การเปรียบเทียบคุณภาพของฟิล์ม ห้าบริษัทโดยวิธีวัดสภาพไวแสง

Main Article Content

สุธี นัดพบสุข

บทคัดย่อ

การถ่ายภาพทางรังสีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับช่วยเสริมการวินิจฉัยในทางการแพทย์ ปัจจุบันมีหลายบริษัทที่ผลิตฟิล์มออกมาจำหน่าย แม้ว่าฟิล์มเอกซเรย์จะมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน แต่เมื่อนำมาใช้บันทึกภาพ กลับได้ภาพที่มีคุณภาพแตกต่างกัน วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบคุณภาพของฟิล์ม เพื่อประกอบการเลือกซื้อฟิล์ม ด้วยวิธีวัดสภาพไวแสง วิธีการทอสอบ: ทดสอบคุณภาพของฟิล์มเอกซเรย์ ห้าบริษัท (Kodak Fuji Agfa Konica CEA) ขนาด 14 x 17 นิ้ว จำนวนบริษัทละ 10 แผ่นในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โดยเครื่องวัดสภาพไวแสงของบริษัท X-Rite รุ่น 396 ผลการศึกษา: ฟิล์มเอกซเรย์ Fuji มีคุณสมบัติค่าความมัวพื้นฐานต่ำสุด ค่าละติจูดกว้างสุด ค่าความชันเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อัตราความเร็วสัมพัทธ์ใกล้เคียงกับบริษัทอื่น ความสามารถในการบันทึกค่าความทึบแสงสูงสุดและอันดับรองได้แก่ฟิล์ม CEA สรุป: สภาพไวแสงของฟิล์มเอกซเรย์ ห้าบริษัทในห้องมืดที่มีการควบคุมคุณภาพในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และฟิล์มที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดได้แก่ ฟิล์ม Fuji

Article Details

How to Cite
นัดพบสุข ส. (2024). การเปรียบเทียบคุณภาพของฟิล์ม ห้าบริษัทโดยวิธีวัดสภาพไวแสง. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 30(2), S21-S30. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2035
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

NCRP Report No. 99. 1988. Quality assurance for diagnostic imaging equipment. National Council on Radiation Protection and Measurement. Maryland: Bethesda; 1988. p.44-60.

การควบคุมคุณภาพของขบวนการล้างฟิล์มเอกซเรย์.ใน: จิตต์ชัย สุริยะไชยากร, มานัส มงคลสุข, มาลินี ธนารุณ, เชาวลิต วงย์เอก,บรรณาธิการ. การควบคุมคุณภาพของภาพ เอกซเรย์. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคระ พี.เลิฟวิ่ง; 2538. หน้า 27-64.

ลักษณะทางกายภาพของฟิล์มเอกชเรย์ และการล้างฟิล์ม. ใน: กฤตยา มนุญปีจุ, บรรณาธิการ เอกซเรย์ฟิสิกส์. นครราชสีมา: ตราเสือการพิมพ์; 2537. หน้า 134-45.

คุณสมบัติของฟิล์มเอกซเรย์ในการบันทึกภาพ.ใน : ประดิษฐ์ รัตนพานิช, กฤตยา มนุญญีปีจุ, สุธี นัดพบสุข, บรรณาธิการ. เอกซเรย์ฟิสิกส์และการถ่ายภาพรังสื. นครราชสีมา: ตราเสือการพิมพ์; 2524 หน้า 146-62.

Radiographic quality. In: Bushong Sc, editor. Radiologic Science for Technologist Physics, Biology, and Protection. 7th ed. St. Louis; Mosby; 2001.p.253-63.