การใช้บอลลูนขยายลิ้นหัวใจไมตรัลในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา : ประสบการณ์ส่วนตัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: การใช้บอลลูกขยายลิ้นหัวใจไมตรัลพบว่าการรักษาได้ผลดี ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการผ่าตัดหัวใจ คนไข้นอนโรงพยาบาลสั้นกว่า สามารถทำงานได้ภายใน 1-2 วันหลังทำการรักษา วัตถุประสงค์: เพื่อรายงานผลของการใช้บอลลูนขยายลิ้นหัวใจไมตรัลในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างช่วงปีพ.ศ. 2542-2544 ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยที่ได้รับการใช้บอลลูนขยายลิ้นหัวใจไมตรัล ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2542-2544 ซึ่งผู้ป่วยต้องเหมาะสมในการรักษาและมีค่า mitral score น้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 ผลการศึกษา: ผู้ป่วยได้รับการใช้บอลลูนขยายลิ้นหัวใจไมตรัล จำนวน 44 ราย เพศชาย 6 ราย (ร้อยละ 13.6) เพศหญิง 38 ราย (ร้อยละ 86.4) ผู้ป่วยตั้งครรภ์ 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.6 อายุเฉลี่ย 38 ± 5.9 ปี สมรรถภาพในการทำกิจวัตรประจำวันส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 3 (ร้อยละ 81.8) สามารถทำได้สำเร็จ จำนวน 41 ราย คิดเป็น ร้อยละ 93 โดยหลังจากผู้ป่วยได้รับการขยายลิ้นหัวใจไมตรัลแล้วพบว่ามีการลดลงของแรงดันในเส้นเลือดแดงพัลโมนารี่, แรงดันเฉลี่ยในเอเตรียมซ้าย, ความแตกต่างของแรงดันระหว่างเอเตรียมซ้ายและเวนตริเคิลซ้ายและเวนตริเคิลซ้ายลดลงอย่างมากและพื้นที่ของการเปิดลิ้นไมตรัลขยายได้ผลดี ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่ เลือดออกในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ 2 ราย (ร้อยละ 4.6) และลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วมากเกินไป 1 ราย (ร้อยละ 2.3) โดยไม่พบการเสียชีวิตหรือการเกิดลิ่มเลือดกระจายไปสู่สมองการติดตามหลังการรักษาเป็นระยะเวลานาน 6 เดือนพบว่าผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สรุป : การใช้บอลลูนขยายลิ้นหัวใจไมตรัลในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา สามารถทำได้สำเร็จสูง โดยที่เวลาในการทำหัตถการและภาวะแทรกซ้อนอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Kiatchoosalzun S, Silaruks S, Tatsamavivat P, Klungboonkrong V, Tansuphasswadikul S. Percutaneous balloon mitral valvulotomy with transesopliageal echocardiographic monitoring : experience in Kikon Kaen University. J Med Assoc Thai 2000; 83: 1486-91.
Phankingthonglaum R, Chotinaiwatarakul C, Punchavinnin P, Tresukosol D, Jakrapenichakul D, Sahasal Y, et al. Efficacy and safety of percutancous metallic mitral valvuloplasty in rheumatic mitral stal stanosis Siriraj Hospital. J Med Assoc Thai 2002; 85:405-15.
Jung B, Cormier B , Ducimetiere Porte IM, Garbarbarz E, Michel PL, et al. Immediate results of percutaneous mitral commissurototomy. Circulation 94:2124-2130, 1996
Chen CR, Cheng TO. Percutancous balloon mitral val- vuloplasty by Inoue technique: A multicenter study of 4,832 patients in China. Am Heart 1995; 129:1197-203.
Inoue K, Owaki T, Nakamura T, Kitamura F, Miyamoto N.Climical application of transvenous mital commissurotomy by a new balloon catheter. I Thoraco Cardiovasc Surg 1984; 87: 394-402.
Wilkins GT, Weyman AE, Abascal VM, Block PC, Palacios IF. Percutancous balloon dilatation of the mitral valve: An analysis of echocardiographic variasbles related to outcome and the mechanism of dilation. Br Heart J 1988; 60: 299-308.