เอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารก โดยกำหนดกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรม ได้แก่ การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อขณะตั้งครรภ์และขณะคลอด การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีแก่ทารกที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีตั้งแต่แรกเกิด และการเลี้ยงดูทารกด้วยนมผสม วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์และประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการป้องกันและลดการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารก ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา วิธีการศึกษา: เป็นแบบพรรณนาย้อนหลังในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์รายใหม่ หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวีทุกคนที่มาคลอดและทารกที่คลอดจากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวี ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2545 ถึง 31 ธันวาคม 2548 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย ผลการศึกษา: ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์มีแนวโน้มลดลง ในปี 2548 ความชุกเท่ากับร้อยละ 0.92 โดยความชุกในหญิงตั้งครรภ์อายุน้อยมีแนวโน้มสูงขึ้น ผลการดำเนินงานตามโครงการป้องกันและลดการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกพบว่าหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 293 คน เคยฝากครรภ์ร้อยละ 82.8 ทราบผลเลือดก่อนคลอดร้อยละ 82.6 ได้รับยาต้านไวรัสขณะตั้งครรภ์ร้อยละ 71.7 และขณะคลอดร้อยละ 67.6 ทารกเกิดจากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อจำนวน 295 คน คลอดทางช่องคลอดร้อยละ 74.9 ได้รับยาต้านไวรัสร้อยละ 93.2 และได้รับนมผสมร้อยละ 52.5 ทารกสามารถวินิจฉัยสถานภาพการติดเชื้อได้จำนวน 75 คน (ร้อยละ 25.4) พบอัตราการติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 4 มารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีและทารกได้รับการดูแลครบถ้วนตามโครงการฯ จำนวน 106 คน (ร้อยละ 35.9) และหากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีและทารกได้รับการดูแลครบถ้วนตามโครงการฯ อัตราการติดเชื้อเอชไอวีลดลงเหลือร้อยละ 2.1 สรุป: ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ปี พ.ศ.2548 เท่ากับร้อยละ 0.92 และการดำเนินงานตามโครงการป้องกันและลดการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ทำให้อัตราการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกลดลง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
อมรา ทองหงษ์, ธนรักษ์ ผลิพัฒน์, สมบัติ แทนประเสริฐสุข, อรพรรณ แสงวรณลอย, กมลชนก เทพสิทธา,โชษิตา คุ้มตลอดและคณะ. ผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อ HIV ในประเทศไทย ประจำ2543 (รอบที่ 18) รายงานการเฝ้าระวังโรประจำเดือน 2544;32: S1-S15.
ธนรักษ์ ผลิพัฒน์. ผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย พ.ศ.2547. วารสารโรคเอดส์ 2548; 17:1-12.
Shaffer N, Chuachoowong R, Mock PA, Bhadrakorn C, Siiwasin W, Young NL, et al. Short-Course Zidovudine for perinatal HIV-1 transmission in Bangkok, Thailand: a randomised controlled trial. Bangkok Collaborative Perinatal HIV Transmission Study Group. Lancet 1999; 353: 773-80.
กิตตินันธ์ ไทยศรีวงศ์,นภคกร พูลประสาท, วิกรม ทางเรือเกศรินทร์ ไทยศรีวงศ์. อัตราการถ่ายทอดเชื้อเอซไอวิจากมารดาสู่ทารกจังหวัดจันทบุรี. วารสารโรคเอดส์ 2548; 17: 197-208.
กีรติกานต์ กลัดสวัสดิ์, ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ นิรมล รัตนสุพร. อัตราการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกในพื้นที่ศึกษานำร่อง8 จังหวัดพ.ศ.2542-2545. วารสารโรคเอดส์ 2548; 7: 73-86.
Lallemant M, Jourdain G, Le Coeur S. A Randomized. double-blind trial assessing the Efficacy of Single-Dose Perinatal Nevirapine added to a Standard Zidovudine Regimen for the Prevention of Mother-to-Child Transmission of HIV-I in Thailand. In: Program and abstracts of the 11th Conference on Retroviruses and Opportunistic Infections, San Francisco, February 8-11, 2004: 40. abstract.
Chalermchokcharoenkit A, Asavapiriyanont S, Teeraratkul A.Combination short-course zidovudine plus 2-dose nevirapine for prevention of mother-to-child transmission: safety, tolerance, transmission, and resistance results. In: Program and abstracts of the I Ith Conference on Retroviruses and Opportunistic Infections, San Francisco, February 8-11, 2004: 96. [abstract]
ธนรักษ์ ผลิพัฒน์, ธรีรัตน์ เชมนะสิริ การมีเพศสัมพัมพันธ์กับหญิงขายบริการทางเพศ และการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับหญิงขายบริการทางเพศ ประเทศไทย พ.ศ.2538-2546. วารสารโรคเอดส์ 2547; 123-31.
van Griensven F, Supawitkul S, Kilmarx P, Linpakava janavat K. Young NL, Manopaiboon C,et al. Rapid Assessment of Sexual Behavior, Drug Use, Human Immunodeficiency Virus, and Sexually Transmitted Diseases in Northem Thai Youth Using Audio-Computer~Assisted Self-Interviewing and Noninvasive Specimen Collection. Pediatrics 200l; 108: E13.