ภาวะขาดแอลกอฮอล์: ภาวะแทรกซ้อนที่พบในผู้ป่วยอุบัติเหตุ ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

นชพร อิทธิวิศวกุล

บทคัดย่อ

          ภูมิหลัง: การรับปรึกษาปัญหาจิตเวชพบผู้ป่วยที่มากเป็นอันดับหนึ่งคือ ภาวะเพ้อ (delirium) สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการขาดแอลกอฮอล์ และมีความรุนแรงขึ้นถ้ามีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยเฉพาะการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อมูลผู้ป่วยที่มีภาวะขาดแอลกอฮอล์ที่พบในผู้ป่วยอุบัติเหตุในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ในด้านลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย ประวัติการใช้แอลกอฮอล์ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ การดำเนินของภาวะขาดแอลกอฮอล์ และการรักษา ผู้ป่วยและวิธีการ: ทำการศึกษาแบบพรรณนา รวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกผู้ป่วยรับปรึกษาของกลุ่มงานจิตเวช และเวชระเบียนผู้ป่วยใน โดยเป็นผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุที่รักษาตัวในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2550 ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 53 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 44.3 ปี มีการบาดเจ็บที่กระดูกแขนขาและสันหลัง ใช้แอลกอฮอล์แบบเสพติด อาการ alcoholic withdrawal delirium (AWD) พบในผู้ที่ใช้มานาน 10-20 ปี เริ่มแสดงอาการภายใน 3 วันหลังจากขาดแอลกอฮอล์ การรักษาที่ได้จากจิตแพทย์นอกจากขึ้นกับอาการเด่นของการขาดแอลกอฮอล์แล้วยังต้องคำนึงถึงภาวะปัญหาทางกายและศัลยกรรมของผู้ป่วย ส่วนใหญ่ใช้ diazepam ฉีดเข้าหลอดเลือดดำปริมาณเฉลี่ย 12.7+20 mg ตามด้วย lorazepam รับประทานปริมาณเฉลี่ย 14.5+14 mg ผลการรักษา ส่วนใหญ่หายจากภาวะสับสน ใช้เวลาในการรักษาเฉลี่ย 6.2 วัน สรุป: ผู้ป่วยที่ถูกส่งปรึกษาด้วยเรื่องพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลจากภาวะขาดแอลกอฮอล์ที่พบในผู้ป่วยอุบัติเหตุในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ปี พ.ศ.2550 ส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น AWD ควรมีการประเมินโดยใช้เครื่องมือ Clinical Institute Withdrawal Assessment for Alcohol Scale, Revised (CIWA-Ar) ติดตามอาการขาดแอลกอฮอล์ในผู้ป่วยชาย อายุ 30-50 ปี ที่เกิดอุบัติเหตุร่วมกับเมาสุรา มีประวัติใช้สุราเป็นประจำมานานกว่า 10 ปี การเกิดอุบัติเหตุทำให้บาดเจ็บที่กระดูกแขนขา กระดูกสันหลัง เพื่อให้การวินิจฉัยอาการขาดแอลกอฮอล์ให้รวดเร็วซึ่งมักพบในช่วง 3 วันแรก และการรักษาในระยะ detoxification ใช้ diazepam ฉีดเข้าหลอดเลือดดำในช่วง 2 วันแรก ทำให้ผู้ป่วยสงบได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย

Article Details

How to Cite
อิทธิวิศวกุล น. (2024). ภาวะขาดแอลกอฮอล์: ภาวะแทรกซ้อนที่พบในผู้ป่วยอุบัติเหตุ ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 32(2), S133-S140. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1930
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

พิชัย แสงชาญชัย, พงศธร เนตราคม, นวพร หิรัญวิวัฒน์กุล, บรรณาธิการ. ตำราจิตเวชศาสตร์การติดสารเสพติด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บางกอกบล๊อก; 2549.

Sadock BJ, Sadock VA. Synopsis textbook psychiatry. 10th ed. Phliladelphia: Lippincott Williams & Willkins; 2007.

Lipowski ZJ. Delirium, acute confusional states. NewYork: Oxford University Press; 1990.

Mayo-Smith MF. Pharmacological management of alcohol withdrawal. A meta-analysis and evidence-based practice guideline. American Society of Addiction Medicine Working Group on Pharmacological Management of Alcohol Withdrawal. JAMA 1997; 278: 144-51.

Hersh D, Kranzler HR, Meyer RE. Persistent delirium following cessation of heavy alcohol consumption: diagnostic and treatment implications. Am J Psychiatry 1997; 154: 846-51.

กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและนิติเวช กลุ่มงานพยาบาลงานเวชระเบียนโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. สถานการณการบาดเจ็บในหนึ่งทศวรรษของผู้บาดเจ็บที่มารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. รายงานประจำปี 2550.

อังกูร ภัทรากร. ผลการรักษา zuclopenthixol accuphase กับ haloperidol และ diazepam ในการรักษาอาการถอนพิษสุรา.วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2550; 15; 162-9.

อรวรรณ ศิลปกิจ. การบำบัดอาการถอนพิษสุรา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2550; 15; 155-61.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. องค์ความรู้และรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตเนื่องจาก แอลกอฮอล์. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาองค์ความ รู้และรูปแบบ การป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต เนื่องจากแอลกอฮอล์; 24-25 พฤษภาคม 2547; ณ โรงแรม อมารี แอร์พอร์ต. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ พับลิสชิ่ง; 2547.

Lussier-Cushing M, Repper-DeLisi J, Mitchell MT, Lakatos BE, Mahmoud F, Lipkis Orlando R. Is your medical/ surgical patient withdrawing from alcohol? Nursing 2007; 37: 50-5.

Mayo-Smith MF, Beecher LH, Fischer TL, Gorelick DA, Guillaume JL, Hill A, et al. Management of alcohol withdrawal delirium. An evidence-based practice guideline. Arch Intern Med 2004; 164; 1405-12.

Kosten TR, O’Connor PG. Management of drug and alcohol withdrawal. N Engl J Med 2003; 348: 1786-95.

เทอดศักดิ์ เดชคง, อินทิรา ปัทมินทร, อุษา พึ่งธรรม, ธัญลักษณ์ แก้วเมือง, อภิสิทธิ์ ฤธาทิพย์, บรรณาธิการ. คู่มือ แนวทางปฏิบัติการดูแลช่วยเหลือและบำบัดผู้ประสบปัญหา แอลกอฮอล์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: วงศ์กมล โปรดักชั่น; 2547.

Saitz R, Mayo-Smith MF, Roberts MS, Redmond HA, Bernard DR, Calkins DR. Individualized treatment for alcohol withdrawal. A randomized double-blind controlled trail. JAMA 1994; 272: 519-23.