อุบัติการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

สุวิทย์ จิตภักดีบดินทร์

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งในประเทศไทย และมักจะทำให้พบภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญต่อมารดาและทารกระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอด แม้ว่าอุบัติการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีแนวโน้มคงที่หรือเริ่มลดลงในบางประเทศ แต่อย่างไรก็ดีในประเทศไทยพฤติกรรมของวัยรุ่นมีความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ที่เร็วขึ้น ซึ่งเป็นผลจากสภาพแวดล้อมทางสังคม ความยากจน การว่างงาน การศึกษาน้อย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในวัยรุ่น ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังสตรีตั้งครรภ์ที่มาคลอดบุตรในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2547 ผลการศึกษา: พบมีสตรีตั้งครรภ์ที่มาคลอดบุตรทั้งสิ้น 24,837 คน เป็นสตรีตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2,761 คน คิดเป็นร้อยละ 11.11 และพบว่าสตรีตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซีดระหว่างฝากครรภ์ การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ ทารกคลอดน้ำหนักน้อยและภาวะทารกขาดออกซิเจนระหว่างการคลอดมากกว่าสตรีตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 20 ปี อย่างมีนัยสำคัญและเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสตรีตั้งครรภ์ในวัยรุ่นด้วยกันเอง พบว่าในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่อายุระหว่าง 11-14 ปี จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซีดระหว่างฝากครรภ์ การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ ทารกคลอดน้ำหนักน้อยและทารกเสียชีวิตปริกำเนิดมากกว่ากลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่อายุระหว่าง 15-17 ปี และ 18-19 ปี อย่างมีนัยสำคัญ สรุป: สตรีตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่มาคลอดในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ในช่วงระหว่างปี 2545-2547 พบได้ร้อยละ 11.11 ถือว่าอุบัติการณ์ค่อนข้างสูงและพบว่าสตรีตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีความเสียงต่อภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และขณะคลอดซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทั้งมารดาและบุตร

Article Details

How to Cite
จิตภักดีบดินทร์ ส. (2024). อุบัติการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 30(2), S39-S46. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2038
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักส่งเสริมสุขภาพ สรุปผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก 2543-2546. นนทบุรี: กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข.

Obstetric audit: Statistical report 1996-2002 A.D. Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn university.

Joseph NP. Pregnancy in adolescence. In : Sanfillippo IS, Muram D, Dewhurst J. Lee PA, editors. Pediatric and adolescent gynecology. Philadelphia: Sounders; 2001:318-31.

Konje JC, Palmer A, Watson A, Hay DM. Early teenage pregnancy in Hull. BrJ J Obstet Gynacol 1992;99:969-73.

Corde-Agudelo A, Belizan JM, Lammer C. Maternal-perinatal morbidity and mortality associated with adolescent pregnancy in Latin America: Cross-sectional study. Am J Obstet Gynecol 2005; 192: 342-9.

Alison M., John E., R.H. Association of young matemal age with adverse reproductive outcome. N Engl J Med. 1995;322:1113.

รักชายบุหงาชาติ, สุธรรม ปิ่นเจริญ. มารดาวัยรุ่นครรภ์แรกกับการกำเนิดหารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย. Songkla Med J 1998; 16: 113-23.

Saeid B., Parick M, Leroy J,Leon I. Birth to teenagers: trends and obstetric outcome. Obstet Gynecol 1996; 87: 668-74.

Ziadeh S. Obstetric outcome of teenage pregnancies in North Jordan. Areh Gynecol Obstet 2001; 265: 26-9.

Lao TT, Ho LF. Obstetric outcome of teenage pregnancies. Hum Reprod.1998; 13(11): 3228-32.

Olausson PO, Nattingius SC, Haylund B. Teenage pregnancies and risk of late fetal death and infant mortality. Br J Obstet Gynecol 19999; 106: 116-21.