ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด Gestational trophoblastic disease: ประสบการณ์ 5 ปี ในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

Main Article Content

ดนัย สังข์ทรัพย์

บทคัดย่อ

ครรภ์ไข่ปลาดุกและมะเร็งไข่ปลาดุก (Gestational trophoblastic disease, GTD) เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการแบ่งตัวมากผิดปกติของเซลล์ trophoblast ซึ่งเกิดจากการตั้งครรภ์ จะพบมากในประเทศซีกโลกตะวันออกมากกว่าในประเทศซีกโลกตะวันตกประมาณ 5-10 เท่า วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของจำนวนการตั้งครรภ์และอายุต่อการเกิด GTD ในโรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งอาการนำที่ทำให้ผู้ป่วย GTD มาพบแพทย์มากที่สุด วัสดุและวิธีการ: ศึกษาย้อนหลังโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วย GTD และหญิงที่มาฝากครรภ์ ในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ในช่วง ปี พ.ศ. 2543-2547 โดยต้องมาฝากครรภ์ในเดือนและปีเดียวกันกับผู้ป่วย GTD และคัดเลือกโดยวิธีสุ่ม ผลการศึกษา: ความชุกของการเกิด GTD ในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ตั้งแต่ปี 2543-2547 เท่ากับ 1.75:1,000 อายุเฉลี่ยของผู้ป่วย GTD คือ 26.7 ± 10.2 ปี โดยอายุของผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิด GTD (p>0.05) ส่วนจำนวนการตั้งครรภ์ พบว่าในการตั้งครรภ์มากว่า 2 ครั้ง ัมพันธ์กับการเกิด ีเดียวกันกับผู้ป่วย เมื่อการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น 1 ครั้ง จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด GTD 1.5 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อาการสำคัญที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์มากที่สุดคือ มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดคิดเป็นร้อยละ พทย์มากที่สุดคือ มีเลือดออกผิดป63.6 รองลงมาคือมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดร่วมกับตรวจมองเห็น mole หลุดมาทางช่องคลอดคิดเป็น ร้อยละ 13.6 สรุป: ในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ในช่วงปี พ.ศ. 2543 - 2547 พบผู้ป่วย Gestational trophoblastic disease (GTD) 22 ราย ที่ได้รับการยืนยันด้วยผลทางพยาธิวิทยา มีอายุเฉลี่ย 26.7 ± 10.2 ปี โดยที่การเกิด GTD มีความสัมพันธ์กับจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ และไม่มีความสัมพันธ์กับอายุของผู้ป่วย


 

Article Details

How to Cite
สังข์ทรัพย์ ด. (2024). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด Gestational trophoblastic disease: ประสบการณ์ 5 ปี ในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 29(3), 167–174. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2077
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Sebire NJ, Fisher RA, Foskett M, Rees H, Seckl MJ, Newlands ES. Risk of recurrent hydratidiform mole and subsequent pregnancy outcome following complete or partial hydratidiform molar pregnancy. BJOG 2003; 110: 22-6

Fallahian M. Familial gestational trophoblastic disease. Placenta 2003; 24: 797-9.

Chong CY, Koh CF. Hydratidiform mole in Kandang Kerbau Hospital-A 5 Year Review. Singapore Med J 1999; 40: 256-70.

ธีระ ทองสง, จตุพล ศรีสมบูรณ์, อภิชาต โอฬารรัตนชัย. นรีเวชวิทยา (ฉบับสอบบอร์ดเรียบเรียง ครั้งที่ 2: 2539). กรุงเทพมหานคระ พี.บี. ฟอเรน บุ๊คส์ เซนเตอร์, 2539; หน้า 279-93.

Steigard SJ. Epidemioblogy of gestational trophoblastic diseases. Best Pract Res Clin Obstet Gygaecol 2003;17: 837-47.

Altieri A, Franceschi S, Ferlay Smith I, La Vocchai C. Epidemiology and actiology of gestational trophoblastic disease. Lancet Oncol 2003; 4: 670-8.

Khoo SK. Clinical aspects of gestational troblastic disease: a review based partly on 25-year experience of a statewide registry. Aust N Z Obstet Gynaecol 2003; 43: 280-9.

Djamhoer M. Gestational Trophoblastic Discase-Detection and Management. J Paeds Obstet Gynecol 1991; May/June: 5-10.

Berkowitz RS, Goldstien DP, Bemstien MR, Sablinski B. Subsequent pregnancy outcome in patients with molar pregnancy and gestational trophoblastic tumours. Re- prod Med 1987; 32: 680-4.

Bagshawe KD. Risk and Prognostic Factor in Tropho~ blastic Neoplasis. Cancer 1976; 38: 1373-85.