การใส่ท่อช่วยหายใจกลับซ้ำในกลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

รุ่งนภา ลออธนกุล
ชวศักดิ์ กนกกันฑพงษ์

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยที่มีการใส่ท่อช่วยหายใจกลับซ้ำจะมีอัตราการตายสูง เพิ่มระยะเวลาในการอยู่หอผู้ป่วยหนัก และเพิ่มระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล พยากรณ์โรคของผู้ป่วยในกลุ่มนี้ด้อยกว่าในกลุ่มที่ไม่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจกลับซ้ำ การศึกษาปัจจัยเสี่ยงและผลของการใส่ท่อช่วยหายใจกลับซ้ำในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาจึงมีความสำคัญ เพื่อเป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังและลดการใส่ท่อช่วยหายใจกลับซ้ำต่อไป วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยที่ถอดท่อช่วยหายใจทั้งที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจกลับซ้ำและไม่กลับซ้ำ และผลการรักษาของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยทุกรายในกลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาที่ถอดท่อช่วยหายใจหลังจากใส่ท่อช่วยหายใจอย่างน้อย 6 ชั่วโมง โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ 6 มีนาคม 2549 ถึง 6 พฤษภาคม 2549 ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ถอดท่อช่วยหายใจในการศึกษานี้ทั้งหมด 158 คน ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจกลับซ้ำ 94 คน (ร้อยละ 59.5) ไม่มีการเสียชีวิตเลย กลุ่มผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจกลับซ้ำ 64 คน (ร้อยละ 40.5) มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง ร้อยละ 71.9 เพิ่มระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลและการเจาะคอ ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจกลับซ้ำ เป็นผู้ป่วยที่ไม่มีการวางแผนถอดท่อช่วยหายใจมากถึง 57 คน (ร้อยละ 89.1)โดยสาเหตุส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่ไม่มีการวางแผนถอดท่อช่วยหายใจคือ ผู้ป่วยดึงท่อช่วยหายใจเองและพบมากในหอผู้ป่วยสามัญ และช่วงเวรบ่ายถึงเวรดึก สรุป: ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจกลับซ้ำในกลุ่มงานอายุรกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ส่วนใหญ่ไม่มีการวางแผนการถอดท่อช่วยหายใจมาก่อนและสาเหตุหลักคือ ผู้ป่วยถอดท่อช่วยหายใจเอง โดยผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจกลับซ้ำเพิ่มอัตราการเสียชีวิต เพิ่มระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลและมีการเจาะคอมากขึ้น


 

Article Details

How to Cite
ลออธนกุล ร., & กนกกันฑพงษ์ ช. (2024). การใส่ท่อช่วยหายใจกลับซ้ำในกลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 31(3), 189–195. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1994
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Demling RH, Read T, Lind LJ, Flanagan HL. Incidence and morbidity of extubation failure in surgical intensive care patients. Crit Care Med 1988; 16: 573-7.

Tahvanainen J, Salmenpera M, Nikki P. Extubation criteria after weaning from internittent mandatory ventilation and continuous positive airway pressure. Chit Care Med 1983; 11: 702-7.

Lee KH, Hui KP, Chan TB, Tan WC, Lim TK.Rapid shallow breatging (frequency-tidal volume ratio) did not predict extubation outcome. Chest 1994; 105: 540-3.

Epstein SK, Ciubotaru RL, Wong JB. Effect of failed extubation on the outcome of mechanical ventilation.Chest 1997; 112: 186-92.

Esteban A, Alia I, Gordo F, Fernandez R, Solsona J, Vallverdu I, et al. Extubation outcome after spontancous breathing trials with T-tube or pressure support ventila- tion. Am J Respir Crit Care Med 1997; 156:459-65.

Epstein SK, Nevins MI., Jason Chung. Effect of unplanned extubation on outcome of mechanical ventilation. Am J Respir Crit Care Med 2000; 161: 1912-6.

รายงานประจำปี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ 2550.

Listello D,Sessler CN. Unplanned extubation: clinical predictors for reintubation. Chest 1994; 105:1496-503.

Whelen J, Simpson SQ, Levy H. Unplanned extubation: predictors of successful termination of mechanical ventilatory support. Chest 1994; 105: 1808-12.

Tindol GA Ir, Dibenedetto RJ, Kosciuk L. Unplanned extubations. Chest 1994; 105: 1804-7.

Chevron V,Menard JF,Richard JC, Girault C, Girault C, Leroy J,et al. Umplanned extubation. Crit Care Med 1998; 26: 1049-53.

Amy L, Dena L, Vicki M. Unplanned extubation in adult critical care: Quality improvement and education payoff. Crit Care Nurs 2004; 24:32-7.

Devlin JW, Boleski G, Mlynarek M. Motor activity assessment scale: A valid and reliable sedation scale for use with mechanically ventilated patients in an adult surgical intensive care unit. Crit Care Med 1999; 27: 1271-5.