การศึกษาเปรียบเทียบความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายในตู้อบเด็ก แบบไม่เพิ่มความชื้น และแบบเพิ่มความชื้น ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

ชูเกียรติ เพิ่มทองชูชัย
โยธี ทองเป็นใหญ่

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: การปกป้องทารกแรกเกิดจากการสูญเสียความร้อนจะเพิ่มอัตรารอดชีวิตของทารกได้ ปัจจุบันทารกแรกเกิดก่อนกำหนดมักได้รับการดูแลภายในตู้อบเด็กที่สามารถควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ โดยที่การสูญเสียความร้อนของทารกโดยการระเหยของน้ำจะเพิ่มขึ้น เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายในตู้อบเด็กลดลง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายในหอผู้ป่วยและภายในตู้อบเด็กชนิดไม่เพิ่มความชื้นและเพิ่มความชื้น วิธีการศึกษา: วัดอุณหภูมิและความ ชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายในตู้อบเด็กชนิดควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติผนัง 2 ชั้น 2 ชนิดคือ ชนิด Air-shields และ Atom เมื่อตั้งอุณหภูมิภายในตู้อบเด็กระหว่าง 29 ถึง 35 องศาเซลเซียส ขณะที่ไม่เติมน้ำกลั่นและเมื่อมีการเติมน้ำกลั่นลงในตู้อบระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2543 ถึงเดือนตุลาคม 2546 ผลการศึกษา: ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายในหอผู้ป่วยจะสูงสุดในฤดูฝนเฉลี่ยร้อยละ 59.3 และต่ำสุดในฤดูหนาวเฉลี่ยร้อยละ 44.6 แต่ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายในตู้อบลดลงเมื่อมีการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิภายในตู้อบอย่างมีนัยสัมคัญ (P< 0.001) เมื่อไม่ได้เติมน้ำกลั่นความชื้นความชื้นสัมพัทธ์จะขึ้นสูงสุดในฤดูฝนและต่ำสุดในฤดูหนาว หลังจากมีการเติมน้ำกลั่นลงในตู้อบพบว่าความชื้นสัมพัทธ์จะสูงขึ้นในทุกฤดูอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.001) โดยไม่พบความแตกต่างระหว่างตู้อบเด็กทั้ง 2 ชนิด สรุป: ความชื้นสัมพัทธ์ภายในตู้อบเด็กลดลงเมื่ออุณหภูมิภายในตู้อบเพิ่มขึ้นทั้งตอนได้เติม และไม่ได้เติมน้ำกลั่น และความชื้นสัมพัทธ์ภายในหอผู้ป่วยมีความแตกต่างกันในแต่ละฤดู

Article Details

How to Cite
เพิ่มทองชูชัย ช., & ทองเป็นใหญ่ โ. (2024). การศึกษาเปรียบเทียบความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายในตู้อบเด็ก แบบไม่เพิ่มความชื้น และแบบเพิ่มความชื้น ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 28(2), 101–108. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2105
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

LeBlanc MH. The physical environment In: Fanaroff AA, Martin RJ, editors. Neonatal-perinatal medicine: diseases of the fetus and infant. 7th ed. Philadelphia: Mosby-year book 2002; p. 512-29.

ทองสวย สีทานนท์, วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, ปริศนา สุนทรไชย. ภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกเกิดก่อนกำหนดโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. พยาบาลสาร 2542; 26: 13-25.

วราภรณ์ แสงทวีสิน. Thermoregulation in the neonate ใน: วิไล ราตรีสวัสดิ์, สุนทร ฮ้อเผ่าพันธ์, บรรณาธิการ. ปัญหาทารกแรกเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ดีไซร์ 2540; หน้า 59-68.

Rutter N. Thermoregulation. In: Mclntosh N, Helms PJ, Smyth RL, editors. Forfar & Arneil's Textbook of pediatrics. 6th ed. London: Churchill Livingstone 2003; p. 222-6.

Baumgart S, Harrsch SC, Touch SM. Thermal regulation. In: Avery GB, Fletcher MA, Macdonald MG, ediors. Neonatology pathophysiology and management of the newborn. 5th ed. Philadelphia: Lippincott Wiliams & Wilkins 1999; p. 395-408.

อุรพล บุญประกอบ. การจัดหน่วยบริบาลพิเศษสำหรับทารกแรกเกิด. ใน: ประพุทธ ศิริปุณย์, ธุรพล บุญประกอบ. บรรณาธิการ. ทารกแรกเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เรือนเเก้วการพิมพ์ 2533; หน้า 473-82.

Stoll BJ, Kleigman RM. The high risk infant. In: Behrman RE, Kliegman RM, Jenson HB, editors.Nelson Textbook of pediatrics. 17th ed. Philadelphia: WB Saunders 2004; p. 547-59.

Harpin VA, Rutter N. Humidification ofincubators. Arch Dis Child 1985; 60: 219-24.

Hammarlund K, Sedin G. Transepidermal water loss in newborn infants.III. Relation to gestational age. Acta Pediatr Scand 1979; 68: 795-801.