โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อหาความชุกของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ระหว่างสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ชนิด A1 และ A2 ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง ที่กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กลุ่มศึกษาคือสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2547 ถึง 30 กันยายน 2550 โดยสตรีตั้งครรภ์ทั้งหมดได้รับการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางที่ใช้ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ทบทวนเวชระเบียนทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน และเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของกลุ่มศึกษา ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลเกี่ยวกับการฝากครรภ์ ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ผลการตรวจคัดกรอง การวินิจฉัย การคลอด และภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารก นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการศึกษา: สตรีตั้งครรภ์ที่มาคลอดทั้งหมด 24,915 ราย พบสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จำนวน 151 ราย คิดเป็นค่าความชุกโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ร้อยละ 0.61 ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยที่สุดในสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ ภาวะอ้วน 112 ราย (ร้อยละ 74.2) เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ชนิด A1 68 ราย (ร้อยละ 45.0) และชนิด A2 83 ราย (ร้อยละ 55.0) ภาวะแทรกซ้อนในมารดาที่พบบ่อยคือ ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ 36 ราย (ร้อยละ 23.8) ส่วนภาวะแทรกซ้อนของทารกแรกเกิด พบภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อยที่สุด คือ 27 ราย (ร้อยละ 17.9) วิธีการคลอดที่พบบ่อยที่สุดคือ การผ่าตัดคลอด 103 ราย (ร้อยละ 68.2) เป็นการคลอดก่อนครบกำหนด 33 ราย (ร้อยละ 21.9) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ชนิด A1 และ A2 ในด้าน วิธีคลอด ภาวะแทรกซ้อนของมารดา และภาวะแทรกซ้อนของทารก สรุป: ความชุกของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เท่ากับร้อยละ 0.61 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ ภาวะอ้วน อายุมารดามากกว่าหรือเท่ากับ 35 ปี และภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ หรือเคยมีความดันโลหิตสูงมาก่อน ไม่พบความแตกต่างผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ระหว่างสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ชนิด A1 และ A2
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
No author. Diabetes. In: Cunningham FG, Gant NF, Leveno KJ, Gilstrap LC III, Hauth JC, Wenstrom KD. Williams Obstetrics. 21st ed. New York: McGraw-Hill; 2001. p. 1359-82.
Adams KM, Li H, Nelson RL, Ogburn PL Jr, Danilenko-Dixon DR. Sequelae of unrecognized gestational diabetes. Am J Obstet Gynecol 1998; 178: 1321-32.
Bartha JL, Martinez-Del-Fresno P, Comino-Delgado R. Gestational diabetese mellitus diagnosed during early pregnancy. Am J Obstet Gynecol 2000; 182: 346-50.
Kjos SL, Buchanan TA. Gestational diabetese mellitus. N Engl J Med 1999; 341: 1749-56.
Casey BM, Lucas MJ, Mcintire DD, Leveno KJ. Pregnancy outcomes in women with gestational diabetes compared with the general obstetric population. Obstet Gynecol 1997; 90: 869 -73.
O’Sullivan JB. Diabetes mellitus after GDM. Diabetes 1991; 40 (Suppl 2): 131-5.
American College of Obstetricians and Gynecologists Committee on Practice Bulletins-Obstetrics. ACOG Practice Bulletin. Clinical management guidelines for obstetricians-gynecologists. Number 30, September, 2001. Gestational diabetes. Obstet Gynecol 2001; 98: 525-38.
Expert Committee on the Diagnosis and Classification of Diabetes Mellitus. Report of the Expert Committee on the Diagnosis and Classification of Diabetes Mellitus. Diabetes Care 2000; 23 (Suppl l): S4-19.
Snidvonges W, Auamkul S, Manotai P. Screening test of gestational diabetese mellitus: a clinical experience. Chula Med J 1988; 32: 5-16.
Serirat S, Deerochanawong C, Sunthornthepvarakul T, Jinayon P. Gestational diabetes mellitus. J Med Assoc Thai 1992; 75: 315-9.
Chanprapaph P, Sutjarit C. Prevalence of gestational diabetes mellitus (GDM) in women screened by glucose challenge test (GCT) at Maharaj Nakhon Chiang Mai Hospital. J Med Assoc Thai 2004; 87: 1141-6.
Boriboonhirunsarn D, Talungjit P, Sunsaneevitayakul P, Sirisomboon R. Adverse pregnancy outcomes in gestational diabetes mellitus. J Med Assoc Thai 2006; 89 (Suppl 4): S23-8.
Keshavarz M, Cheung NW, Babaee GR, Moghadam HK, Ajami ME, Shariati M. Gestational diabetes in Iran: incidence, risk factors and pregnancy outcomes. Diabetes Res Clin Pract 2005; 69: 276-86.
El Mallah KO, Narchi H, Kulaylat NA, Shaban MS. Gestational and pre-gestational diabetes: comparison of maternal and fetal characteristics and outcome. Int J Gynecol Obstet 1997; 58: 203-9.
Taylor R, Lee C, Kyne-Grzebalski D, Marshall SM, Davison JM. Clinical outcomes of pregnancy in women with type 1 diabetes. Obstet Gynecol 2002; 99: 537-41.
Sugaya A, Sugiyama T, Nagata M, Toyoda N. Comparison of the validity of the criteria for gestational diabetes mellitus by WHO and by the Japan Society of Obstetrics and Gynecology by the outcomes of pregnancy. Diabetes Res Clin Pract 2000; 50: 57–63.
Pennison EH, Egerman RS. Perinatal outcomes in gestational diabetes: a comparison of criteria for diagnosis. Am J Obstet Gynecol 2001; 184: 1118-21.
Griffin ME, Coffey M, Johnson H, Scanlon P, Foley M, Stronge J, et al. Universal vs. risk factor-based screening for gestational diabetes mellitus: detection rates, gestation at diagnosis and outcome. Diabet Med 2000; 17: 26-32