การบาดเจ็บต่อลำไส้เล็กส่วนต้น ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา: รายงานผู้ป่วย 24 ราย

Main Article Content

พัชร ฮอหรินทร์
ชัยวัฒน์ ปาลวัฒน์วิไชย
สมบูรณ์ หอมศักดิ์มงคล
ธนณัท สุเมธเชิงปรัชญา
ทวีชัย วิษณุโยธิน
บวร เกียรติมงคล

บทคัดย่อ

          ภูมิหลัง: การบาดเจ็บต่อลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ถือเป็นการบาดเจ็บในช่องท้องที่สำคัญ เนื่องจากมีอัตราการตาย และการเกิดภาวะแทรกซ้อนค่อนข้างสูง การวินิจฉัยการบาดเจ็บที่ duodenum  นั้นทำได้ยาก เนื่องจากอาการและอาการแสดงไม่ชัดเจนในขณะที่อุบัติการณ์ของการบาดเจ็บพบได้ไม่บ่อยแต่เป็นภาวะที่ยุ่งยากและมีปัญหามาก วัตถุประสงค์:  เพื่อวิเคราะห์ผลการรักษาการบาดเจ็บต่อ  duodenum  ที่ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลังผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บต่อ  duodenum  ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่ เดือนมกราคม 2548 ถึง ธันวาคม 2550 ในช่วงเวลาดังกล่าวพบ การบาดเจ็บจากการกระแทก 19 ราย  การบาดเจ็บจากการถูกแทงหรือจากถูกยิง 5 ราย  ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง 3 ราย ได้รับการผ่าตัดโดยการทำ primary repair 9 ราย  โดยการทำ pyloric exclusion and duodenal repair 7 ราย โดยการทำ triple ostomy 3 ราย  โดยการทำ complex surgery 2 ราย ผลการรักษา: ผู้ป่วยในรายงานนี้ 24 ราย  จำแนกเป็น duodenal injury grade I 3 ราย  grade II 10 ราย grade III  9 ราย  grade IV 1 ราย และ grade V 1 ราย ได้รับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา  พบผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ราย มีภาวะแทรกซ้อน เป็นการรั่วของ duodenum 3 ราย  intraabdominal collection 4 ราย surgical site infection 4 ราย gut obstruction 3 ราย และ sepsis 5 ราย ในผู้ป่วยที่เสียชีวิตและเกิดภาวะแทรกซ้อน พบในกลุ่มที่ได้รับการรักษาหลังจากเกิดอุบัติเหตุมากกว่า  24  ชั่วโมง  สรุป:  การบาดเจ็บต่อ  duodenum  มักจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด อัตราการตายและการเกิดภาวะแทรกซ้อนสัมพันธ์โดยตรงกับ grading การวินิจฉัย และการผ่าตัดที่ล่าช้า

Article Details

How to Cite
ฮอหรินทร์ พ., ปาลวัฒน์วิไชย ช., หอมศักดิ์มงคล ส., สุเมธเชิงปรัชญา ธ., วิษณุโยธิน ท., & เกียรติมงคล บ. (2024). การบาดเจ็บต่อลำไส้เล็กส่วนต้น ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา: รายงานผู้ป่วย 24 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 32(2), S66-S70. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1919
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Degiannis E, Boffard K. Duodenal injuries. Br J Surg 2000; 87: 1473-9.

Moore EE, Cogbill TH, Malangoni MA, Jurkovich GJ, Champion HR, Gennarelli TA, et al. Organ injury scaling, II: pancreas, duodenum, small bowel, colon, and rectum. J Trauma 1990; 30: 1427-9.

Corley RD, Norcross WJ, Shoemaker WC, Traumatic injuries to the duodenum: a report of 98 patients. Ann Surg 1975; 181: 92-8.

Asensio JA, Feliciano DV, Britt LD, Kerstein MD. Management of duodenal injuries. Curr Probl Surg 1993; 30: 1023-93.

McInnis WD, Aust JB, Cruz AB, Root HD. Traumatic injuries of the duodenum: a comparison of primary degrees closure and the jejunal patch. J Trauma 1975; 15: 847-53.

Stone HH, Fabian TC, Satiani B, Turkleson ML. Experiences in the management of pancreatic trauma. J Trauma 1981; 21: 257-62.

Jurkovich GJ, The duodenum and pancreas. In: Mattox KL, Faliciano DV, Moore EE, editors. Trauma. 4th ed. New York: McGraw-Hill; 2000. p. 735-62.

Asensio JA, Petrone P, Roldan G, Pak-art R, Salim A. Pancreatic and duodenal injuries. Complex and lethal. Scand J Surg 2002; 91: 81-6.

Degiannis E, Krawczykowski D, Velmahos GC, Levy RD, Souter I, Saadia R. Pyloric exclusion in severe penetrating injuries of the duodenum. World J Surg 1993; 17: 751-4.

Asensio JA, Demetriades D, Berne JD, Falabella A, Gomez H, Murray J, et al. A unified approach to the surgical exposure of pancreatic and duodenal injuries. Am J Surg 1997; 174: 54-60.

Velhamos GC, Kamel E, Chan LS, Hanpeter D, Asensio JA, Murray JA, et al. Complex repair for the management of duodenal injuries. Am Surg 1999; 10: 972-5.