การเฝ้าระวังแผลผ่าตัดคลอดติดเชื้อภายหลังจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: ปัจจุบันผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด มีระยะเวลาอยู่ในโรงพยาบาลสั้นลง ทำให้การติดเชื้อแผลผ่าตัดส่วนใหญ่ปรากฏอาการหลังจากจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลแล้วจึงไม่ได้รับการวินิจฉัย โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ยังไม่มีระบบเฝ้าระวังภายหลังจำหน่ายผู้ป่วย ทำให้อัตราการติดเชื้อแผลผ่าตัดคลอดมีค่าต่ำกว่าที่ควรเป็นอยู่มาก วัตถุประสงค์: เพื่อให้ทราบอัตราการติดเชื้อแผลผ่าตัดคลอดที่ใกล้เคียงความจริง วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการผ่าตัดคลอดขณะอายุครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 28 สัปดาห์ ในระหว่าง 1 กุมภาพันธ์ ถึง 30 เมษายน 2547 ข้อมูลได้จากแบบสอบถามที่ให้ผู้ป่วยส่งกลับมาทางไปรษณีย์ การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ แบบสอบถามแพทย์ที่ทำผ่าตัดจากศูนย์สุขภาพชุมชน และการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยเมื่อครบกำหนด 30 วันภายหลังการผ่าตัด ผลการศึกษา: มีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 520 สามารถติดตามได้ 274 คน คิดเป็นร้อยละ 52.69 ผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาลเฉลี่ย 3.50 ± 1.05 วัน พบการติดเชื้อแผลผ่าตัดจากไปรษณียบัตร 5 คน จากการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ 3 คน รวม 8 คน คิดเป็นร้อยละ 2.92 ทั้งหมดพบภายหลังจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลแล้ว ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน ใช้เวลาผ่าตัดนานกว่า T hour (percentile ที่ 75) และผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดมีอัตราการติดเชื้อมากกว่า แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: การเฝ้าระวังแผลผ่าตัดติดเชื้อภายหลังจำหน่าย จำเป็นจะต้องได้จำนวนผู้ป่วยที่ติดตามได้ให้มากที่สุด โดยอาศัยหลายวิธีร่วมกัน ใช้คำนิยามที่เป็นมาตรฐาน เพื่อให้ได้อัตราการติดเชื้อแผลผ่าตัดที่ถูกต้องที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Noy D, Creedy D. Postdischarge surveillance of surgical site infections : A multi-method approaches to data collection. Am J Infect Control 2002 ; 30 : 417-24.
Yokoe DS, Christiansen CL, Johnson R. Epidemiology of and surveillance for postpartum infections. Emmerg Infect Dis 7(5), 2001. Centers for Disease Control. Available from: http://id.medscape.com/govmt/CDC/EID/2001/V07.n05/e0705.11.yoko/mig.
วิลาวัลย์ เสนารัลน์, ดวงพร จินตโนทัยถาวร. การเฝ้าระวังโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. ใน: สมหวัง ด่านชัยวิจิตร, บรรณาธิการ. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: แอล ที เพรส; 2544. หน้า 39-56.
วิมลมาลย์ พงฆ์ฤทธิ์ศักดา, สุขินดา ธิติเสรี, สินี ยมาภัย, จารุกรณ์ วิศาลสวัสดิ์, บรรณาธิการ. การเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครราชสีมา: สมบูรณ์การพิมพ์; 2547. ภาคผนวก หน้า A 5-6.
ทิพวรรณ เลียบสื่อตระกูล, ภิเศก ลุมพิกานท์. หลักการ ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการเกิดภาวะไข้หลังผ่าตัดในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. Medical Progress CME 2003 ; 2 : 11-5.