เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียในผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา : รายงานผู้ป่วย 5 ปี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง : เยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็กเป็นปัญหาที่สำคัญ ไม่เคยมีการรวบรวมข้อมูลของเชื้อที่เป็นสาเหตุในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาแบบย้อนหลังผู้ป่วยที่เด็กที่รับไว้ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 15 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ถึง 31 ธันวาคม 2547 เป็นเวลา 5 ปี ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 75 ราย แบ่งเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย 46 ราย จาก aseptic meningitis 27 ราย eosinophillic meningitis 1 ราย ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ 1 ราย ในกลุ่มแบคทีเรีย พบเชื้อ H. influenzae เป็นสาเหตุอันดับแรก 9 ราย (ร้อยละ 19.6) รองลงมาเป็นเชื้อ S. pneumoniae 6 ราย (ร้อยละ 13) และเชื้อ E. coli 5 ราย (ร้อยละ 10.9) รายที่สามารถเพาะเชื้อขึ้นพบว่า H. influenzae ดื้อต่อยา ampicillin ร้อยละ 25 ขณะที่เชื้อ S.pneumoniae ดื้อต่อยา penicillin ร้อยละ 75 แต่พบว่า minimum inhibitory concentration ต่อ cefotaxime < 5.0 mg/ml แสดงถึง cefotaxime ขนาดสูงสามารถใช้รักษาได้ ผลการรักษามีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย จากเชื้อ S.pneumoniae เกิดภาวะ septicemia และ disseminated intravascular coagulopathy พบภาวะแทรกซ้อนขณะที่รักษาตัวในโรงพยาบาล 18 ราย ส่วนใหญ่เป็น subdural collection 11 ราย hydrocephalus 5 ราย cerebritis & empyema และ syndrome of inappropriate anti-diuretic hormone 3 ราย pneumonia 2 ราย และ ventriculitis 1 ราย การตรวจ C-reactive protein เพื่อช่วยในการวินิจฉัย พบว่าใช้ในการคาดคะเนการติดเชื้อแบบ aseptic ได้ดีกว่าแบคทีเรีย สรุป : เชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญของเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็กเรียงลำดับ ได้แก่ H. influenza, S. pneumoniae และ E. coli โดยเชื้อ S. pneumoniae ที่พบมีการดื้อยาแบบ intermediated
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ทวี โชติพิพิทยสุนนท์. โรคติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลางในเด็ก. ใน: ทวี โชติพิทยสุนนท์,อังกูร เกิดพาณิช. รังสิมา โล่ห์เลขา, บรรณาธิการ. Update on Pediatric Infectious Disease 2004. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลปิการพิมพ์ (1997); 2547. หน้า 203-22.
จุฑารัตน์ เมฆมัลก็กา. What is new in pediatric CNS infection? ใน : ทวี โชติทยสุนนท์, อังกูร เกิดพาณิช. รังสิมา โล่ท์เลขา, บรรณาธิการ. Update on Pediatric Infectious Disease 2005. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลปการพิมพ์ (1997); 2548. หน้า 179-97.
อัญชลี เชื่องศรีกุล, สมศักดิ์ โลห์เลขา. เชื่อหุ้มสมองจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเฉียบพลันในเด็ก. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2534 : 30: 116-21.
Rerks-Ngarm S, Treleaven SC, Chunsuttiwat S, Muangchana C,Jolley D, Brooks A, et al. Prospecive populationbased incidence of Hacmophilus influenzae type b meningitis in Thailand. Vaccine 2004; 22: 975-83.
Tunkel AR, Hartman BJ, Kaplan SL, Kaufman BA, Roos KL, Scheld WM, et al. Practice guidelines for the management ofbacterial meningitis. Clin Infect Dis 2004; 39: 1267-84.
Chotpitayasunondh T. Bacterial meningitis in children: etiology and clinical features, an 11-year review of 618 cases. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1994; 25: 107-15.
McCracken GH Jr. Bacterial meningjis In: Kaplan SL, editor. Current therapy in pediatric infectious disease. St. Louis: Mosby Year Book; 1993. p.144-51.
Bradley IS, Kaplan SL Klugman KP, Leggiadro RJ. Consensus: management of infections in children caused by Sireptococcus pneumoniae with decreased susceptibility to penicillin. Pediatr Infect Dis 1995; 14:1037-41
American Academy of Pediatrics. Dexamethasone therapy for bacterial meningitis in infants and children In: Peter G, editor. 1997 Red book: report of the Committee on Infectious Disease. 24"ed. Elk Grove Village, IL: American Academy of Pediatrics; 1997. p.620-2.