การรักษาโรคหัวใจขาดเลือดโดยการทำบอลลูนขยายเส้นเลือดหัวใจ ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระบาดวิทยา และผลการรักษาโรคหัวใจขาดเลือดโดยการทำบอลลูนขยายเส้นเลือดหัวใจของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการ: รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ที่ได้รับการสวนหัวใจและทำบอลลูนขยายเส้นเลือดหัวใจ ในช่วงเวลา ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2549 ถึง 1 ตุลาคม 2549 ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยที่ได้รับการสวนหัวใจและทำบอลลูนขยายเส้นเลือดหัวใจ จำนวนทั้งหมด 122 คน เข้าข่ายในการศึกษา 104 คน เป็นผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST elevation myocardial infarction (STEMI) ร้อยละ 34.6 ชนิด non-ST elevation myocardial infarction (NSTEMI) ร้อยละ 23.0 และภาวะเจ็บหน้าอกแบบไม่คงที่ (unstable angina, UA) ร้อยละ 29.8 ในกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (acute coronary syndrome, ACS: STEMI และ NSTEMI) ร้อยละ 91 ของผู้ป่วยทั้งหมด โดยมีอายุเฉลี่ย 65.2 ปี เพศชายอายุเฉลี่ย 64 ปี เพศหญิงอายุเฉลี่ย 70.2 ปี โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ (เฉพาะใน ACS) ในเพศชาย คือความดันโลหิตสูง และการสูบบุหรี่ ร้อยละ 36.9 และ 32.2 ตามลำดับ และในเพศหญิง คือ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง ร้อยละ 46.2 และ 28.2 ตามลำดับ ในแง่ดัชนีมวลกาย (body mass index, BMI) ในเพศชายร้อยละ 77.0 และในเพศหญิงร้อยละ 72.5 มีดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 24.9 kg/m2 อัตราตายรวมเท่ากับ ร้อยละ 19.0 ในกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI และ ร้อยละ 4.1 ในกลุ่ม NSTEMI สรุป: ในผู้ป่วยที่ได้รับการสวนหัวใจและทำบอลลูนขยายเส้นเลือดหัวใจในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมาก คือความดันโลหิตสูง และการสูบบุหรี่ในเพศชาย และเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในเพศหญิง ประชากรส่วนใหญ่ทั้งเพศชายและเพศหญิง มากกว่าร้อยละ 70 มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 24.9 kg/m2 อัตราตายรวมในกลุ่ม STEMI และ NSTEMI เท่ากับร้อยละ 19.4 และ 4.1 ตามลำดับ และผลการรักษาในกลุ่ม ACS ได้ผลดีปานกลาง ซึ่งน่าจะนำมาซึ่งการดูแลและป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โดยมุ่งเน้นการรณรงค์ลดความดันโลหิตสูง รวมทั้งลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ในประชากรเพศชาย และลดการเกิดเบาหวานในเพศหญิง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Bertrand ME, Simoons ML, Fox KA Wallentin LC, Hamm CW, Mc Fadden E, et al. Task Force on the Management of Acute Coronary Syndromes of the European Society of Cardiology. Management of acute coronary syndromes in patients presenting without persistent STsegment elevation. Eur Heart J 2002; 23: 1809-40.
Van de Werf F, Ardissino D, Betriu A, Cokkinos DV, Falk E, Fox KA, et al. Task Force on the Management of Acute Myocardial Infarction of the European Society of Cardiology. Management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation. Eur Heart J 2003; 24: 28-66.
Braunwald E, Antman EM, Beasley JW, Califf RM, Cheitlin MD, Hockman JS, et al. ACC/AHA 2002 guideline update for the management of patients with unstable angina and non-ST segment elevation myocardial infarction summary article: a report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on practice guidelines (Committee on the Management of Patients with Unstable Angina). Circulation 2002; 106: 1893-900.
Antman EM, Anbe DT, Armstrong PW, Bates ER, Green LA, Hand M, et al. ACC/AHA guidelines for the management of patients with ST-elevation myocardial infarctionexecutive summary: a report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines (Writing Committee to Revise the 1999 Guidelines for the Management of Patients With Acute Myocardial Infarction). Circulation 2004; 110: 588-636.
Srimahachota S, Kanjanavanit R, Boonyaratavej S, Boonsom W, Veerakul G, Tresukosol D; TACSR Group. Demographic, management practices and in-hospital outcomes of Thai Acute Coronary Syndrome Registry (TACSR): the difference from the Western world. J Med Assoc Thai 2007; 90 (Suppl 1): 1-11.
The Heart Association of Thailand under the Royal Patronage. Thai Acute Coronary Syndrome Registry. [cited 2007 Mar 24] Available from: URL: http://www.library.hsri.or.th
Steg PG, Goldberg RJ, Gore JM, Fox KA, Eagle KA, Flather MD, et al. Baseline characteristics, management practices, and in-hospital outcome of patients hospitalized with acute coronary syndromes in Global Registry of Acute Coronary Events (GRACE). Am J Cardiol 2002: 90: 358-63.
Yusuf S, Hawken S, Ounpuu S, Dans T, Avezum A, Lanas F, et al. INTERHEART Study Investigators. Effect of potentially modifiable risk factors associated with myocardial infarction in 52 countries (the INTERHEART study): case control study. Lancet 2004; 364: 937-52.