ภาวะครรภ์ไข่ปลาอุกในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

สุรสิทธิ์ ฉัตรพัฒนศิริ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสัดส่วนของภาวะครรภ์ไข่ปลาอุกต่อจำนวนการคลอดในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังของผู้ป่วยครรภ์ไข่ปลาอุกใหม่ที่มาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 จากเวชระเบียนผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผลการศึกษา: ช่วงเวลาที่ทำการศึกษามีสตรีตั้งครรภ์มาคลอดที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาจำนวนทั้งสิ้น 52,091 ราย เป็นผู้ป่วยครรภ์ไข่ปลาอุกใหม่ที่มีผลการตรวจยืนยันทางพยาธิวิทยาทั้งหมด 131 ราย สัดส่วนของภาวะครรภ์ไข่ปลาอุกเท่ากับ 2.5 ต่อจำนวนการคลอด 1,000 ราย หรือ 1 ต่อ 398 ของการคลอด ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 28.2 ± 9.8 ปี ส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่-ทำนา (ร้อยละ 36.6) และมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา (ร้อยละ 93.9) อายุครรภ์โดยเฉลี่ยขณะเข้ารับการรักษา 13.5 ± 3.9 สัปดาห์ อาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์มากที่สุด คือ อาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด (ร้อยละ 80.9) ผู้ป่วยร้อยละ 39.7 มีขนาดของมดลูกใหญ่กว่าที่ควรจะเป็นตามอายุครรภ์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84.0) มีผลการตรวจ serum beta-hCG อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ผู้ป่วย 93 ราย (ร้อยละ 71.0) ได้รับการรักษาโดยวิธี suction and curettage หลังการกำจัดเอาเนื้อครรภ์ไข่ปลาอุกออกแล้วพบการลุกลามของโรคต่อไปจำนวน 38 ราย (ร้อยละ 32.7) ผู้ป่วย 62 ราย (ร้อยละ 47.3) มีการตรวจติดตามหลังการรักษาครบ ผู้ป่วย 116 ราย (ร้อยละ 88.6) ได้รับการคุมกำเนิดภายหลังการรักษา สรุป: ภาวะไข่ปลาอุกเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญอย่างหนึ่งในสตรีตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และมีสัตส่วนของภาวะไข่ปลาอุกเท่ากับ 1 ต่อ 398 ของการคลอด

Article Details

How to Cite
ฉัตรพัฒนศิริ ส. (2024). ภาวะครรภ์ไข่ปลาอุกในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 30(1), 11–16. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2006
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ธีราตัณฑวณิช, สมภพ ลิ้มพงศานุรักษ์. การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกและมะเร็งครรภ์ไข่ปลาอุก. ใน: สุขิตเผ่าสวัสดิ์, ศุภวัฒน์

ชุติวงศ์, ดำรง เหรียญประยูร, สุทัศน์ กลกิจโกวินท์, บรรณาธิการ.นรีเวชวิทยา.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โอ เอส พริ้นติ้งเฮาส์; 2533. หน้า 256-77.

Hammond CB. Gestational Trophoblastic Neoplasia. In: Scott JR, Disaia PJ, Hammond CB, Spellacy WN,editors. Danforth's Obstetrics and Gynecology. 7th ed. Philadelphia: JB Lippincott Company; 1994.p.1039-53.

Hayashi K, Bracken MB, Freeman DH Jr, Hellenbrand K. Hydatidiform moles in the United States (1970-1977): A statistical and theoretical analysis. Am J Epidemiol 1982; 115: 67-77.

Womack C, Elston CW. Hydatidiform moles in Nottingham: A 12-year retrospective epidemiological and morphological study. Placenta 1985; 6: 93-106.

Udomthavornsuk B, Pengsaa P. Clinical characteristics

of hydratidiform mole patients in Srinagarind hospital. Srinagarind Med J 1987; 2:93-101.

Kim SJ, Bae SN, Kim JH, Kim CJ, Han KT, Chung JK,

et al. Epidemiology and time trends of gestational trophoblastic disease in Korea. Int J Gynecol Obstet 1998; 60 (suppl 1): S33-S38.

Koetsawang A. Molar pregnancy: A clinical study of 347 cases. J Med Assoc Thai 1984; 67: 73-8.

Limpongsanurak S. An epidemiological study ofhydaidiform moles conducted in Chulalalongkom hospital. Chula Med J 1994; 38: 659-65.

Srangsriwong S. Molar pregnancy in Sappasithiprasong hospital. Med J Ubon Hosp 1995; 16: 187-94.

สุพัชญ์ สึนะวัฒน์,อำภรณ์ ศรีสุภรกรกุล. ภาวะครรภ์ไข่ปลาอุกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2547; 19:136-40.

Runowicz CD. Clinical Aspects of Gestational Trophoblastic Diseases. In: Cherry SH, Berkowitz RL, Kase NG, editors. Rovinsky and Guttmachce's Medical, Surgical, and Gynecologic Complications of Pregnancy. 3rd ed. Baltimore: William & Wilkins; 1985.p.542-52.

Buckley JD. The epidemiology of molar pregnancy and choriocarcinoma. Clin Obstet Gynecol 1984; 27:153-9.

Kahorn El. Molar pregnancy: presentation and diagnosis. Clin Obstet Gynecol 1984; 27: 181-91.

Berkowitz RS, Goldstein DP. Gestational Trophoblastic Diseases. In: Ryan KJ, Berkowitz R, Barbieri Rl, editors. Kistner's Gynecology Principles and Practice. Sthed. Chicago: Year Book Medical Publishers Inc; 1990. p.431- 49.

Ratnam SS, Teoh ES, Dawood MY. Methotrexate for prophylaxis of choriocarcinoma. Am J Obstet Gynecol 1971; 111: 1021-7.

Diseases and abnormalities of the placenta. In: Cunningham FG, Macdonald PC, Gant NR, Leveno KJ, Gilstrap III LC, editors. William's Obstetrics. 19th Nowalk: Appleton & Lange; 1993. p.748-62.