ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากยาคลอโรควินที่ใช้ในผู้ป่วยโรคข้อและรูมาติสซั่ม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: คลอโรควินเป็นยาที่มีประโยชน์และใช้กันมานานในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลูปัส และโรคในกลุ่มเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอักเสบอื่น ๆ โดยมีผลบรรเทาอาการข้ออักเสบ ลดความรุนแรงของโรค (DMARDS) ในโรคข้ออักเสบรุมาตอยด์ และบรรเทาอาการผิวหนังอักเสบที่เกิดจากแพ้แสงในโรคลูปัส มีราคาถูกและกินวันละครั้ง ผลข้างเคียงน้อย แต่ผลข้างเคียงของคลอโรควินที่รุนแรงที่สุด คือผลต่อตา (retinopathy) ซึ่งอาจทำให้เกิดเสียการมองเห็นถาวรได้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลข้างเคียงทั่วไป, ผลข้างเคียงที่รุนแรงทางตา, ขนาดของยาต่อวันที่เหมาะสมและปลอดภัยของยาคลอโรควินในผู้ป่วยที่คลินิกโรคข้อและรูมาติสซั่ม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยโรคข้อรูมาติสซั่ม ที่รับการรักษาด้วยยาคลอโรควิน ในคลินิกโรคข้อ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ในช่วงเวลาตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2540 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยทั้งหมด 123 ราย เป็นหญิง 105 ราย (ร้อยละ 85.4) ชาย 18 ราย เป็นโรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ 73 ราย โรคลูปัส 49 ราย โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอักเสบแบบผสม 1 ราย ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มใช้ยาจนเกิดอาการมีผลข้างเคียงเกิดขึ้น 20 ครั้ง ในผู้ป่วย 18 ราย (มี 2 รายพบอาการข้างเคียง 2 อย่าง) เป็นอาการทางตา 9 ราย (ร้อยละ 7.3), อาการปวด/เวียนศีรษะ 7 ราย, อาการทางผิวหนัง 3 ราย และปวดท้อง 1 ราย ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มใช้ยาจนเกิดอาการทางตาเท่ากับ 5-44 เดือน โดยตรวจพบลานสายตาผิดปกติ 3 ราย, maculopathy 5 ราย และอีก1 ราย ไม่ทราบผลการตรวจตา สรุป ยาคลอโรควินเป็นยาที่มีประโยชน์ โดยผลข้างเคียงที่รุนแรงทางตาพบน้อยเพียง ร้อยละ 7.3 แต่ในผู้ป่วยทุกรายที่จะเริ่มใช้ยาควรตรวจตาก่อนที่จะเริ่มใช้ยา เฝ้าระวังผลข้างเคียงซักถามอาการทางตาทุกครั้งที่ผู้ป่วยมารับการรักษาและควรได้รับการตรวจตาจากจักษุแพทย์ 1-2 ครั้งต่อปี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Milchell D. Epidemiology of Rheumatoid arthritis. In: Utsinger PD, Zuaifler NJ, Ehrich GE, editors. Rheumatoid Arthritis. Etiology. Diagnosis. Management. Philadelphia: JB Lippincott 1985; p 133-50.
สุรศักดิ์ นิลกานุวงศ์. สาเหตุและพยาธิกำเนิดของโรคข้อ อักเสบรูมาตอยค์ ใน:สุรศักดิ์ นิลกานุวงศ์, กิตติ โตเต็ม โชคชัยการ, บรรณาธิการ. ไรคข้ออักเสบรูมาตอยด์. กรุงเทพฯ : บริษัท ฮั่วน้ำพริ้นดิ้ง จำกัด 2543; หน้า 1-9.
Felson DT, Anderson JJ, Meenam RF. The comparative efficacy and toxicity of second lime drug in rheumatoid arthritis. Arthritis Rheum 1990; 33 : 1449-61.
Rynes RI. Antimalarial Drugs. In : Shaun R, Edward D, Harris Jr, Sledge CB ,editors. Text book of Rheumatology. 6th ed. Philadelphia: WB Saunder 2001; p 859-67.
Rynes RI. Antimalarial drugs in the treatment of of rheumatic discase. Up to date CD-ROM version 11.3; 2003.
Hahn. Management of Systemic lupus erythematosus. In : Shaun R, Edward D. Harris Ir, Sledge CB,editors. Text book of Rheumatology. 6th ed. Philadelphia: WB Saunder 2001. p 1126-7.
Levy GD, Munz SJ, Paschal J. Incidence of hydroxy chloroquine retinopathy in 1,207 patients in a large multicenter outpatient practice. Arthritis Rheum 1997; 40: 1482-6.
Antimalarial workshop. J Rheumatol 1997; 24: 1393.
Easterbrook M, Bernstein H. Opthalmological monitoring of patients taking Antimalarials: Preferred practice patterns. J Rheumatol 1997; 24:1390-2.
กิตติ โตเต็ม โชคชัยการ. การประเมินผลการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์. ใน: สุรศักดิ์ นิลกานุวงศ์, กิตติ โตเต็มโชคชัยการ, บรรณาธิการ.ไรคข้ออักเสบรูมาตอยด์. กรุงเทพฯ: บริษัทฮั่วน้ำพริ้นดิ้ง จำกัด 2543; หน้า 90-101.
Rynes , RI, Bemstein, HN. Ophthalmologic safty profie of antimalarial drugs. Lupus 1993; 2 (suppl 1): S17.
Leeungurasatien P, Eiumtralcul P. Chloroquine retinopathy in Chiangmai, 1 year study. Thai J Ophthalmology 2000; 14 : 7-15.
Puavilai S, Kunavisarut S, Vatanasuk M. Ocular toxicity of chloroquine among Thai patients. Intern J Dermatology 1999; 38: 934-7.
Mackenzie AH. Dose requrirements in long-term therapy of rheumatoid arthritis with antimalarial. Am J Med 1983; 75 (suppl 1A) : 40-5.