การพัฒนารูปแบบการประเมินขีดสมรรถนะหลักบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

ศันสนีย์ นิจพานิช
โชคชัย มงคลสินธุ์

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินขีดสมรรถนะหลักบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ด้วยการใช้ทฤษฎีระบบและรูปแบบเชิงผลลัพธ์เป็นกรอบแนวคิด โดยศึกษาในหน่วยงานย่อยสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และสถานีอนามัยในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม ถึง กรกฎาคม 2550 เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสนทนาตามธรรมชาติ และการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการประเมินขีดสมรรถนะหลักบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ที่พัฒนาขึ้นนั้น ช่วยให้ระบบการประเมินบุคลากรสาธารณสุขเป็นระบบ มีความชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความเป็นธรรม และเหมาะสมกับแต่ละวิชาชีพ สำหรับผลการประเมินสมรรถนะหลักกับระดับความคาดหวังที่องค์กรกำหนดตามการจำแนกประเภทข้าราชการและระดับชั้นงานตามการปรับปรุงระบบการจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่ ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) พบว่า ทั้งกลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล และกลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอและสถานีอนามัยมีสมรรถนะที่มีส่วนขาดมากที่สุดคือ สมรรถนะการคิดวิเคราะห์ โดยมีค่า ส่วนขาดของสมรรถนะ เท่ากับ -0.688 และ -0.497 ตามลำดับ ในภาพรวมส่วนใหญ่ผู้ที่เกี่ยวข้องคิดว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นนั้นมีประโยชน์และเหมาะสมที่จะนำมาใช้ประเมินบุคลากรสาธารณสุข จึงกล่าวได้ว่า รูปแบบการประเมินขีดสมรรถนะหลักบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ที่พัฒนาขึ้นนั้นเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการประเมินบุคลากรสาธารณสุขเป็นประจำทุกปี

Article Details

How to Cite
นิจพานิช ศ., & มงคลสินธุ์ โ. (2024). การพัฒนารูปแบบการประเมินขีดสมรรถนะหลักบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 32(2), S174-S181. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1936
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักงานเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). รายงานความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบราชการในรอบ 3 ปี. กรุงเทพมหานคร: กรีน ควิก ปรินท์, 2548.

อำพล จินดาวัฒนะ. สถานการณ์กำลังคนโรงพยาบาลชุมชน. วารสารโรงพยาบาลชุมชน 2542; 1: 8-15.

คณะกรรมการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. เครื่องมือประเมินสมรรถนะบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี พ.ศ.2549. (เอกสารอัดสำเนา). กาฬสินธุ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์;2549.

Bertalanffy L. General system theory: foundations, development, applications. New York: George Braziller, 1968.

Donabedian A. Twenty years of research on the quality of medical care: 1964-1984. Eval Health Prof 1985; 8: 243-65.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.). คำจำกัดความและรายละเอียดสมรรถนะ (competency) สำหรับตำแหน่งในราชการพลเรือน. เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่องสมรรถนะข้าราชการ. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น, 2548.

วันชัย วัฒนศัพท์. การมีส่วนร่วม [สืบค้นเมื่อ 24 เม.ย. 2551] แหล่งข้อมูล: URL: http://ratanava.mymaindata.com/site_data/mykku_med/701000019//participation.doc

Meretoja R, Leino-Kilpi H. Comparison of competence assessments made by nurse managers and practicing nurses. J Nurs Manag 2003; 11: 404-9.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.). คู่มือสมรรถนะข้าราชการไทย. [สืบค้นเมื่อ 20 มี.ค. 2551] แหล่งข้อมูล: URL: http://opdc.dgr.go.th/competency_2548.ppt