กระบวนการพัฒนารูปแบบการป้องกันและการเฝ้าระวังการเกิดแผลกดทับ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันและการเฝ้าระวังการเกิดแผลกดทับ ของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาใน 28 หอผู้ป่วย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2546 ถึง กันยายน 2550 เก็บข้อมูลด้วย เครื่องมือสำหรับเฝ้าระวังการเกิดแผลกดทับ และเครื่องมือป้องกันการเกิดแผลกดทับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยลดอัตราการเกิดแผลกดทับในระดับ 3 และระดับ 4 ได้ และการปฏิบัติของพยาบาลตามแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับนั้นอยู่ระหว่าง ร้อยละ 69.9-97.1 แสดงให้เห็นถึงผลของระบบการดูแลที่พยาบาลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งผู้ปฏิบัติและผู้บริหารทุกระดับได้เข้ามาร่วมมองปัญหา ร่วมคิด ร่วมพัฒนาเครื่องมือวัดและแนวทางปฏิบัติการพยาบาล รวมทั้งร่วมใช้ระบบที่ช่วยส่งเสริมพยาบาลให้เกิดความตระหนักในการเฝ้าระวังการเกิดแผลกดทับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
National Decubitus Foundation. Cost saving through Braden avoidance. [cited 2008 Mar 20]; Available from: URL: http://www.decubitus.org
O’Dea K. The prevalence of pressure damage in acute care hospital patients in the UK. J Wound Care 1999; 8: 192-4.
สมหวัง ด่านชัยวิจิตร, ป่วน สุทธิพิจธรรม. การป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนังและแผลกดทับ.ใน: สมหวัง ด่านชัยวิจิตร, บรรณาธิการ.โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้ว; 2539. หน้า 251-65.
นลินทิพย์ ตำนานทอง, วีระชัย โควสุวรรณ. รายงานผลการวิจัย: ค่าใช้จ่ายในการรักษาแผลกดทับ. ขอนแก่น: ภาควิชา เวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2538.
คณะกรรมการประกันคุณภาพ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ปี พ.ศ. 2547. (เอกสารอัดสำเนา). นครราชสีมา: โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา; 2547.
Braden BJ. Interrupting the pressure ulcers cycle. Nurs Clin North Am 1998; 34: 862-6.
Braden B, Bergstrom N. A conceptual schema for the study of the etiology of pressure sores. Rehabil Nurs 1987; 12: 8-12.
Braden BJ, Bergstrom N. Risk assessment and risk-based programs of prevention in various settings. Ostomy Wound Manage 1996; 42 (10A-Suppl): 6S-12S.
Sparbel KJ, Anderson MA. Integrated literature review of continuity of care: Part 1, Conceptual issues. J Nurs Scholarsh 2000; 32: 17-24.
มยุรี โรจนอังกูร. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันแผลกดทับ ในผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547.
คณะกรรมการประกันคุณภาพ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ปี พ.ศ. 2550. (เอกสารอัดสำเนา). นครราชสีมา: โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา; 2550.