหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 ถึง 30 กันยายน 2550 รวมระยะเวลา 6 ปี แล้วนำผลมาวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการศึกษา: พบอุบัติการณ์โรคชักในหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษ 1:1,182 ของการคลอด พบบ่อยในช่วงอายุ 20-35 ปี เป็นครรภ์แรก อายุครรภ์ 28-37 สัปดาห์ เป็นการชักก่อนรับไว้ในโรงพยาบาลร้อยละ 88.1 ต้องผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องร้อยละ 86.0 มีค่า Apgar score ที่ 5 นาทีมากกว่า 7 ร้อยละ 75.6 พบภาวะ hemolysis, elevated liver enzyme และ low platelet count ร่วมกัน (HELLP syndrome) ร้อยละ 4.4 และมารดาเสียชีวิตร้อยละ 2.2 สรุป: อุบัติการณ์โรคชักในหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาพบได้ค่อนข้างสูง การให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะที่มีปัจจัยเสี่ยงในการสังเกตและเฝ้าระวังอาการนำที่จะทำให้ชักอย่างจริงจัง น่าจะช่วยลดอุบัติการณ์และลดความรุนแรงจากการชักลงได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วิทยา ถิฐาพันธ์. ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์. ใน: วิทยา ถิฐาพันธ์, วิบูลพรรณ ฐิตะดิลก, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ยูเนียนครีเอชัน; 2544. หน้า 295-318.
กำแหง จาตุรจินดา, วินิต พัวประดิษฐ์. ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์. ใน: กำแหง จาตุรจินดา, สมพล พงษ์ไทย, สมศักดิ์ ตั้งตระกูล, สมาน ภิรมย์สวัสดิ์, สุวชัย อินทรประเสริฐ, อร่าม โรจนสกุล, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์ รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เมดิคัลมีเดีย; 2531. หน้า 137-56.
สุพัตรา ศิริโชติยะตระกูล, ธีระ ทองสง. ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์. ใน: ธีระ ทองสง, ชเนนทร์ วนาภิรักษ์, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: พี. บี. ฟอเรน บุ๊คส เซนเตอร์; 2541. หน้า 261-76.
Efetie ER, Okafor UV. Maternal outcome in eclamptic patients in Abuja, Nigeria: a 5 year review. Niger J Clin Pract 2007; 10: 309-13.
เยื้อน ตันนิรันดร, ไพโรจน์ วิฑูรพาณิชย์. โรคชักแท้งครรภ์ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์: ประสบการณ์ 8 ปี. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2530; 31: 871-82.
Onuh SO, Aisien AO. Maternal and fetal outcome in eclamptic patients in Benin City, Nigeria. J Obstet Gynaecol 2004; 24: 765-8.
Aali BS, Ghafoorian J, Mohamad-Alizadeh S. Severe preeclampsia and eclampsia in Kerman, Iran: complications and outcomes. Med Sci Monit 2004; 10: CR163-7.