การยึดตรึงกระดูกนอกกายเอนกประสงค์โคราช: รายงานผลการศึกษาเบื้องต้น

Main Article Content

ยิ่งยง สุขเสถียร
รัชวรรณ สุขเสถียร

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: โครงยึดตรึงกระดูกนอกกายอเนกประสงค์โคราช (KDEFS) ระยะแรกใช้รักษาภาวะกระดูกหักแบบมีแผลเปิดได้ผลดี ต่อมาได้พัฒนาอุปกรณ์เสริมเพื่อให้ KDEFS สามารถทำหน้าที่ได้หลายอย่างในระบบเดียว วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการ รักษาของ KDEFS ในการทำหน้าที่ 1. ย้ายกระดูก 2. ยืดกระดูก 3. รักษากระดูกไม่ติดจากการติดเชื้อ 4. ปิดช่องว่างระหว่างรอยกระดูกหัก 5. ยึดตรึงกระดูกแตกเข้าข้อ 6. แก้ไขกระดูกติดผิดรูป ผู้ป่วยและวิธีการ: คัดเลือกผู้ป่วยที่มารักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2549 ถึง 30 เมษายน 2550 โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่มโรค ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดใส่ KDEFS ผลการศึกษา: 1. ย้ายกระดูก ในผู้ป่วยกระดูกขาดหายไปที่กระดูกหน้าแข้ง 3 ราย อายุ 24-30 ปี (อายุเฉลี่ย 37.3 ปี) ระยะยืดกระดูก 4.4-6.1 เซนติเมตร (เฉลี่ย 5.1 เซนติเมตร) ระยะกระดูกติด 22-28 สัปดาห์ (เฉลี่ย 24 สัปดาห์) 2. ยืดกระดูก ในผู้ป่วยอายุ 28 ปีที่มีภาวะขาสั้น พบว่ายืดกระดูกได้ 3.5 เซนติเมตรในเวลา 8 สัปดาห์ ระยะกระดูกติด 20 สัปดาห์ 3. รักษากระดูกไม่ติดจากการติดเชื้อในผู้ป่วย 4 ราย โดยเป็นที่กระดูกต้นขา 2 รายอายุ 55 และ 60 ปี พบว่าระยะกระดูกติด 18 และ 20 สัปดาห์ตามลำดับ และเป็นที่กระดูกหน้าแข้ง 2 รายอายุ 34 และ 37 ปี พบว่าระยะกระดูกติด 12 และ 15 สัปดาห์ตามลำดับ 4. ปิดช่องว่างระหว่างรอยกระดูกหักในผู้ป่วยกระดูกหน้าแข้งหักแบบมีแผลเปิดจำนวน 19 รายอายุ 15-42 ปี (เฉลี่ย 24.7 ปี) พบว่าสามารถปิดช่องว่างได้ทุกราย 5. ยึดตรึงกระดูกแตกเข้าข้อในผู้ป่วยกระดูกแตกเข้าข้อเข่า 1 รายอายุ 42 ปี และ ผู้ป่วยกระดูกแตกเข้าข้อเท้า 1 ราย อายุ 22 ปี พบว่าระยะกระดูกติด 14 และ 16 สัปดาห์ตามลำดับ 6. แก้ไขกระดูกติดผิดรูป ในผู้ป่วยอายุ 28 ปี มีภาวะกระดูกติดผิดรูปที่หน้าแข้งขวา 4 ปี พบว่าระยะแก้ไขแนวกระดูก 3 สัปดาห์ ระยะกระดูกติด 12 สัปดาห์ สรุป: KDEFS เป็นโครงยึดตรึงกระดูกนอกกายรูปแบบใหม่ ซึ่งได้รวบรวมหน้าที่และคุณสมบัติที่ดีของโครงยึดตรึงกระดูกนอกกายหลายชนิดที่มีอยู่ในปัจจุบันมารวมกันไว้ในระบบเดียว


 

Article Details

How to Cite
สุขเสถียร ย., & สุขเสถียร ร. (2024). การยึดตรึงกระดูกนอกกายเอนกประสงค์โคราช: รายงานผลการศึกษาเบื้องต้น. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 31(3), 171–179. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1992
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ยิ่งยง สุขเสถียร. นวัตกรรมในการรักษากระดูกหน้าแข้ง หักแบบมีแผลเปิดโดยใช้โครงยึดตรึงกระดูกนอกกายแบบ ใหม่ที่ผลิตขึ้นเองของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2004;3:171-7.

lizarov GA, Ledyaey VI The replacement of long tubular bone defects by lengthening distraction osteotomy of of one of the fragments. Clin Orthop 1992; 280:7-10.

Cattaneo R, Catagni M, Johnson EE. The treatment of infected non-unions and segmental defects of the tibial by the Methods of Ilizarov. Clin Orthop 1992; 280: 143-52.

Aronson J,Johnson E, Harp JH. Local bone transportation for treatment of intercalary defects by the lizarov technique. Clin Orthop 1989; 243: 71-9.

Cierny G, Zorn KE. Segmental tibial defects. Orthop 1994; 301: 118-23.

Green SA, Jackson JM, Wall DM, Marinow H, Ishkanian J.Management of segmental defects by the llizarov intercalary bone transport method. Clin Orthop 1992; 280: 136-42.

lizarov GA. The tension-stress effect on the genesis and growth of tissues: Part I the influence of stability of fixation and soft-tissue preservation. Clin Orthop 1989; 238: 249-81

lizarov GA. The tension-stress effect on the genesis and growth of tissues: Part II the influce of the rate and frequency of distraction. Clin Orthop 1989; 239:263-85.

Alonso JE, Regazzoni P. The use of the llizarov concept with the AO/ASIF tubular fixator in the treatment of seg- mental defects. Orthop Clin North Am 1990; 21:655-65.

Pablos J, Barios C, Alfaro C, Canadell J. Large experiment segmental bone defects treated by by bone transportation with monolateral external distractors. Clin Orthop 1994; 298: 259-65.

Aldegehri R, Renzi-Brivio L, Agostini S. The callotasis method of limb lengthening. Clin Orthop 1989; 241: 137-45.

Wagner H. Operative lengthening of the femur.Clin Orthop 1978; 139: 125-42.