การลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ บริบท: การพัฒนาระบบบริการตรวจสุขภาพ โรงพยาบาล

Main Article Content

อรวรรณ เมฆวิชัย
พัชรี บุญสุวรรณ
เฉลิมขวัญ สวนคล้าย

บทคัดย่อ

ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2546 ได้เห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอเรื่อง การลดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน โดยมีหลักการที่สำคัญคือ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี ให้ส่วนราชการพิจารณาดำเนินการลดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการลง ร้อยละ 30-50 การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการตรวจสุขภาพประจำปีรายกลุ่ม ซึ่งเป็นบริการขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชน วิธีการศึกษา: ใช้แนวคิดการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ดังนี้ 1) ขั้นตอนสำรวจปัญหา โดยสอบถามความคิดเห็นผู้มารับบริการตรวจสุขภาพ พบว่าไม่ได้รับความสะดวกในทุกขั้นตอนบริการ ขาดการประชาสัมพันธ์ขั้นตอนการตรวจที่ชัดเจน การรายงานผลล่าช้า 2) ขั้นตอนการพัฒนา คือ การลดขั้นตอน การบริการเป็นแบบหนึ่งจุดบริการและนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการรวบรวมประมวลผล เน้นการพัฒนาฐานข้อมูลผู้มารับบริการ ตรวจสุขภาพ มีการบริหารสินทรัพย์คือ รถเอกซเรย์เคลื่อนที่ให้บริการเชิงรุก 3) ขั้นตอนการประเมินผล ใช้กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ กลุ่ม 1 ภาคบังคับ ดำเนินการระหว่างเดือนมิถุนายน 2546 – เดือนเมษายน 2547 ผลการศึกษา: พบว่ามิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ ระยะเวลาการตรวจสุขภาพเดิม ใช้เวลา 77 นาที ลดลงเหลือ 32 นาทีต่อคน (p-value=0.000) ขั้นตอนบริการลดลงจาก 7 จุดบริการเหลือ 1 จุดบริการ การรายงานผลการตรวจจาก 3 สัปดาห์ลดลงเหลือ 1 สัปดาห์ในกรณีผู้มารับบริการไม่เกิน 100 คน มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ ผลสำเร็จของการพัฒนาลดเวลาลง ร้อยละ 58.4 มิติด้านคุณภาพบริการ ความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 78.5 เป็นร้อยละ 90.5 มิติด้านการพัฒนาองค์กร โรงพยาบาลมีรายได้สุทธิจากงานตรวจสุขภาพก่อนการพัฒนา 1,764,428 บาท หลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็น 3,197,435 บาท คิดเป็นรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.6 ผู้รับบริการตรวจสุขภาพเพิ่มจาก 5,628 คน เป็น 8,128 คนคิดเป็นร้อยละ 72.2 สรุป: การบริการแบบหนึ่งจุดบริการมีสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงได้แก่การมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ ควรมีการนิเทศติดตามประเมินผล รวมทั้งการพัฒนาระบบบริการอย่างต่อเนื่อง มีการประกันคุณภาพบริการตามมาตรฐานวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

Article Details

How to Cite
1.
เมฆวิชัย อ, บุญสุวรรณ พ, สวนคล้าย เ. การลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ บริบท: การพัฒนาระบบบริการตรวจสุขภาพ โรงพยาบาล. MNRHJ [อินเทอร์เน็ต]. 1 ตุลาคาม 2024 [อ้างถึง 19 พฤษภาคม 2025];30(1):17-26. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2009
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

เกสร อิ่มใจจิตต์.การประเมินผลการพัฒนาระบบบริการ ด่านหน้าโรงพยาบาลสมุทรสาคร. วารสารกองการพยาบาล 2541;25:19-21.

คณะกรรมการพัฒนาพฤติกรรมบริการ. การสำรวจความคิด เห็นต่อบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตากสิน. สำนักงาน แพทธ์ กรุงเทพมหานคร. ตากสินเวชสาร 2543; 18:162-8.

ถูกถวิล ชูชื่น. การวิเคราะห์รูปแบบและแนวทางการ พัฒนา การบริหารงานผู้ป่วยนอก ของโรงพยาบาลทั่วไปในเขต 2. วารสารโรงพยาบาลชัยนาท 2542; 2: 2-10.

วรรณา สุทธิธรรม, วลัยพร ใจอารีย์.ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยทางการแพทย์ตลาดและการจัดบริกาพยาบาลต่อ คุณภาพงานบริการประกันสังคมโรงพยาบาลสมุทรสาคร. วารสารกองการพยาบาล 2544;28:55:55-66.

ถนอมขวัญ ทวีบูรณ์. แนวโน้มวิชาชีพการพยาบาบาลในปีค.ศ.2000. วารสารพยาบาล 2543; 49: 7-11.

อรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล.การประเมินบรรยากาศองค์กรในกลุ่มงานการพยาบาล. วารสารกองการพยาบาล 2544; 28: 68-9.

ฟาริดา อิบราฮิม.บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติการพยาบาล. วารสารพยาบาล 2535;41: 91-4.

สิทธิศักดิ์ พฤกษ์พิศกุล. คู่มือก้าวสู่ Hospital Accreditation. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี; 2544.

วีระวัฒน์ ปันปีตาชัย การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้; ที่มาและที่ไป. วารสารข้าราชการ 2540;42: 16-48.

วิภาดา คุณาวิตติกุล. จากการประกันสุขภาพสู่การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. พยาบาลสาร 2542; 26:9-17.

วรรณฤดี ภู่ทอง, พนิดา ตามาพงษ์.ความสัมพันธ์ทางการจัดการด้านคุณภาพบริการให้แก่ผู้ประกันตนกับคุณภาพบริการพยาบาลที่ผู้ประกันตนรับรู้. วารสารการวิจัยระบบสาธารณสุข 2540;5:299-310.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). กรอบแนวคิดและวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. ตุลาคม 2546.(เอกสารอัดสำเนา)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). แนวทางการดำเนินการการลดขั้นตอนและระยะเวลาการ ปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ปี2547-2550. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร: สุขุมวิทมีเคีย มาร์เก็ตติ้ง จำกัด; 2547.

กองการพยาบาล. กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. กรุงเทพมหานคร: เดอะเบสท์; 2541.

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด; 2542.