ผลลัพธ์ของภาวะแท้งคุกคามในไตรมาสแรกซึ่งตัวอ่อนมีอัตราการเต้น ของหัวใจช้ากว่า 120 ครั้งต่อนาที ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

วีรพล กิตติพิบูลย์

บทคัดย่อ

          ภูมิหลัง: สูติแพทย์ต้องการหาวิธีที่ช่วยบอกผลลัพธ์ของภาวะแท้งคุกคามในไตรมาสแรกให้ได้แม่นยำ เพื่อช่วยในการวางแผนการรักษาและการพยากรณ์โรค การตรวจอัตราการเต้นหัวใจตัวอ่อนช่วยในการพยากรณ์ผลลัพธ์ของภาวะนี้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของภาวะแท้งคุกคามในไตรมาสแรก ซึ่งตัวอ่อนมีอัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 120 ครั้งต่อนาที  ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการศึกษาติดตามสตรีตั้งครรภ์ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะแท้งคุกคามในไตรมาสแรก ที่มารับการตรวจรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึง 30 กันยายน 2550 ได้รับการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางหน้าท้องและหรือทางช่องคลอด โดยบันทึกขนาดและรูปร่างของ gestational sac, yolk sac, ขนาด อายุครรภ์ การเคลื่อนไหว และอัตราการเต้นของหัวใจตัวอ่อน ความผิดปกติอื่น ๆ ในโพรงมดลูกและอุ้งเชิงกราน ผู้ป่วยทุกรายได้รับการติดตามการรักษาจนอายุครรภ์ครบ 20 สัปดาห์ ผลการศึกษา: สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคามในไตรมาสแรกซึ่งตัวอ่อนมีอัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 120 ครั้งต่อนาทีจำนวน 39 ราย มีอายุเฉลี่ย 25.6 ปี ส่วนใหญ่เป็นครรภ์หลังและไม่เคยแท้งบุตร จำนวนวันที่มีเลือดออกเฉลี่ย 2.2 วัน อายุครรภ์เฉลี่ย 8 สัปดาห์ 6 วัน  ทั้ง 39 ราย มีการแท้ง 34 ราย (ร้อยละ 87.2) ตั้งครรภ์ต่อเป็นปกติ 5 ราย (ร้อยละ 12.8) โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีอัตราการเต้นของหัวใจระหว่าง 90-119 ครั้งต่อนาที จำนวน 19 ราย มีการแท้ง 14 ราย (ร้อย 73.7) และกลุ่มที่มีอัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 90 ครั้งต่อนาที จำนวน 20 ราย ทุกรายแท้งหมด (ร้อยละ 100)  สรุป: ผลลัพธ์ของภาวะแท้งคุกคามในไตรมาสแรก ซึ่งตัวอ่อนมีอัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 120 ครั้งต่อนาที จำนวน 39 ราย แท้ง 34 ราย (ร้อยละ 87.2) กลุ่มที่อัตราการเต้นของหัวใจระหว่าง 90-119 ครั้งต่อนาที จำนวน 19 ราย มีการแท้ง 14 ราย (ร้อย 73.7) และกลุ่มที่มีอัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 90 ครั้งต่อนาที จำนวน 20 ราย ทุกรายแท้งหมด (ร้อยละ 100)

Article Details

How to Cite
กิตติพิบูลย์ ว. (2024). ผลลัพธ์ของภาวะแท้งคุกคามในไตรมาสแรกซึ่งตัวอ่อนมีอัตราการเต้น ของหัวใจช้ากว่า 120 ครั้งต่อนาที ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 32(2), S71-S77. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1921
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Stovall TG. Early pregnancy loss and ectopic pregnancy. In: Berk JS, editors. Berek & Novak’s Gynecology. 14th ed. Baltimore: Lippincott Williams & Wilkins; 2007. p. 601-35.

No author. Abortion. In: Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Gilstrap III LC, Wenstrom KD, editors. Williams Obstetrics. 22nd ed. New York: McGraw-Hill; 2005. p. 231-51.

Sawyer E, Jurkovic D, Ultrasonography in the diagnosis and management of abnormal early pregnancy. Clin Obstet Gynecol 2007; 50: 31-54.

วีรพล กิตติพิบูลย์. ผลการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงในสตรีที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นการแท้งคุกคามจากลักษณะทางคลินิก ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2543; 24: 61-8.

Mantoni M. Ultrasound signs in threatened abortion and their prognostic significance. Obstet Gynecol 1985; 65: 471-5.

Tongsong T, Srisomboon J, Polsrisuthikul Y. Outcome of pregnancies with first trimester threatened abortion: a prospective study. Thai J Obstet Gynecol 1995; 7: 1-7.

Tannirandorn Y, Sangsawang S, Manotaya S, Uerpairojkit B, Samritpradit P, Charoenvidhya D. Fetal loss in threatened abortion after embryonic/fetal heart activity. Int J Gynaecol Obstet 2003; 81: 263-6.

Doubilet PM, Benson CB. Embryonic heart rate in early first trimester: what rate is normal? J Ultrasound Med 1995; 14: 431-4.

Stefos TI, Lolis DE, Sotiriadis AJ, Ziakas GV. Embryonic heart rate in early pregnancy. J Clin Ultrasound 1998; 26: 33-6.

Tannirandorn Y, Manotaya S, Uerpairojkit B, Tanawattanacharoen S, Wacharaprechanont T, Charoenvidhya D. Reference intervals for first trimester embryonic/fetal heart rate in a Thai population. J Obstet Gynaecol Res 2000; 26: 367-72.

Hanprasertpong T, Phupong V. First trimester embryonic/ fetal heart rate in normal pregnant women. Arch Gynecol Obstet 2006; 274: 257-60.

Benson CB, Doubilet PM. Slow embryonic heart rate in early first trimester: indicator of poor pregnancy outcome. Radiology 1994; 192: 343-4.

Chittacharoen A, Herabutya Y. Slow fetal heart rate may predict pregnancy outcome in first-trimester threatened abortion. Fertil Steril 2004; 82: 227-9.

Doubilet PM, Benson CB. Outcome of first-trimester pregnancies with slow embryonic heart rate at 6-7 weeks gestation and normal heart rate by 8 weeks at US. Radiology 2005; 236: 643-6.