ปัญหาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาวิทยาของศูนย์สุขภาพชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2548 พบว่ามีความครบถ้วนของรายงาน ร.ง.506 เพียงร้อยละ 36 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ร้อยละ 80) วัตถุ ประสงค์: เพื่อศึกษาปัญหาของการบันทึก ร.ง.506 และแนวทางแก้ไขเพื่อนำไปสร้างเครื่องมือและพัฒนากระบวน การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพในบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานระบาดวิทยาของศูนย์สุขภาพชุมชนทั้ง 29 แห่ง ในเครือข่ายการนิเทศของโรงพยาบาลมหาราชนครราช สีมา ระหว่าง กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2548 ผลการศึกษา: เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนทั้งหมดที่ได้รับการศึกษา จำนวน 120 ส่วน ใหญ่ร้อยละ 86.7 อายุระหว่าง 21-50 ปี อายุเฉลี่ย 39.0 ±6.8 ปี พิสัย 21-59 ปี ส่วนมากร้อยละ 80.8 เป็นเพศหญิง ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบพยาบาลศาสตร์ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 19314±5283 บาท มีเงินเหลือเก็บร้อยละ 69.2 ส่วนใหญ่เป็นหนี้สินถึงร้อยละ 87.5 ประชากรในความรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนแต่ละแห่งเฉลี่ย 7,456±2,691 คน จำนวนเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์สุขภาพชุนแต่ละแห่งเฉลี่ย 4.5 ±0.6 คน มีผู้รับผิดชอบปฏิบัติ งานระบาดวิทยาในศูนย์สุขภาพชุมนแต่ละแห่งอย่างน้อย 1 คน เคยอบรมเรื่องระบาดวิทยา ร้อยละ 75 สาเหตุ ที่ทำให้ปฏิบัติงานไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ 1). ระบบการรับ-ส่งข้อมูลไม่ดีทำให้การเฝ้าระวังและควบคุมโรคล่า ช้า 2). บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวัง/การควบคุมโรค 3). งบประมาณไม่เพียงพอและขาดความคล่องตัว 4). ขาดที่ปรึกษาและผู้นิเทศการปฏิบัติงาน 5). ขาดอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน 6). ขาดการพัฒนาระบบการทำงานในศูนย์สุขภาพชุมชน 7). ขาดคู่มือในการปฏิบัติงาน 8). ผู้นำขาดภาวะผู้น้ำ สรุป: ปัญหาของระบบการเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อของศูนย์สุขภาพชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พบว่ามีปัญหาทั้งด้านบุคลากร อุปกรณ์ งบประมาณและระบบงาน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ลดารัตน์ ผาตินาวิน, บรรณาธิการ. คู่มือการประเมินมาตรฐานงานระบาดวิทยาโรคติดต่อ พ.ศ. 2547. กรุงเทพมหานคร: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค;2547.
ข้อมูลงานระบาควิทยากลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. รายงานการนิเทศงานระบาดวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2548 (เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์)
ศูนย์ระบาดวิทยาภาคกลาง จังหวัดราชบุรี. การประเมินข่ายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาจากสถานพยาบาล ของรัฐในภาคกลาง ปี 2533. รายงานการเฝ้าระวังประจำสัปดาห์ 2543: 22:322-335.
ลดารัตน์ ผาตินาวิน,สมาน สยุมภูรุจินันท์. ผลการประเมินมาตรฐานงานระบาดวิทยาโรคติดต่อ พ.ศ.ศ.2547. วารควบคุมโรค 2548;31:175-83.