การรักษามะเร็งปากมดลูกระยะ Ib โดยการผ่าตัด Radical Hysterectomy and Pelvic Node Dissection ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

วิศาล ชาญพานิช

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาได้เริ่มพัฒนาการรักษามะเร็งปากมดลูกระยะ Ib ด้วยการผ่าตัดเมื่อเดือน กันยายน 2545 เนื่องจากวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะ Ib ที่ได้รับการผ่าตัด radical hysterectomy and pelvic node dissection ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะ Ib ที่ได้รับการผ่าตัด radical hysterectomy and pelvic node dissection ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่กันยายน 2545 ถึง ธันวาคม 2548 ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยทั้งหมด 44 ราย ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 41-50 ปี (ร้อยละ 75) น้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง 51-61 กิโลกรัม (ร้อยละ 43.2) ร้อยละ 36.4 มีรอยโรคขนาด 1-2 เซนติ เมตร และผู้ป่วยมีโรคประจำตัว 12 ราย ซึ่งทุกรายสามารถควบคุมโรคได้ดีก่อนผ่าตัด 2 ราย (ร้อยละ 4.5) มีระยะของโรคมากกว่า Ib  ระยะเวลาในการผ่าตัดส่วนมากอยู่ในช่วง 3-4 ชั่วโมง (ร้อยละ 47.7) ภาวะแทรกซ้อน ระหว่างผ่าตัดต่อระบบทางเดินปัสสาวะร้อยละ 11.3 ไข้หลังผ่าตัดภายใน 48 ชั่วโมง ร้อยละ 36.4 ระยะติดตามผู้ป่วยหลังผ่าตัด พบว่าผู้ป่วย 1 ราย ที่เป็น adenocarcinoma เกิด recurrence ขึ้นหลังผ่าตัด 8 เดือน สรุป: ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะ Ib ที่ได้รับการผ่าตัด radical hysterectomy and pelvic node dissection ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จำนวน 44 ราย มีการคัดเลือกผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาได้อย่างเหมาะสม ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ แม้ในรายที่มีโรคประจำตัวซึ่งสามารถควบคุมได้อย่างดีก่อนการผ่าตัด แต่บางรายมีการประเมินระยะโรคก่อนผ่าตัดยังไม่ดี ภาวะแทรกซ้อนระหว่างผ่าตัดต่อระบบทางเดินปัสสาวะค่อนข้างสูง แต่ปัญหาไข้ภายใน 48 ชั่วโมง หลังผ่าตัดอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยทั่วไป

Article Details

How to Cite
ชาญพานิช ว. (2024). การรักษามะเร็งปากมดลูกระยะ Ib โดยการผ่าตัด Radical Hysterectomy and Pelvic Node Dissection ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 30(2), S13-S20. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2034
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Van Nageil JR Jr, Parker JC Jr, Maruyama Y, et. al. Bladder or rectal injury following radiation therapy for cervical cancer. Am J Obstet Gynecol 1974; 119: 727-32.

Lawton FG, Hacker NF. Surgery for invasive gynecologic cancer in the elderly female population. Obstet Gynecol 1990;76:287-9.

Hatch KD, Parham G, Shingleton HM, et al. Ureteral strictures and fistula following radical hysterectomy. Gynecol Oncol 1984; 19: 17-23.

Webbb M, Symmonds R. Wertheim hysterectomy: a reappraisal. Obstet Gynecol 1979; 54: 140-5.

Piver M, Rutledge F, Smith J. Five classes oxtended hysterectomy for women with cervical cancer. Obstet Gynecol 1974; 44: 265-72.

สมเกียรติ ศรีสุพรรณดิฐ, ณัฐพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. มะเร็งปากมดลูก. ใน: วสันต์ ลีนะสมิต, สมเกียรติ ศรีสุพรรณดิฐ, บรรณาธิการ. คำรามะเร็งนรีเวชวิทยา เรียบเรียงใหม่ครั้งที่2. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: PB. Book. 2540. หน้า 447-82.

Boyee J, Fruchter R, Nicastri A. Prognostic factors in stage I carcinoma of the cervix. Gynecol Oncol 1981; 12: 154-65.

Orr JW Jr, Shingleton HM, Hatch KD. Correlation of perioperative morbidity and conization to radical hyterectomy internal. Obstet Gynecol 1982; 59: 726-31.