การใช้ยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมในผู้ป่วยเด็กอุจจาระร่วงและผลการเพาะเชื้อในโรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

อารีย์ เชื้อเดช

บทคัดย่อ

ส่วนใหญ่อุจจาระร่วงในเด็กเกิดจากเชื้อไวรัส จะให้ยาปฏิชีวนะก็ต่อเมื่อถ่ายมีมูกเลือด วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปริมาณและความเหมาะสมของการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาผู้ป่วยเด็กอุจจาระร่วง ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยเด็กอายุ 0-15 ปี ที่มีอาการอุจจาระร่างในโรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมาและได้รับการตรวจเพาะเชื้อจากอุจจาระทุกราย ในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2548 ถึง 31 พฤษภาคม 2549 ผลการศึกษา:  พบผู้ป่วยจำนวน 1,264 ราย มีการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะถึงร้อยละ 50 และมีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมในการรักษาเพียง ร้อยละ 57.9 เท่านั้น ผลการเพาะเชื้อจากอุจจาระ พบแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ ร้อยละ 13.7 ในเด็กเล็กพบเชื้อ Aeromonas มากที่สุดในเด็กโตเป็น Vibrio parahemolyticus และ Aeromonas ยาปฏิชีวนะที่นิยมแบบครอบคลุมคือ cotrimoxazole ในเด็กเล็กและ norfloxacin ในเด็กโต ซึ่งการทดสอบความไวต่อยาปฏิชีวนะ เชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่ไวต่อยา cotrimoxazole ยกเว้น Shigella ที่พบว่ามีการดื้อต่อยา cotrimoxazole ถึงร้อยละ 73.4 สรุป: ในโรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีการใช้ยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมในผู้ป่วยเด็กอุจจาระร่วงมากถึงครึ่งหนึ่ง ซึ่งเกินความจำเป็นและมีความเหมาะสมเพียงร้อยละ 57.9 และข้อมูลจากการเพาะเชื้อจากอุจจาระมีประโยชน์ในการรักษาน้อย

Article Details

How to Cite
เชื้อเดช อ. (2024). การใช้ยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมในผู้ป่วยเด็กอุจจาระร่วงและผลการเพาะเชื้อในโรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 31(3), 165–170. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1991
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

เสกสิต โอสถากุล, ชิษณุพงศ์ ตั้งอดุลย์รัตน์. ความเหมาะสมในการใช้ยาปฏิชีวนะ Empirical treatment ในเด็กอุจจาระร่วงเฉียบพลันในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2542; 1: 25-30

Practical parameter: The management of acute gastroenteritis in young children. America Academy of Podiatrics, Provisional Cormittee on Quality Improvement, Subcommittec on Acute Gastroenteritis.

DeWit TG, Humphrey KF, McCarthy P. Clinical predic~ tors of acute bacterial diarthea in young children. Pedia- trics 1985; 76: 551-6.

Schaad UB, abdus Salam M, Aujard Y, Dagan R, Green SDP, Peltola H, et al. Use of fluoroquinolones in pedia- trics: consensus report of an International Society of Chemotherapy commission. Pediatr Infect Dis I 1995; 14:1-9.

Armon K, Stephenson T, MacFaul R, Eccleston P, Wemeke U. An evidence and consensus based guideline for acute diarrhea management Arch Dis Child 2001; 85:132-42.

King CK, Glass R, Bresce IS, Duggan C, Centers for Disease Control and Prevention. Managing acute gastroenteritis among children: oral rehydration, maintenance, and nutritional therapy. MMWMWR Recomm Rep 2003; 52: 1-16.

Khayat N, Chirouze C, Tran TA, Leroy J, Estavoyer JM, Hoen B. Critical Analysis of antibiotic treatment of acute gastroenteritis in infant and young children. Arch Pediatr 2002; 9: 1230-5.