เนื้องอกตับในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาLiver Tumor in Maharat Nakhon Ratchasima Hospital

Main Article Content

นพวรรณ วิภาตกุล
สมชาย เหลืองจารุ

บทคัดย่อ

          เนื้องอกตับเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติและสำคัญในการจำแนกระหว่างมะเร็งและเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง การมีข้อมูลประกอบการพิจารณาแยกโรคช่วยทำให้ได้การวินิจฉัยที่แน่นอนขึ้น วัตถุประสงค์:  เพื่อรวบรวมอาการ อาการแสดง ลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วย การตรวจทางห้องปฏิบัติการและเอกซเรย์ในผู้ป่วยเนื้องอกตับในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา วัสดุและวิธีการศึกษา:  ศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยเนื้องอกตับในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาเป็นเวลา 1 ปี ในช่วง 1 สิงหาคม 2547 – 31 กรกฎาคม 2548 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ นำมาวิเคราะห์ผล ผลการศึกษา:  มีผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 294 ราย ที่มาโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาด้วยเรื่องก้อนในตับ อายุเฉลี่ย 59.1±13.8 ปี (พิสัย 20-89 ปี) เป็นเพศชาย 219 คน (ร้อยละ 74.5) เป็นมะเร็ง จำนวน 272 คน (ร้อยละ 92.5) โดยเป็นมะเร็งตับ, มะเร็งทางเดินน้ำดี และมะเร็งแพร่กระจายมาที่ตับ ร้อยละ 43.9, 42.2 และ 6.5 ตามลำดับเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง จำนวน 22 คน (ร้อยละ 7.5) โดยเป็น hepatic hemangioma มาที่สุด ลักษณะพื้นฐานทางคลินิกพบว่ากลุ่ม ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง เป็นเพศชาย อยู่ต่างอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา มีประวัติดื่มสุราระยะเวลาที่เริ่มเป็นโรคน้อยกว่าและมีขนาดของก้อนเนื้อใหญ่กว่ากลุ่มเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงอาการและอาการแสดงพบว่าหากมีอาการตาเหลือตัวเหลือง น้ำหนักตัวลดลง ตรวจร่างกายได้ตับโต เหลืองและซีด มีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากกว่า ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่า กลุ่มมะเร็งมักมีระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่าระดับโปรตีนอัลบูมิน ในเลือดต่ำกว่าเกล็ดเลือดมากกว่า ระดับ SGOT สูงกว่าระดับ total bilirubin สูงกว่า ระดับ alkaline phophatase สูงกว่า ในกลุ่มเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง เมื่อวิเคราะห์เฉพาะผู้ป่วยมะเร็งตับ และมะเร็งทางเดินน้ำดีพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งตับมักเป็นเพศชายมากกว่า อายุน้อยกว่า ระยะที่เริ่มเป็นโรคน้อยกว่า มีประวัติเลือดออกในทางเดินอาหารมากกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของก้อนในตับมากกว่า มีอาการคันตามตัวน้อยกว่า ตรวจพบตาเหลืองตัวเหลืองน้อยกว่า โลหิตจางมากกว่า ท้องมานมากว่า อาการแสดงว่ามีปัญหาตับแข็งมากกว่า ค่า SGOT มากกว่า ค่า total bilirubin น้อยกว่า ทำ alkaline phosphatese น้อยกว่า สรุป:  ผู้ป่วยที่มาด้วยก้อนเนื้อในตับที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ในช่วง 1 สิงหาคม 2547- 31 กรกฎาคม 2548 จำนวน 294 อายุเฉลี่ย 59.1 ± 13.8 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชายและเป็นเนื้อร้ายของตับโดยมีโอกาสที่เป็นมะเร็งของตับสูง หากเป็นเพศชาย ขนาดของก้อนเนื้อค่อนข้างใหญ่ มีอาการตาเหลืองตัวเหลือง น้ำหนักตัวลดลง ตรวจร่างกายได้ตับโตเหลืองและซีด ระดับ SGOT สูงกว่าระดับ total bilirubin สูงกว่า ระดับ alkaline phosphates สูง

Article Details

How to Cite
วิภาตกุล น., & เหลืองจารุ ส. (2024). เนื้องอกตับในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาLiver Tumor in Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 31(2), 113–120. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1982
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Talwalkar JA, Gores GJ. Diagnosis and Staging of Hepatocellular Carcinoma Gastroenterology 2004; 127: S126-S132.

Sherman M. Hepatocellular carcinoma.Epidemiology, risk factors, and screening. Semin Liver Dis 2005; 25 : 143-54.

Fattovich G, Stroffolini T, Zagni I, Donato F. Hepatocellular carcinoma in cirthosis: incidence and risk factors. Gastroenterology. 2004 Nov; 127(5 Suppl 1): S35-50. Review

Hoofnagle JH. Hepatocellular carcinoma: summary and recommendations. Gastroenterology 2004; 127(5 Suppl 1): S319-23. Review.

Befeler AS, Di Bisceglic AM. Hepatocellular carcinoma: diagnosis and treatment. Gastroenterology 2002; 122(6): 1609-19. Review

de Groen PC, Gores GJ, LaRusso NF, Gunderson LL, Nagorney, DM. Biliary Tract Cancers. N Engl Med 1999; 341: 1368-78.

Bloom CM, Langer B, Wilson SR. Role of US in the detection, characterization, and staging of cholagiocar~cinoma. Radiographics 1999; 19: 1199-218.

Regev A. Benign solid tumors. In: Schiff ER, Sorrell MF, Maddrey WC, editors. Schiff's Diseases of The Liver. 9th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2003. p.1201-29.

สมชาย เหลืองจารุ. Hepatic Carvemous Hemangioma with Kasabach-Merritt Syndrome: รายงานผู้ป่วย 1 ราย และทบทวนวารสาร. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา2545; 26: 145-50.