การตัดมดลูกในระยะคลอดหรือหลังคลอด ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

พิชิต เผื่อนงูเหลือม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ : การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอุบัติการณ์ ปัจจัยเสี่ยง ข้อบ่งชี้ ภาวะแทรกซ้อน และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดมดลูกในระยะคลอดหรือหลังคลอด วิเคราะห์จากผู้ป่วย 106 รายที่ได้รับการตัดมดลูก พบอุบัติการณ์ 1.47 ต่อ 1,000 การคลอด ปัจจัยเสี่ยงที่พบได้แก่ ผู้ป่วยที่มีการตกเลือดก่อนคลอด ทารกเสียชีวิตในครรภ์ก่อนคลอด ตั้งครรภ์แฝด ไม่ได้รับการฝากครรภ์ เคยคลอดบุตรตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป มีภาวะความดันโลหิตสูงก่อนคลอด เคยผ่าตัดคลอดบุตร คลอดบุตรน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตร โดยมีข้อบ่งชี้ตัดมดลูกจาก ภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว (ร้อยละ 40.6 ) ภาวะรกเกาะติดแน่น (ร้อยละ 27.4 ) ภาวะรกเกาะต่ำ (ร้อยละ 7.5) และอื่น ๆ เป็นการตัดมดลูกแบบออกไม่หมด โดยเหลือปากมดลูก ร้อยละ 64.2 และต้องให้เลือดทดแทนถึงร้อยละ 87.7 ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่พบได้แก่ ภาวะไข้หลังผ่าตัด (ร้อยละ 14.2) และภาวะอื่น ๆ โดยมีเสียชีวิต 3 ราย (ร้อยละ 2.8 ) เวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 6.80 วัน และค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 11,943.92 บาทต่อราย

Article Details

How to Cite
1.
เผื่อนงูเหลือม พ. การตัดมดลูกในระยะคลอดหรือหลังคลอด ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. MNRHJ [อินเทอร์เน็ต]. 16 ตุลาคาม 2024 [อ้างถึง 16 กรกฎาคม 2025];27(2):113-22. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2145
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Durfee RB. Evolution of cesarean hysterectomy. Clin Obstet Gynecol 1969; 12: 575-89.

Stanco LM, Schrimmer DB, Paul RH, Mishell DR. Emergency peripartum hysterectomy and associated risk factors. Am J Obstet Gynecol 1993; 168: 879-83.

Zelop CM, Harlow BL, Frigoleto Jr FD, Safon LE, Saltz- man DH. Emergency peripartum hysterectomy. Am J Obstet Gynecol 1993; 168: 1443-8.

Bakshi S and Meyer BA. Indications for and outcomes of emergency peripartum hysterectomy. A five-year review. J Reprod Med 2000 ; 45 : 733-7.

Ogunniyi SO, Esen UI . Obstric hysterectomy in Ile-life, Nigeria. Int J Gynecol obstet 1990; 32: 23-7.

Zorlu CG, Turan C, Isik AZ, Danismass Mungangan T, Gokmen O. Emergeny hysterectomy in modern obstetric practice: Changing clinical perspective in time. Acta Obstet Gynecol Scand 1998; 77: 186-90.

Chestnut DH, Eden RD, Gall SA, Parker RT. Peripartum hysterectomy: a review of cesarean and postpartum hysterectomy. Obstet Gynecol 1985; 65: 365-70.

Clark SL, Yeh SY, Phelan JP, Bruce S, Paul RH. Emergency hysterectomy for obstetric hemorrhage. Obstet Gynecol 1984; 64: 376-80.

Thonet RG. Obstetric hysterectomy-an 11 -year experience. Br J Obstet Gynaecol 1986; 93: 794-8.

Kastner ES, Figueroa R, Garry D, Maulik D. Emergency peripartum hysterectomy: experience at a community teaching hospital. Obstet Gynecol 2002; 99: 971-5.

Suchartwatnachai C, Linasmita V, Chaturachinda K. Obstetric hysterectomy: Ramathibodi's experience 1969-1987. Int J Gynaecol Obstet 1991; 36: 183-6.

มงคล เบญจาภิบาล, ประเสริฐ ศันสนีย์ วิทยกุล, รณชัย อธิสุข, นพมาศ ธนะชัย. อุบัติการและปัจจัยเสี่ยงของการ ตัดมดลูกระยะคลอดหรือหลังคลอด. สารศิริราช 2539; 48: 104-11.

Chanrachakul B, Chaturachinda K, Phuapradit W, Roungsipragarn R. Cesarean and postpartum hysterectomy. Int J Gynecol Obstet 1996; 54: 109-13.

Miller DA, Chollet JA, Goodwin TM. Clinical risk factors for placenta previa-placenta accreta. Am J Obstet Gynecol 1997; 177: 210-4.