อัตราการรอดชีวิตภายหลังการช่วยฟื้นคืนชีพในหอผู้ป่วยอายุกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
เป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยที่รับไว้รักษาตัวในกลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 30 กันยายน 2546 จำนวน 293 ราย พบผู้ป่วยหญิงเพียง 33 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.3 อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยทั้งหมดเท่ากับ . sease and the severity of 57.6 ± 14.9 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่นอนอยู่ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมสามัญ (ร้อยละ 94.5) ส่วนมากเป็นผู้ป่วยหนักมาก พบโรคปอดอักเสบชนิดที่มีการหายใจล้มเหลวร่วมด้วยจำนวนร้อยละ 13.7 โรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 10.9 โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ร้อยละ 8.9 ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ร้อยละ 8.2 ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ร้อยละ 6.5 ภาวะหัวใจล้มเหลว ร้อยละ 6.1 และภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ร้อยละ 4.8 จังหวะของการเต้นของหัวใจขณะหัวใจหยุดเต้นที่พบบ่อยที่สุดในการศึกษานี้คือ ภาวะ asystoly พบถึง ร้อยละ 95.5 ระยะเวลาในการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น ส่วนมากเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมงหลังจากนอนโรงพยาบาล (ร้อยละ 65.5) ผลของการช่วยฟื้นคืนชีพในผู้ป่วยจากการศึกษานี้ พบอัตราการรอดชีวิตภายหลัง 1 ชั่วโมงแรกเท่ากับ ร้อยละ 37.9 ภายหลัง 24 ชั่วโมงแรก เท่ากับ ร้อยละ 6.1 มีผู้ป่วยเพียง 7 ราย จากจำนวน 293 ราย ที่สามารถมีชีวิตรอดกลับบ้านได้ ปัจจัยที่อาจจะมีผลต่ออัตราการรอดชีวิตคือ อายุของผู้ป่วย โรคที่เป็นและความรุนแรงของโรค จังหวะของหัวใจขณะเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น และความชำนาญในการช่วยฟื้นคืนชีพในผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
The American Heart Association in collaboration with the International Liaison Committee on Resuscitation. Guidelines 2000 for cardiopulmonary resuscitation and emergency cardiac care. Circulation 2000; 102: I1-38.
Pepe PE, Levine RL, Fromm RE Jr, Curka PA, Clark PS, Zachariah BS. Cardiac arrest presenting with rhythms other than ventricular fibrillation: contribution of resuscitative efforts toward total survivorship. Crit Care Med 1993; 21: 1838-43.
Sanders AB,Kem KB, Berg RA, Hilwig RW, Heidenrich J, Ewy GA. Survival and neurologic outcome after cardiopulmonary resuscitation with four different chest compression-ventilation ratios. Ann Emerg Med 2002; 40: 553-62.
Plaisance P, Lurie KG, Vicaut E, Adnet F, Petit JL, Epain D, et al. A comparison of standard cardiopulmonary resuscitation and active compression-decompression resuscitation for out-of-hospital cardiac arrest. N Engl J Med 1999; 341: 569-75.