ทัศนคติต่อพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาทางเพศในช่วงวัยรุ่นมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นได้จากทัศนคติต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น วัตถุ ประสงค์: เพื่อศึกษาทัศนคติต่อพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร วัสดุและวิธีการศึกษา: ใช้แบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ผลการศึกษา: นักศึกษามีผลต่อทัศนคติต่อพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 52.34 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อทัศนคติต่อพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมคือ เพศ อายุ ภูมิลำเนา คณะที่ศึกษาระดับการศึกษา ความเพียงพอของรายได้ ลักษณะการพักอาศัย ลักษณะของกลุ่มเพื่อน และความรู้เรื่องเพศ ศึกษา การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติต่อพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย และพฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศมีความสัมพันธ์ทางลบกับทัศนคติต่อพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม สรุป: นักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครมีทัศนคติต่อพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม อยู่ในระดับปานกลาง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ศิริกุล อิศรานุรักษ์, วรรณา เตชวณิชย์พงศ์ ทบทวนสถานการณ์พฤติกรรมทางเทศของเด็กเเละเยาวชนอายุ 6-24 ปี ที่กำลังศึกษาในสถานศึกษา พ.ศ. 2532-2542. กรุงเทพมหานคร: เจริญดีการพิมพ์; 2543.
สุกกร บัวสาย. วัยรุ่นกับโรคเอดส์. จดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพ ฉบับสร้างสุข. 2548;4 : 12.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แนวคิด กรอบการวิจัข การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: โรงพิมพ์กองสุขศึกษากระทรวงสาธาธารณสุข;2546.
บุญธรรม กิดปรีคาบริสุทธิ์.ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังดมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล; 2540.
เบญจพร ปัญญายงและคณะการวิเคราะห์เเละสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตเด็กและเขาวชนเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่/ผู้ปกครองกับเด็กและการอบรมเลี้ยงดูเด็ก. เอกสารอัดสำเนา, 2541.
วันทนีย์ วาสิกะสิน. ปัญหาพฤติกรรมทางเพศของมนุษย์กับงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2526.