พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองในศูนย์เด็กเล็กเทศบาลตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

กันทิมา เหมพรหมราช

บทคัดย่อ

เด็กก่อนวัยเรียนยังไม่สามารถดูแลตนเองได้มากนัก ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ปกครองในการดูแลทันตสุขภาพเพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมที่ถูกต้องตลอดจนดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองเมื่อโตขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง วัสดุและวิธีการ: สัมภาษณ์ผู้ปกครองของเด็กอายุ 3-6 ปี ในศูนย์เด็กเล็กเทศบาลตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ด้วยแบบสัมภาษณ์ ที่สร้างขึ้นและผ่านการทดสอบแล้ว ในเดือนมกราคม พ.ศ.2547 ผลการศึกษา: ผู้ปกครองของเด็กที่ได้รับการสัมภาษณ์จำนวน 55 ราย ส่วนใหญ่เป็นบิดามารดา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 38.4±12.0 ปี การศึกษาในระดับประถมและมัธยมศึกษา มักมีอาชีพรับจ้างหรือเกษตรกรรม ส่วนใหญ่มีความรู้ด้านทันตสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 58.2 ผู้ปกครองมีความรู้ไม่ถูกต้องคือ เวลาที่ควรแปรงฟันให้เด็ก จำนวนซี่ฟันน้ำนมในช่องปาก การขึ้นของฟันแท้ซี่แรกและลักษณะเริ่มแรกของโรคฟันผุ ส่วนทัศนคติด้านทันตสุขภาพอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 65.5) แต่มีบางประเด็นที่ไม่ถูกต้อง คือถ้าเด็กแปรงฟันได้ด้วยตนเองผู้ปกครองควรปล่อยให้เด็กแปลงฟันเอง ไม่ควรถอนฟันหรือทำการรักษาได ๆ ขณะมีอาการปวด บวม อักเสบ การถอนฟันน้ำนมก่อนกำหนดทำให้เด็กเสียประสาท และไม่แน่ใจว่าการรมควันเพื่อเอาตัวหนอนหรือแมงกินฟันออกสามารถรักษาฟันผุได้จริง การปฏิบัติในการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 69.1 ผู้ปกครองปฏิบัติตนไม่ถูกต้องคือ การซื้อขนมหวานขนมกรุบกรอบบรรจุถุงให้เด็กรับประทาน ภายหลังรับประทานแล้วผู้ปกครองดูแลให้เด็กบ้วนปาก การพาเด็กไปรับบริการตรวจฟันทุก ๆ 6 เดือน การตรวจดูเหงือกและฟันให้เด็กภายหลังการแปลงฟัน การแปรงฟันซ้ำให้เด็กภายหลังจากที่เด็กแปรงฟันแล้ว และสภาวะทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนพบว่ามีโรคฟันผุร้อยละ 63.4 สรุป: ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนส่วนใหญ่มีความรู้ ทัศนคติการปฏิบัติในการดูแลและป้องกันทันตสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ปานกลางและสูง และสภาพวะทันตสุขภาพของเด็กพบว่าส่วนใหญ่มีปัญหาฟันผุ

Article Details

How to Cite
เหมพรหมราช ก. (2024). พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองในศูนย์เด็กเล็กเทศบาลตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 30(2), 103–110. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2027
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สุรางค์ เชษฐพฤนท์, เพ็ญทิพย์ จิตต์จำนงค์, บุบผา ไตโรจน์.ศรีสุดา ลีละศิธร.ผลการสำรวจสภาวะโรคฟันฟันผุของเด็กไทยวัยก่อนเรียน อายุ 3 ปี พ.ศ. 2545.

กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือสำหรับผู้ดูแลเด็ก และครูในการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในเด็กก่อนวัยเรียน. กรุงเทพมหานคระ กระทรวงสาธารณสุข; 2536.

นาถนรินทร์ หอสัจจกุล. ความสัมพันธ์ของความรู้และการปฏิบัติงานด้านทันตสาธารณสุขของแม่ต่อลูกวัย 3 ปี กับสภาวะโรคฟันผุของลูกในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยาสารทันตแพทธศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2539; 19: 227-34.

ละเอียด ดิมฐ์เเย้ม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการ เลี้ยงดูลูกที่เกี่ยวข้องกับหันตสุขภาพ. นิตยสารโรงพยาบาลกลาง 2540; 34: 63-70.

พงษ์ศักดิ์ วัฒนา. เด็กฟันผุมาจากบริโภคไม่เป็น. กฤตภาคข่าวอนามัยแม่และเด็ก 2537; 4: 61.

ทันตภูธร กระทรวงสาธารณสุข (2543). โครงการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเล็ก 0-12 ปี บนฐานความเชื่อ การรับรู้ และพฤติกรรมของเด็ก และผู้ดูแลเด็ก. Available from http://www.rdhc.i.am.

ประภาพรรณ โภคะสุวรรณ. การประยุกต์แบบแผนความ เชื่อด้านสุขภาพร่วมกับกระบวนการกลุ่มและการกระตุ้น

เตือนต่อพฤติกรรมมารดาในการดูแลทันตสุขภาพด็กก่อนวัยเรียน. ภาคนิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543.

พัชรินทร์ เล็กสวัสดิ์ และคณะ. พฤติกรรมการดูแลทันต สุขภาพในช่องปากเด็กเล็กกรณีศึกษาหมู่ในภาคเหนือ. รายงานการวิจัย, เอกสารโรเนียว; 2537.

องค์กรผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย. ฟันดีมีใช้ตลอดชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2539.

ปรารถนา ฮู้ผลเอิบ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะทันต สุขภาพของนักเรียนอนุบาล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง. รายงานการวิจัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง; 2541.

บุญเอื้อ ยงวานิชากร. สถานการณ์การดูแลสุขภาพช่องปาก และการใช้บริการทันตกรรมของประชาชน. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2544; 6: 105-17.

พัชราลักษณ์ เถื่อนนาดี, สุปรีดา อดุลอนนท์ การรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของชาวบ้าน: กรณีศึกมาป้ามะนาวอำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วิทยาสารทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2542; 2: 28-38.