การตั้งครรภ์นอกมดลูกในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราส่วนของการตั้งครรภ์นอกมดลูกต่อจำนวนการคลอดในโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังของผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกที่มาเข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ถึง 31 ธันวาคม 2549 จากเวชระเบียนผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผลการศึกษา: ช่วงเวลาที่ทำการศึกษามีสตรีตั้งครรภ์มาคลอดที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จำนวนทั้งสิ้น 41,018 ราย เป็นผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกที่มีผลการตรวจยืนยันทางพยาธิวิทยาทั้งหมด 526 ราย อัตราส่วนของการตั้งครรภ์นอกมดลูกเท่ากับ 12.8 ต่อจำนวนการคลอด 1,000 ราย หรือ 1 ต่อ 78 ของการคลอด ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 27.2 ปี ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 39.9) และมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา (ร้อยละ 93.9) อาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์มากที่สุดคือปวดท้องน้อย (ร้อยละ 85.0) ผู้ป่วยร้อยละ 27.0 มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ตรวจร่างกายพบภาวะช็อค ร้อยละ 15.6 ตรวจพบสิ่งผิดปกติจากคลื่นเสียงความถี่สูง ร้อยละ 96.0 ตำแหน่งการตั้งครรภ์นอกมดลูกที่พบมากที่สุดคือ ท่อนำไข่ ร้อยละ 99.6 ท่อนำไข่ส่วน ampulla พบมากที่สุด ร้อยละ 52.5 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 96.2) ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเปิดหน้าท้องทำ salpingectomy สรุป: การตั้งครรภ์นอกมดลูกเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญอย่างหนึ่งในสตรีตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และมีอัตราส่วนของการตั้งครรภ์นอกมดลูกเท่ากับ 1 ต่อ 78 ของการคลอด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Nederlof KP, Lawson HW, Saftlas AF, Atrash HK, Finch EL. Ectopic pregnancy surveillance, United States, 1970-1987. MMWR CDC Surviell Summ 1990; 39: 9-17.
Thorburn J, Philipson M, Lindblom B. Fertility after ectopic pregnancy in relation to background factors and surgical treatment. Fertil Steril 1988; 49:595-601.
Dorfman SF. Deaths from ectopic pregnancy, United States, 1979 to 1980. Obstet Gynecol 1983; 62: 334-8.
ธีระ ทองสง, จตุพล ศรีสมบูรณ์, อภิชาติ โอฬารรัตนชัย. ครรภ์นอกมดลูก. ใน: ธีระ ทองสง, จตุพล ศรีสมบูรณ์, อภิชาติ โอฬารรัตนชัย, บรรณาธิการ. นรีเวชวิทยา (ฉบับสอบบอร์ด), พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: พี.บี. ฟอเรน บุ๊คส์ เซนเตอร์; 2539. หน้า 209-18.
No author. Ectopic pregnancy. In: Cunningham FG, Macdonald PC, Gant NR, Leveno KJ, Gilstrap III LC, editors. William’s Obstetrics. 19th ed. Nowalk: Appleton & Lange; 1993. p. 691-715.
Storeide O, Veholmen M, Eide M, Bergsjo P, Sandvei R. The incidence of the ectopic pregnancy in Hordaland County, Norway 1976-1993. Acta Obstet Gynecol Scand 1997; 76: 345-9.
Alsuleiman SA, Grimes EM. Ectopic Pregnancy: a review of 147 cases. J Reprod Med 1982; 27: 101-6.
Breen JL. A 21 year study of 654 ectopic pregnancies. Am J Obstet Gynecol 1970; 106:1004-19.
Coste J, Job-Spira N, Fernandez H, Papiernik E, Spira A. Risk factors for ectopic pregnancy: a case-control study in France, with special focus on infectious factors. Am J Epidemiol 1991; 133: 839-49.
Brenner PF, Roy S, Mishell DR Jr. Ectopic pregnancy. A study of 300 consecutive surgically treated cases. JAMA 1980; 243: 673-6.