ภาวะไขมันผิดปกติในเลือด ภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดและ การใช้ยาลดระดับไขมันในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

พินิจ แก้วสุวรรณ
ธัญญา เชษฐากูล

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือภาวะไขมันผิดปกติในเลือด ซึ่งพบร่วมกับผู้ป่วยเบาหวาน การรักษาภาวะไขมันผิดปกติดังกล่าวจึงนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สมาคมแพทย์โรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกาได้แนะนำให้ลดระดับไขมัน LDL-C ให้น้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และในปี พ.ศ.2548 ได้แนะนำให้ลดระดับไขมัน LDL-C ต่ำลงยิ่งขึ้น โดยผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 40 ปี (และมีระดับไขมัน LDL-C มากกว่า 135 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) ควรลดระดับไขมันให้น้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในกรณีที่ยังไม่มีโรคหัวใจ และหลอดเลือด และลดให้น้อยกว่า 75 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในกรณีที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดแล้ว การศึกษาภาวะไขมันผิดปกติในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวาน จึงมีความสำคัญ วัตถุประสงค์: เพื่อแสดงความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ปัจจัยที่อาจจะมีผลต่อความผิดปกติดังกล่าว แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติของไขมันในเลือดกับภาวะ แทรกซ้อนทางหลอดเลือดนอกจากนี้ยังแสดงถึงการรักษาความผิดปกติของไขมันโดยการใช้ยาลดระดับไขมันในเลือด ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างเดือนเมษายน-ธันวาคม 2546 จำนวน 1,000 ราย ที่คาดว่าจะมาติดตามการรักษาที่คลินิก ผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี เก็บข้อมูลเกี่ยวกับระดับการศึกษาและเศรษฐฐานะ ผู้ป่วยได้รับการตรวจร่างกายเพื่อค้นหาภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน ตรวจเลือดเพื่อวัดระดับไขมันในระยะ 6 เดือนแรกของการติดตามการรักษา บันทึกผลของการควบคุมเบาหวาน ระดับไขมันในเลือดและความชุกของภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน โดยอาศัยเกณฑ์จากแนวทางการรักษาผู้ป่วยเบาหวานโดยสมาคมแพทย์เบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 1,000 ราย อายุเฉลี่ย 59.4±6.8 ปี สัดส่วนเพศชายและเพศหญิงร้อยละ 27.3 และ 72.7 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารเท่ากับ 151.9±54.2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ค่าเฉลี่ยของ HbA1c เท่ากับ 7.9±2.1 มิลิกรัมต่อเดซิลิตร พบภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วยร้อยละ 70.5 เคยมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบร้อยละ 6.1 เคยมีโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 3.6 ค่าเฉลี่ยไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดเท่ากับ 203.8±47.2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ค่าเฉลี่ยระดับไขมัน LDL-C เท่ากับ 115.2±38.7 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ค่าเฉลี่ยระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์เท่ากับ 164.7±106.7 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ค่าเฉลี่ยระดับไขมัน HDL-C เท่ากับ 55.9±16.0 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จากการศึกษานี้พบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ร้อยละ 34.6 เท่านั้น ที่ได้รับยาลดระดับไขมันในเลือด โดยได้รับยาในกลุ่ม statin ร้อยละ 27.3 ได้รับยาในกลุ่ม fibrate ร้อยละ 5.9 และร้อยละ 1.4 ได้รับยาทั้ง 2 ชนิด มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับยาลดระดับไขมันในเลือด โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับไขมัน LDL-C เท่ากับหรือมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มีจำนวนร้อยละ 65.7 ที่ยังไม่ได้รับยาลดระดับไขมันในเลือด สรุป: ภาวะไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะระดับไขมัน LDL-C สูง เป็นความผิดปกติของไขมันที่มีความสำคัญที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แต่พบว่ามีผู้ป่วยเพียงแค่ร้อยละ 35 เท่านั้นที่ได้รับการรักษาโดยได้รับยาลดระดับไขมันในเลือด นอกจากนี้ จากการศึกษายังแสดงถึงความสัมพันธ์ของความผิดปกติของไขมันในเลือดกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดแต่อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ไม่สามารถแสดงความสัมพันธ์การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจกับความผิดปกติของไขมันในเลือด


 

Article Details

How to Cite
1.
แก้วสุวรรณ พ, เชษฐากูล ธ. ภาวะไขมันผิดปกติในเลือด ภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดและ การใช้ยาลดระดับไขมันในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. MNRHJ [อินเทอร์เน็ต]. 1 ตุลาคาม 2024 [อ้างถึง 19 พฤษภาคม 2025];30(1):35-48. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2012
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Haffner SM, Lehto S, Ronnemaa T, Pyorala K, Laakso M. Mortality from coronary heart discasc in subjects with type 2 diabetes and in nondiabetic subjects with and without prior myocardial infarction. N Engl J Med 1998; 339:229-34.

Pyorala K, Pedersen TR, Kjekshus J, Faergeman O, Olsson AG, Thoergersson G. Cholesterol lowering with simvastatin improves prognosis of diabetic patients with coronary heart disease. A subgroup analysis of the Scandinavian Simvastatin Survival Study (4S). Diabetes Care 1997;20:614-20.

Expert Panel on Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Cholesterol in Adults. Executive Summary of the Third Report of the National Cholesterol Education Program (NCEP) Expert Pancl on Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Cholesterol in Adults (Adult Treatment Panel IIII). JAMA 2001; 285:2486-97.

Heart Protection Study Collaborative Group: MRC/BHF Heart Protection Study of cholesterol-lowering with simvastatin in 5963 people with diabetes: a randomised placebocontrolled trial. Lancet 2003; 361: 2005-16.

Colhoun HM, Betteridge DJ, Durrington PN, Hitman GA, Neil HA, Livingstone SJ, et al. Primary prevention of cardiovascular disease with atorvastatin in type 2 diabetes in the Collaborative Atorvastatin Diabetes Study (CARDS): multicentre randomised placebo-controlled trial. Lancet 2004;364:685-96.

Cannon CP, Braumwald E, McCabe CH, Rader DJ, Roulcau JL, Belder R, et al. Intensive versus moderate lipid lowering with statins after acute coronary syndromes. N Engl J Med 2004; 350: 1495-504.

de Lemos JA, Blazing MA, Wiviott SD, Lewis EF, Fox KA, White HD, et al. Early intensive vs a delayed conser- vative simvastatin strategy in patients with acute coronary syndromes: phase Z of the A to Z trial. JAMA 2004; 292: 1307-16.

Nissen SE, Tuzcu EM, Schoenhagen P, Brown BG,Ganz P, Vogel RA, etal. Effect of intensive compared with moderate lipid-lowering therapy on progression of coronary atherosclerosis: a randomized controlled trial. JAMA 2004;291:1071-80.

American Diabetes Association. Position Statement: Standard of Medical Care in Diabetes. Diabetes Care 2005; 28: S4-S36.

Report of the expert committce on the diagnosis and classification of diabetes mellitus. Diabetes Care 26: S5-S20.

Wilkinson CP, Ferris FL 3rd, Klein RE, Lee PP, Agardh

CD, Davis M, et al. Proposed international clinical diabetic retinopathy and diabetic macular edema disease severity scales. Ophthalmology 2003; 110: 1675-6.